การลงโทษประหารชีวิตในประเทศไทยกับหลักความคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

dc.contributor.advisorบรรเจิด สิงคะเนติth
dc.contributor.authorพัชรินทร์ วิทยาเอนกนันท์th
dc.date.accessioned2022-05-31T10:23:30Z
dc.date.available2022-05-31T10:23:30Z
dc.date.issued2017th
dc.date.issuedBE2560th
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้ศึกษา การลงโทษประหารชีวิตในประเทศไทยกับหลักความคุ้มครองศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาแนวความคิดการลงโทษประหารชีวิตและหลักการ คุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ว่าแท้จริงแล้วการที่รัฐให้ความคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จะทํา ให้แนวความคิดการลงโทษประหารชีวิตที่มีอยู่เปลี่ยนแปลงในทิศทางที่สอดคล้องกับศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์มากน้อยเพียงใดth
dc.description.abstractวิธีการศึกษาใช้การศึกษาทางนิติศาสตร์เน้นการศึกษาจากเอกสาร โดยศึกษาแนวความคิด กฎหมายภายใน กฎหมายระหว่างประเทศ กติการะหว่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการลงโทษประหาร ชีวิตกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์th
dc.description.abstractผลการศึกษาพบว่า การลงโทษประหารชีวิต เป็นมาตรการบังคับตามกฎหมายอาญาที่รุนแรง ที่สุดโดยเป็นการทําร้ายชีวิตของผู้ต้องโทษไม่ให้มีสิทธิดํารงอยู่อีกต่อไป เป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความ เป็นมนุษย์ในฐานะที่เป็นวัตถุประสงค์หนึ่งในการที่จะคุ้มครองสิทธิของมนุษย์อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ มีมาโดยธรรมชาติซึ่งแนวความคิดเกี่ยวกับการลงโทษประหารชีวิตและหลักการคุ้มครองศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์มีความผูกพันทั้งตามกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายใน ในส่วนความ ผูกพันตามกฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกได้แก่ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ มนุษยชน ค.ศ.1948 ที่แสดงถึงความมุ่งมั่นในการปกป้องคุ้มครอง มิให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของกันและกัน โดยที่การยอมรับศักดิ์ศรีแต่กําเนิดและสิทธิที่เท่าเทียมกัน และที่ไม่อาจเพิกถอนได้ของสมาชิกทั้งมวลแห่งครอบครัวมนุษยชาติทุกคนมีสิทธิในการมีชีวิต บุคคล ใดจะถูกกระทําการทรมาน หรือการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ํายีศักดิ์ศรี มิได้และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ.1966 กติกาข้อ 6 (2) ที่กําหนดเพียงเงื่อนไขสําหรับประเทศที่ยังมิได้ยกเลิกโทษประหารชีวิต การลงโทษประหารชีวิตอาจth
dc.description.abstractกระทําได้เฉพาะคดีอุฉกรรจ์ที่สุดตามกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะกระทําความผิด และพิธีสารเลือกรับ ฉบับที่ 2 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ที่มุ่งหมายให้ยกเลิก โทษประหารชีวิตกับอาชญากรรมทุกประเภท ซึ่งประเทศไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบัน ทําให้การลงโทษ ประหารชีวิตตามกฎหมายของประเทศไทยถึงแม้เป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แต่ก็ไม่เป็น การขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ ด้วยเหตุที่กฎหมายระหว่างประเทศไม่ได้กําหนดข้อห้ามการ ลงโทษประหารชีวิต ส่วนความผูกพันตามกฎหมายภายในพบว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้รับการ ยอมรับและได้รับการคุ้มครองในรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศและเป็นหลักประกัน ในสิทธิในชีวิตร่างกายซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้รัฐธรรมนูญยังได้จํากัดอํานาจรัฐไว้ในมาตรา 26 ว่าการตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว้กฎหมายดังกล่าวต้องไม่ขัดต่อ หลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุและจะกระทบต่อ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้แต่พบว่ากฎหมายอาญา รวมทั้งกฎหมายพิเศษหลายฉบับมี บทบัญญัติลงโทษประหารชีวิต ซึ่งการลงโทษประหารชีวิตถึงแม้จะเป็นมาตรการที่ทําให้บรรลุ วัตถุประสงค์แห่งการลงโทษแต่เป็นมาตรการที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิในชีวิตอันเป็นการทําลายศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ของบุคคลซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐยอมรับและได้รับรองคุ้มครองไว้ดังนั้น บทบัญญัติการลงโทษประหารชีวิตตามกฎหมายดังกล่าวจึงขัดต่อหลักการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ตามรัฐธรรมนูญth
dc.description.abstractผู้เขียนเห็นว่า ควรมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงบทลงโทษประหารชีวิตตามกฎหมายอาญาและ กฎหมายพิเศษเป็นจําคุกตลอดชีวิตแทน และข้อค้นพบที่สําคัญคือ ถึงแม้กฎหมายระหว่างประเทศ และจารีตประเพณีระหว่างประเทศก็ไม่ได้ห้ามการลงโทษประหารชีวิต แต่ทิศทางในอนาคตจารีต ประเพณีระหว่างประเทศกําลังเป็นที่นิยมลัทธิการล้มเลิกการลงโทษประหารชีวิตมากขึ้น เหตุที่การ ลงโทษประหารชีวิตไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในการมีสิทธิในชีวิตอันเป็น สิทธิที่มีมาโดยธรรมชาติการประหารชีวิตเป็นการทําลายคุณค่าความเป็นมนุษย์เท่ากับเป็นการ ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ดังนั้นมีความเป็นไปได้สูงในภายหน้าในการยกเลิกโทษประหารชีวิตจะ ถูกดําเนินการภายใต้การยอมรับโดยจารีตประเพณีระหว่างประเทศth
dc.format.extent286 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb201158th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5847th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectค่านิยม -- การคุ้มครองth
dc.subject.otherโทษประหารชีวิตth
dc.titleการลงโทษประหารชีวิตในประเทศไทยกับหลักความคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์th
dc.title.alternativeThe Death Penalty in Thailand Versus the Principles of The Protection of Human Dignityth
dc.typetext--thesis--doctoral thesisth
mods.genreDissertationth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelDoctoralth
thesis.degree.nameนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b201158.pdf
Size:
10.28 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description: