บทบาทคาดหวังของศูนย์เยาวชนตำบลในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

dc.contributor.advisorจิระวัฒน์ วงศ์สวัสดิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorอารีย์ จรรยาชัยเลิศth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:26:11Z
dc.date.available2014-05-05T09:26:11Z
dc.date.issued1990th
dc.date.issuedBE2533th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2533.th
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะความสอดคล้องหรือความแตกต่างของความคาดหวังต่อบทบาทของศูนย์เยาวชนตำบลในด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมืองการปกครอง ด้านสังคม ด้านส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและด้านกีฬานันทนาการของผู้ที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ฯ โดยเลือกศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างในจังหวัดมหาสารคามได้แก่ กลุ่มเยาวชนที่เป็นสมาชิกศูนย์ฯ จำนวน 67 คน กลุ่มผู้นำท้องถิ่น จำนวน 50 คน กลุ่มผู้ปกครอง จำนวน 50 คน และกลุ่มเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน จำนวน 73 คน รวม 240 คน และเพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อความคาดหวังต่อบทบาทของศูนย์ฯ ในด้านต่าง ๆ 5 ด้าน ผลการศึกษาจะเป็นประโยชน์ในการประยุกต์ใช้ในงานด้านพัฒนาเยาวชนเพื่อปรับปรุงหรือวางแผนให้ศูนย์เยาวชนตำบล มีบทบาทเป็นที่ต้องการของคนในชุมชนเพื่อผลต่องานพัฒนาในด้านอื่น ๆ.th
dc.description.abstractผลการศึกษาได้พบว่า.th
dc.description.abstract1. บทบาทด้านเศรษฐกิจ กลุ่มผู้นำท้องถิ่นมีความคาดหวังสูงสุด กลุ่มเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน กลุ่มเยาวชน และกลุ่มผู้ปกครอง มีความคาดหวังรองลงมาตามลำดับ โดยพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 เพียง 1 คู่ คือ กลุ่มผู้นำท้องถิ่นมีความคาดหวังสูงกว่ากลุ่มผู้ปกครอง ตัวแปรที่สามารถอธิบายความผันแปรของบทบาทด้านเศรษฐกิจได้ดีที่สุดคือ ตัวแปรการมีกิจกรรมอื่น ๆ เกี่ยวกับเยาวชนในหมู่บ้าน/ตำบล รองลงมาคือ เพศ และการเป็นผู้นำท้องถิ่น ตัวแปรทั้งสามมีอิทธิพลทางบวกและอธิบายได้ 19 เปอร์เซนต์ ในขณะที่ทั้งชุด 8 ตัวแปร อธิบายได้ 20 เปอร์เซนต์ นอกจากนั้น ทั้ง 4 กลุ่มมีความเห็นว่า บทบาทบางข้อเป็นบทบาทที่ดีแต่คงจะทำได้ยากในทางปฏิบัติ เช่น บทบาทในการปรับปรุงแนะนำอาชีพใหม่แก่สมาชิกศูนย์ฯ หรือคนในชุมชน หรือบทบาทในการรวมกลุ่มเพื่อจัดหาทุนสำหรับพัฒนาอาชีพของสมาชิกศูนย์ฯ เป็นต้นth
dc.description.abstract2. บทบาทด้านการเมืองการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย กลุ่มเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนมีความคาดหวังสูงสุด กลุ่มผู้นำท้องถิ่น กลุ่มเยาวชน และกลุ่มผู้ปกครองมีความคาดหวังรองลงมาตามลำดับ ผลวิเคราะห์พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่าง (1) กลุ่มผู้นำท้องถิ่นกับกลุ่มผู้ปกครอง (2) กลุ่มผู้ปกครองกับกลุ่มเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน (3) กลุ่มเยาวชนกับกลุ่มเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ตัวแปรที่อธิบายความผันแปรของบทบาทด้านการเมืองการปกครองได้ดีที่สุด คือ ตัวแปรเพศ และการมีกิจกรรมอื่น ๆ รองลงมาคือ การเป็นผู้นำท้องถิ่น ตัวแปรทั้งสามมีอิทธิพลทางบวกและอธิบายได้ 14 เปอร์เซนต์ ในขณะที่ทั้งชุด 8 ตัวแปร อธิบายได้ 15 เปอร์เซนต์ และทั้ง 4 กลุ่มมีความเห็นว่า บทบาทบางข้อเป็นบทบาทที่ดีแต่ทำได้ยากในทางปฏิบัติ เช่น บทบาทในการส่งเสริมให้สมาชิกศูนย์ฯ ร่วมเป็นคณะกรรมการสภาตำบล หรือคณะกรรมการหมู่บ้าน เป็นต้นth
dc.description.abstract3. บทบทด้านสังคม กลุ่มผู้นำท้องถิ่นมีความคาดหวังสูงสุด กลุ่มเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน กลุ่มผู้ปกครองและกลุ่มเยาวชน มีความคาดหวังรองลงมาตามลำดับ แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของความคาดหวังของทั้ง 4 กลุ่ม ตัวแปรที่อธิบายความผันแปรของบทบาทด้านสังคมได้ดีที่สุด คือ ตัวแปรเพศ และอายุ และมีอิทธิพลทางบวกสามารถอธิบายได้ 12 เปอร์เซนต์ ในขณะที่ทั้งชุด 8 ตัวแปรอธิบายได้ 16 เปอร์เซนต์ และบทบาทที่ดีแต่ทำได้ยากในทางปฏิบัติ เช่น บทบาทในการทำหน้าที่เป็นกลุ่มนำในการพัฒนาท้องถิ่น เป็นต้นth
dc.description.abstract4. บทบาทด้านส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นและศาสนา กลุ่มผู้นำท้องถิ่นมีความคาดหวังสูงสุด กลุ่มเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน กลุ่มผู้ปกครองและกลุ่มเยาวชน มีความคาดหวังรองลงมาตามลำดับ โดยพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเพียง 1 คู่คือ กลุ่มผู้นำท้องถิ่นมีความคาดหวังสูงกว่ากลุ่มเยาวชน ตัวแปรที่อธิบายความผันแปรของบทบาทด้านส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมได้ดีที่สุด คือ ตัวแปรเพศ และอายุ รองลงมาคือ การมีกิจกรรมอื่น ๆ ตัวแปรทั้งสามมีอิทธิพลทางบวกและอธิบายได้ 18 เปอร์เซนต์ ในขณะที่ทั้งชุด 8 ตัวแปรอธิบายได้ 20 เปอร์เซนต์ และบทบาทที่ดีแต่ทำได้ยากในทางปฏิบัติ เช่น บทบาทในการชักชวนให้สมาชิกศูนย์ฯ สนใจอ่านหนังสือเกี่ยวกับพุทธศาสนา เป็นต้นth
dc.description.abstract5. บทบาทด้านส่งเสริมกีฬาและนันทนาการ กลุ่มผู้นำท้องถิ่น มีความคาดหวังสูงสุด กลุ่มผู้ปกครอง กลุ่มเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน และกลุ่มเยาวชน มีความคาดหวัง รองลงมาตามลำดับ แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของความคาดหวังทั้ง 4 กลุ่ม ตัวแปรที่อธิบายความผันแปรของบทบาทด้านส่งเสริมกีฬาได้ดีที่สุด คือ ตัวแปรเพศ และการมีกิจกรรมอื่น ๆ ซึ่งมีอิทธิพลทางบวก แต่ตัวแปรการเป็นเยาวชนเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม และอธิบายได้ดีรองลงมา ตัวแปรทั้งสามอธิบายความผันแปรได้ 17 เปอร์เซนต์ ในขณะที่ทั้งชุด 8 ตัวแปรอธิบายได้ 19 เปอร์เซนต์ และบทบาทที่ดีแต่ทำได้ยากในทางปฏิบัติ เช่น บทบาทในการหาทุนเพื่อสนับสนุนในการส่งเสริมกีฬา เป็นต้นth
dc.description.abstractโดยสรุป พบว่า ชุดตัวแปรที่อธิบายความผันแปรของความคาดหวังในบทบาทด้านต่าง ๆ ของศูนย์ฯ ได้มากที่สุด อธิบายได้ประมาณ 29 เปอร์เซนต์ ตัวแปร เพศ อายุ และการมีกิจกรรมอื่น ๆ อธิบายความคาดหวังในบทบาทด้านเศรษฐกิจ ศิลปวัฒนธรรมและกีฬานันทนาการได้ดีที่สุด และทั้ง 4 กลุ่มให้ความสำคัญกับบทบาทด้านเศรษฐกิจเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ บทบาทด้านสังคม กลุ่มคนในท้องถิ่นคาดหวังว่าศูนย์ฯ ควรจะช่วยเหลือให้สมาชิกมีอาชีพหลักมากที่สุด รองลงมาคือ ช่วยส่งเสริมสมรรถภาพทางสังคมให้แก่สมาชิก สำหรับปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานของศูนย์ ทั้ง 4 กลุ่ม มีความเห็นว่า มี 2 ประเภท คือ ประเภทแรกเกิดจากตัวเยาวชนเอง และประเภทที่สองเป็นผลกระทบมาจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเยาวชนรวมทั้งสภาพแวดล้อมต่าง ๆ.th
dc.format.extentxv, 189 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.1990.12
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1736th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.lccHS 3260 .T5 อ27th
dc.subject.otherศูนย์เยาวชนth
dc.subject.otherศูนย์เยาวชนตำบลth
dc.titleบทบาทคาดหวังของศูนย์เยาวชนตำบลในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์th
dc.title.alternativeRole expectation of the Tambon Youth Center on human resource developmentth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมth
thesis.degree.disciplineการวิเคราะห์ทางสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b9090.pdf
Size:
3.1 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections