การติดตามประเมินผลนโยบายการขยายโอกาสทางการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กรมสามัญศึกษา : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดสงขลา

dc.contributor.advisorวิชัย รูปขำดี, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorไพฑูรย์ สังข์ศิลป์เลิศth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:26:09Z
dc.date.available2014-05-05T09:26:09Z
dc.date.issued1992th
dc.date.issuedBE2535th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม.(พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2535.th
dc.description.abstractการวิจัยติดตามประเมินผลการขยายโอกาสทางการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กรมสามัญศึกษา : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดสงขลา นี้ มีวัตถุประสงค์จะศึกษาถึงสภาพปัญหาของการเลือกที่เรียน และโอกาสในการที่จะได้รับการคัดเลือกเข้าเรียนของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดสงขลา พร้อมทั้งติดตามประเมินผลนโยบายการขยายโอกาสทางการศึกษา ที่นอกเหนือจากการรับนักเรียนเข้าเรียนตามปกติ 2 โครงการ คือ โครงการคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนชั้นมัธยมปีที่ 1 โดยการจับฉลาก และโครงการคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนชั้นมัธยมปีที่ 1 ตามนโยบาย"โรงเรียนใกล้บ้าน"th
dc.description.abstractการศึกษาเพื่อประเมินและติดตามผลจะศึกษาจากโรงเรียนมัธยมศึกษาจำนวน 40 โรงเรียนในจังหวัดสงขลา ว่ามีสมรรถนะด้านต่าง ๆ มากน้อยเพียงไรพอที่จะให้การนำนโยบายการขยายโอกาสทางการศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ โดยทางด้านการจัดองค์การ การบริหารงานบุคคล การบริหารการเงิน ขนาดและสถานที่ตั้งของโรงเรียน ซึ่งจะมีผลต่อการเลือกที่เรียนของนักเรียนด้วย นอกจากนี้ยังศึกษาติดตามนักเรียน 2 กลุ่ม ตลอด 3 ปีการศึกษา เพื่อประเมินว่ามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเมื่อเปรียบเทียบกันจะเป็นอย่างไร โดยนักศึกษากลุ่มหนึ่งเป็นผลิตผลที่เกิดจากการคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนในชั้น ม.1 โดยการจับฉลาก อีกกลุ่มหนึ่งสอบคัดเลือกเข้าเรียนได้เองโดยตรง.th
dc.description.abstractในการศึกษาวิจัยพบว่า นักเรียนมักเลือกโรงเรียนขนาดใหญ่หรือขนาดใหญ่พิเศษ ในเขตเมืองซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีสมรรถนะด้านต่าง ๆ อยู่ในเกณฑ์ดีมาก ทำให้นโยบายการขยายโอกาสทางการศึกษาไม่กระจายเท่าที่ควร โรงเรียนขนาดเล็กหรือขนาดกลางที่อยู่นอกเขตเมือง แม้สมรรถนะจะอยู่ในเกณฑ์ดีมากก็มีนักเรียนไม่ครบชั้นเรียน ส่วนการติดตามประเมินผลผลสัมฤทธิ์ทางเรียนของนักเรียนกลุ่มที่จับฉลากได้พบว่า ในวิชาสามัญระดับคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่ากลุ่มที่สอบคัดเลือกได้โดยตรงทุกภาคเรียน ส่วนในวิชาอาชีพไม่แน่นอน แต่ทุกคนผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำตามระเบียบการวัดและประเมินผลทุกคน พบว่าการคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียน ม.1 ตามนโยบาย"โรงเรียนใกล้บ้าน" มีโรงเรียนที่ดำเนินการอยู่เพียง 4 โรงเรียน ส่วนโรงเรียนอื่น ๆ นักเรียนไม่ครบชั้นเรียนจึงไม่มีความจำเป็นที่จะรับตามนโยบายนี้th
dc.description.abstractในจังหวัดสงขลากล่าวโดยสรุป การขยายโอกาสทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกรมสามัญศึกษาได้ผลในระดับหนึ่ง ในปีการศึกษา 2533 รับนักเรียนที่จบชั้น ป.6 ได้ 9,484 คน (61.83 เปอร์เซนต์) ปีการศึกษา 2534 รับนักเรียนที่จบชั้น ป.6 ได้ 9,866 คน (68.62 เปอร์เซนต์) และในปีการศึกษา 2535 รับนักเรียนที่จบชั้น ป.6 ได้ 11,069 คน (73.30 เปอร์เซนต์) ซึ่งจะเห็นว่าร้อยละของการรับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตามต้องปรับปรุงนโยบาย ให้สอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการของชุมชน เช่น การพัฒนาโรงเรียนขนาดกลางหรือขนาดเล็กนอกเขตเมือง การเพิ่มร้อยละของจำนวนนักเรียนที่จับฉลากในการคัดเลือกเข้าเรียนให้สูงขึ้น การกำหนดเขตชั้นในตามนโยบาย "โรงเรียนใกล้บ้าน" ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เป็นต้นth
dc.format.extentก-ฒ, 88 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.1992.10
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1721th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectการขยายโอกาสทางการศึกษาth
dc.subject.lccLB 1617 .T5 พ93th
dc.subject.otherการศึกษาขั้นมัธยม -- ไทย -- สงขลาth
dc.titleการติดตามประเมินผลนโยบายการขยายโอกาสทางการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กรมสามัญศึกษา : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดสงขลาth
dc.title.alternativePolicy evaluation on educational increasing opportunity at the lower secondary level of General Education Department : a case study of Songkhla Provinceth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมth
thesis.degree.disciplineการปฏิบัติการทางสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b4886.pdf
Size:
1.41 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections