การดำรงอยู่ของภูมิปัญญาท้องถิ่นท่ามกลางการแข่งขันในระบบตลาดเสรี : กรณีศึกษางานหัตถกรรมทอผ้ากาบบัว ตำบลนาเรือง อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี

dc.contributor.advisorสุวิชา เป้าอารีย์th
dc.contributor.authorพระสมัคร สิริปญฺโญ (วงศ์ประเทศ)th
dc.date.accessioned2019-06-13T07:37:19Z
dc.date.available2019-06-13T07:37:19Z
dc.date.issued2015th
dc.date.issuedBE2558th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558th
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภูมิหลังความเป็นมาและองค์ประกอบของภูมิปัญญาท้องถิ่นงานหัตถกรรมทอผ้ากาบบัว 2) ศึกษาการดำรงอยู่และเงื่อนไขการดำรงอยู่ของภูมิปัญญาท้องถิ่นงานหัตถกรรมทอผ้ากาบบัวท่ามกลางการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจแบบตลาดในปัจจุบัน 3) วิเคราะห์แนวโน้มในอนาคตของการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นงานหัตถกรรมทอผ้ากาบบัวth
dc.description.abstractผลการศึกษาพบว่าth
dc.description.abstract1) งานหัตถกรรมทอผ้ากาบบัวเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทอผ้าที่มีมายาวนาน ซึ่งพบในหลายชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี การทอผ้าในอดีตใช้ฝ้ายและเส้นไหมที่คนในท้องถิ่นผลิตขึ้นมาเอง และทำการทอด้วยกี่พื้นเมืองที่ชาวบ้านผลิตส่วนประกอบด้วยตนเอง ด้วยลักษณะของผ้าทอที่มีลวดลายละเอียดสวยงาม คล้ายกับลายของกาบบัว จึงได้รับการขนานนามในเวลาต่อมาว่า “ผ้ากาบบัว” ในอดีตคนในท้องถิ่นใช้ผ้ากาบบัวทั้งสำหรับสวมใส่ในชีวิตประจำวัน ในงานประเพณีต่างๆ และมอบเป็นของขวัญพิเศษให้กับแขกผู้มาเยี่ยมเยียนth
dc.description.abstract2) การดำรงอยู่ของภูมิปัญญาท้องถิ่นงานหัตถกรรมทอผ้ากาบบัวท่ามกลางแข่งขันในระบบเศรษฐกิจแบบตลาด เกี่ยวข้องกับความพยายามในการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากผ้าทอในวิถีชีวิต ควบคู่ไปกับการปรับตัวในกระบวนการผลิตและวัตถุประสงค์ของการผลิตเป็นสำคัญ อีกทั้งยังมีการรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มสตรีทอผ้าเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นให้มีการผลิตอย่างต่อเนื่องในปริมาณมากพอที่จะจำหน่ายเป็นรายได้เสริม นอกจากนี้ ยังมีความพยายามการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอผ้าสู่รุ่นหลังทั้งระดับครัวเรือนและชุมชนth
dc.description.abstract3) แนวโน้มการพัฒนาของงานหัตถกรรมทอผ้ากาบบัวในอนาคต มีความเกี่ยวข้องกับทั้งปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายในที่สำคัญ ได้แก่ ผู้ผลิต แหล่งวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทอ รายได้จากการทอผ้า ความนิยมในการใช้ผ้ากาบบัวในชุมชน ความสนใจงานหัตถกรรมทอผ้ากาบบัวของคนรุ่นหลัง สำหรับปัจจัยภายนอกที่สำคัญ ได้แก่ ความต้องการสินค้าของผู้บริโภคภายนอกชุมชนที่เพิ่มขึ้น นโยบายของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และการสนับสนุนของภาคเอกชนth
dc.description.abstractข้อเสนอแนะจากการวิจัยนี้ 1) สถาบันการศึกษาควรส่งเสริมการจัดทำหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้ากาบบัว เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้อย่างเป็ นระบบขึ้นอันจะช่วยให้การสืบทอดภูมิปัญญานี้เป็นไปอย่างมีรูปธรรมยิ่งขึ้น 2) หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนให้มีการจัดการความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น และ 3) หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรหาแนวทางในการปรับราคาผ้ากาบบัวของชาวบ้านให้สูงขึ้น เพื่อยกระดับรายได้ของผู้ทอให้ดีขึ้นth
dc.format.extent163 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2015.167
dc.identifier.otherb190498th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4452th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectผ้ากาบบัวth
dc.subject.otherภูมิปัญญาชาวบ้านth
dc.subject.otherหัตถกรรม -- ไทยth
dc.titleการดำรงอยู่ของภูมิปัญญาท้องถิ่นท่ามกลางการแข่งขันในระบบตลาดเสรี : กรณีศึกษางานหัตถกรรมทอผ้ากาบบัว ตำบลนาเรือง อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานีth
dc.title.alternativeResilience of local wisdom amidst competition in the free market system: a case study of Kaab Bua women weaving group in Naa Reuang sub-district, Na Yea District, Ubon Ratchathani Provinceth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineการบริหารการพัฒนาสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b190498.pdf
Size:
3.58 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
full text
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections