จิตคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกันของชุมชนป่าตรง

dc.contributor.advisorสุพรรณี ไชยอำพร, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorเสถียร สีชื่นth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:27:15Z
dc.date.available2014-05-05T09:27:15Z
dc.date.issued2013th
dc.date.issuedBE2556th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2013th
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความหมายของจิตคํานึงถึงส่วนรวมร่วมกันใน ทัศนะของชุมชน 2) ศึกษาการขัดเกลาทางสังคมของชุมชนป่าตรง ที่เอื้อให้เกิดจิตคํานึงถึง ส่วนรวมร่วมกัน และ 3) ศึกษาการสนับสนุนทางสังคมของชุมชนป่าตรงที่เอื้อให้เกิดจิตคํานึงถึง ส่วนรวมร่วมกัน การศึกษาใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเน้นสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลที่สําคัญ 15 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักตรรกะเทียบเคียงกับแนวคิด ทฤษฎีควบคู่กับ บริบทและใช้สถิติเชิงพรรณนาประกอบ ผลการศึกษาพบว่า 1) ชาวชุมชนได้ให้ความหมายของจิตคํานึงถึงส่วนรวมร่วมกัน คือ สามารถแบ่ง ความหมายออกเป็ น 3 กลุ่ม คือ (1) เป้าหมาย ได้แก่ การกระทําเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม มากกว่าส่วนตน และการกระทําที่ไม่หวงผลตอบแทน (2) วิธีการ ได้แก่ ร่วมพัฒนาชุมชนร่วมกัน ร่วมคิดร่วมแก้ไขปัญหาร่วมกัน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกัน ร่วมแรงร่วมใจ แบ่งปันและสามัคคีกัน และการนึกถึงวัฒนธรรมที่หล่อหลอมคนในชุมชน (3) ลักษณะที่โดดเด่นของบุคคล ได้แก่ เต็มใจช่วยเหลือผู้อื่นและชุมชน มีจิตที่ไม่เห็นแก่ตัว เสียสละเพื่อผู้อื่น/ชุมชน และนึกถึงผลกระทบที่จะ เกิดขึ้นกับคนในชุมชน 2) การขัดเกลาทางสังคมผ่านสถาบันต่าง ๆ คือ (1) ครอบครัว โดยเน้นใช้การอบรม สั่งสอนด้วยวาจา การทําตนให้เป็นแบบอย่าง การสร้างเงื่อนไข/ข้อตกลงร่วมกัน การลงโทษ การให้ กําลังใจด้วยการให้รางวัล และการเรียนรู้ด้วยตนเอง (2) สถานศึกษา ใช้การสั่งสอนด้วยวาจา การลงมือปฏิบัติการทําตนเป็นแบบอย่าง และการลงโทษ (3) ศาสนา เน้นใช้การอบรมสั่งสอนด้วยวาจา การให้คําปรึกษา การเรียนรู้และปฏิบัติด้วยตนเอง และการทําให้ตนให้เป็นแบบอย่าง (4) ชุมชน ขัดเกลาโดยใช้วิธีการพึ่งพาอาศัยกันในชุมชน และการเห็นแบบอย่างที่ดีในชุมชน (5) สื่อมวลชน ใช้การขัดเกลาด้านคติสอนใจผ่านสื่อบันเทิง เน้นที่การทําดีได้ดีนิยายธรรมะยาม เช้า และนิยายคติสอนใจ ด้านการให้ข้อมูลข่าวสาร เน้นใช้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้วยความ รวดเร็ว รู้เท่าทันต่อข่าวสารเหตุการณ์บ้านเมืองและวัฒนธรรมวิถีชีวิติที่พอเพียง และการให้เรียนรู้ ด้วยตนเอง เน้นที่มีความรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เปิดโลกกว้าง และการอ่านหนังสือด้วยตนเอง 3) สถาบันที่มีอิทธิพลมากที่สุด ในการขัดเกลาที่ก่อให้เกิดจิตคํานึงถึงส่วนรวมร่วมกัน คือ สถาบันครอบครัว รองลงมา คือ สถาบันศาสนา และอันดับสุดท้าย คือ สถาบันการศึกษา 4) วิธีการอบรมขัดเกลาที่ใช้ได้ผลมากที่สุด คือ การทําตนให้เห็นเป็นแบบอย่าง รองลงมา คือ การให้เรียนรู้และปฏิบัติด้วยตนเอง และลําดับสั ดท้าย คือ การอบรมสั่งสอนด้วยวาจา 5) การสนับสนุนทางสังคมที่เอื้อให้เกิดจิตคํานึงถึงส่วนรวมร่วมกัน คือ (1) ด้านวิธีการ เน้นใช้การมอบหมายงาน การให้บทบาทหน้าที่รับผิดชอบ และการทํากิจกรรมร่วมกันในชุมชน เช่น ทําความสะอาดชุมชน ร่วมประเพณีในชุมชน (2) ด้านการให้ความรู้เน้นที่การให้คําแนะนํา/ สร้างความรู้และความเข้าใจ การให้คําปรึกษาอย่างใกล้ชิด 3) ด้านการเสริมสร้างกําลังใจ ได้แก่ การให้ความสําคญและเห็นคุณค่าในตัวเองการกล่าวชมเชย/ยกย่องในที่ สาธารณะการทําให้เขารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และการให้ความใกล้ชิดสนิทสนม ข้อเสนอแนะสําคญในการเสริมสร้างจิตคํานึงถึงส่วนรวมร่วมกัน คือ ควรปลกฝังคณธรรม จริยธรรมในตัวบุคคลให้มากขึ้น และฝึกให้รู้จักเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ เอื้อเฟื้อผู้อื่น และไม่เห็นแก่ตัว ที่สําคัญควรเพิ่มกิจกรรมที่เน้นการกระทําเพื่อประโยชน์ของคนในชุมชนเป็นหลักth
dc.format.extent10, 202 แผ่น ; 30 ซม.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2091th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.titleจิตคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกันของชุมชนป่าตรงth
dc.title.alternativeCollective mind of patrong communityth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineการบริหารการพัฒนาสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b180278.pdf
Size:
6.66 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections