การมีภาวะเป็นสถาบันของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
dc.contributor.advisor | ฑิตยา สุวรรณะชฎ, 2474-, อาจารย์ที่ปรึกษา | th |
dc.contributor.author | ชาตรี วงศ์มาสา | th |
dc.date.accessioned | 2014-05-05T09:26:10Z | |
dc.date.available | 2014-05-05T09:26:10Z | |
dc.date.issued | 1994 | th |
dc.date.issuedBE | 2537 | th |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2537. | th |
dc.description.abstract | การมีภาวะเป็นสถาบัน เป็นแนวความคิดทางสังคมวิทยาที่พยายามและอธิบายการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม โดยเห็นว่าสังคมจะเกิดความเป็นปึกแผ่นและอยู่รอดต่อไปได้นั้น ขึ้นอยู่กับว่ากลุ่มคนในสังคมได้ให้การยอมรับในระเบียบแบบแผนของสังคมหรือไม่ และมีการถือปฏิบัติตามในระเบียบแบบแผนของสังคมเพียงใด | th |
dc.description.abstract | ผู้วิจัยได้ถือแนวคิดนี้เป็นแนวความคิดหลักในการศึกษาองค์การปฏิบัติงาน โดยเลือกทำการศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เนื่องจากเป็นองค์การใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงในด้านของโครงสร้างของงานและระเบียบแบบแผนในการทำงานอย่างรวดเร็ว อันน่าจะมีผลกระทบต่อความรู้สึกนึกคิดของข้าราชการที่ปฏิบัติงานภายในมหาวิทยาลัยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้ ในการสร้างกรอบแนวคิดในการศึกษา "การมีภาวะเป็นสถาบันของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช" ผู้วิจัยได้สร้างกรอบแนวคิดโดยอาศัยตัวแปรความพอใจในงานเป็นตัวชี้วัดการมีภาวะเป็นสถาบัน กล่าวคือ หากบุคคลมีความพอใจในงานแล้วย่อมคาดการณ์ได้ว่า บุคคลจะยังคงรักษาความเป็นสมาชิกขององค์การและมีการปฏิบัติงานในองค์การต่อไป ซึ่งก็คือได้เกิดภาวะการเป็นกลุ่มอย่างเหนียวแน่นในองค์การ และภาวะการเป็นกลุ่มเช่นนี้ย่อมสะท้อนได้ว่าได้เกิดลักษณะการมีภาวะเป็นสถาบัน นั่นเอง. | th |
dc.description.abstract | ด้วยเหตุนี้ วัตถุประสงค์สำคัญของการศึกษาวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นที่ (1) ศึกษาทัศนคติของข้าราชการที่มีงานภายในมหาวิทยาลัย (2) ศึกษาบรรยากาศองค์การหรือสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยกับทัศนคติของข้าราชการที่มีต่องาน นั่นคือ ตัวแปรที่สำคัญที่ได้รับการศึกษา จะประกอบด้วย ตัวแปรความพอใจในงานและตัวแปรสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย. | th |
dc.description.abstract | สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทางด้านความคิดเห็นจากข้าราชการอาจารย์ภายในมหาวิทยาลัย จำนวน 100 ราย โดยตัวแปรแต่ละตัวได้เก็บรวบรวมข้อมูลในมิติที่สำคัญ ดังนี้ ตัวแปรความพอใจในงานเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 5 มิติ ได้แก่ ลักษณะงาน การบริหาร ความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อนร่วมงาน สิ่งตอบแทนที่เป็นวัตถุ และสิ่งตอบแทนที่ไม่ใช่วัตถุส่วนตัวแปรสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย เก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 8 มิติ ได้แก่ เป้าหมายของมหาวิทยาลัย โครงสร้างของการทำงาน ความรับผิดชอบต่องาน ความเป็นอิสระในการทำงาน ความอบอุ่นและการสนับสนุน การพัฒนาและความก้าวหน้า การยอมรับความขัดแย้ง และความรู้สึกผูกพัน | th |
dc.description.abstract | ผลการศึกษาพบว่า. | th |
dc.description.abstract | 1. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเกิดลักษณะ "การมีภาวะเป็นสถาบัน" ในระดับสูง โดยพิจารณาได้จากข้าราชการภายในมหาวิทยาลัยมีความพอใจในงานระดับสูงทุก ๆ ด้านที่ทำการศึกษา แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาแยกตามมิติของความพอใจในงาน พบว่า ข้าราชการภายในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จะมีความพึงพอใจในงานด้าน "ลักษณะงาน" สูงสุด และมีความพอใจในงานด้าน "ความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อนร่วมงาน" ต่ำสุด | th |
dc.description.abstract | 2. สภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยมีอิทธิพลต่อการมีภาวะเป็นสถาบันของมหาวิทยาลัย โดยพิจารณาได้จากสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยที่สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงระดับความพอใจในงานของข้าราชการได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับอัลฟา เท่ากับ 0.05 กล่าวคือ หากข้าราชการในมหาวิทยาลัยมีการรับรู้ต่อสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยในทางที่ดี ย่อมทำให้ข้าราชการภายในมหาวิทยาลัยมีความพอใจในงานระดับสูง และในทางตรงข้าม ถ้าหากข้าราชการภายในมหาวิทยาลัยมีการรับรู้ต่อสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยในลักษณะที่คลุมเครือ ไม่ชัดเจน ย่อมทำให้ข้าราชการภายในมหาวิทยาลัยปฏิบัติงานด้วยความเบื่อหน่าย และอาจขาดความร่วมมือร่วมใจปฏิบัติงานในขอบเขตของงานที่รับผิดชอบได้ | th |
dc.description.abstract | 3. มิติย่อยของสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยมีอิทธิพลต่อการมีภาวะเป็นสถาบันของมหาวิทยาลัยแตกต่างกัน กล่าวคือ สภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยเป็นตัวแปรที่ประกอบด้วยหลายมิติ และในแต่ละมิติมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับความพอใจในงานไม่เท่ากัน โดยมิติที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับความพอใจในงานของข้าราชการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับอัลฟา 0.05 คือ ด้านความอบอุ่นและการสนับสนุน ด้านความรู้สึกผูกพันต่อมหาวิทยาลัย และด้านโครงสร้างของการทำงาน ส่วนด้านอื่น ๆ ของตัวแปรสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยที่นอกเหนือจากนี้ มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับความพอใจในงานของข้าราชการอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับอัลฟา 0.05. | th |
dc.description.abstract | ดังนั้น ข้อค้นพบทางสมมติฐานจากการศึกษาวัจัยนี้ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เพื่อให้เอื้ออำนวยหรือเป็นเหตุจูงใจให้ข้าราชการเกิดความร่วมมือร่วมใจในการทำงานได้ กล่าวคือ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ควรให้ความสนใจหรือเน้นการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยในด้านที่เหลืออีก 5 ด้าน เป็นสำคัญ ได้แก่ ด้านการพัฒนาและความก้าวหน้า ด้านความเป็นอิสระในการทำงาน ด้านความรับผิดชอบต่องาน ด้านเป้าหมายของมหาวิทยาลัย และด้านการยอมรับความขัดแย้ง. | th |
dc.format.extent | 16, 170 แผ่น | th |
dc.format.mimetype | application/pdf | th |
dc.identifier.doi | 10.14457/NIDA.the.1994.39 | |
dc.identifier.uri | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1729 | th |
dc.language.iso | tha | th |
dc.publisher | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | th |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th |
dc.subject.lcc | LG 395 .T5S9 ช24 | th |
dc.subject.other | องค์การ | th |
dc.subject.other | พฤติกรรมองค์การ | th |
dc.subject.other | ความพอใจในการทำงาน | th |
dc.title | การมีภาวะเป็นสถาบันของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th |
dc.title.alternative | Institutionalization of Sukhothai Thammathirat Open University | th |
dc.type | text--thesis--master thesis | th |
mods.genre | Thesis | th |
mods.physicalLocation | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา | th |
thesis.degree.department | คณะพัฒนาสังคม | th |
thesis.degree.discipline | การวิเคราะห์ทางสังคม | th |
thesis.degree.grantor | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
thesis.degree.level | Masters | th |
thesis.degree.name | พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต | th |
Files
Original bundle
1 - 1 of 1
- Name:
- nida-ths-b9360.pdf
- Size:
- 2.58 MB
- Format:
- Adobe Portable Document Format
- Description:
- Full Text