ความเป็นธรรมในทัศนะของชาวชุมชนมุสลิม : กรณีศึกษา ชุมชนธรณีคำ แขวงโคกแฝก เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร

dc.contributor.advisorสุพรรณี ไชยอำพร, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorวุฒิชัย สายบุญจวงth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:27:13Z
dc.date.available2014-05-05T09:27:13Z
dc.date.issued2011th
dc.date.issuedBE2554th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2011th
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายและลักษณะของความเป็นธรรมการ เสริมสร้างความเป็นธรรมในวิถีชุมชน และปัญหาอุปสรรคตลอดจนแนวทางแก้ไข้ ข้อเสนอแนะใน การเสริมสร้างความเป็นธรรม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ให้ข้อมูลที่ สำคัญ (Key-informant)จำนวน 15คน ประกอบด้วยผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา ผู้อาวุโสในชุมชน ตัวแทนสตรี และตัวแทนเยาวชนที่มีบทบาทในงานพัฒนาชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลได้ยึดหลัก ตรรกะเทียบเคียงแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องควบคู่บริบท (Context) โดยใช้สถิติพรรณนา ประกอบ ผลการศึกษา พบว่า ความหมายของความเป็นธรรม คือ การมีความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน การได้รับโอกาสต่างๆ ตามสิทธิของความเป็ นมนุษย์และมีความเที่ยงธรรมไม่เอนเอียง การได้รับการปฏิบัติจากรัฐอย่างเท่าเทียมกัน และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเสมอภาค และเท่าเทียมกันการไม่เบียดเบียนและละเมิดสิทธิของกันและกัน มีความโปร่งใสและไม่เอารัด เอาเปรียบกนั ลักษณะหรือสิ่งบ่งชี้ถึงความเป็ นธรรมประกอบด้วย การรักษาคำพูดและรักษาสัญญา จะเป็นวิธีการที่สามารถสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นได้ หากช่องว่างระหว่างรายได้ของประชาชน ลดลงไม่มีความเหลื่อมล้ำในสังคม ประชาชนสามารถเข้าถึงโอกาสต่างๆ ที่ควรจะได้รับอย่างเท่า เทียมกัน ไม่มีการทะเลาะหรือขัดแย้งกัน การใช้สิทธิ การรับการช่วยเหลือสนับสนุนการพัฒนา และรับสวัสดิการจากรัฐมีความเท่าเทียมกัน มีเสรีภาพในการทำงานการแสดงออก และแสดงความคิดเห็นไม่มีการกีดกันในสังคม เป็นผลจากการที่ได้รับความเป็นธรรมวิธีการสำคัญในการเสริมสร้างความเป็นธรรมในวิถีชุมชน ใช้วิธีการบอกกล่าวอย่าง ตรงไปตรงมาว่า อันไหนถูกอันไหนผิด อันไหนควรทำและไม่ควรทำ การใช้วิธีการการกระทำตน เป็นแบบอย่าง และการดุ-ลงโทษ การยกตัวอย่างและสถานการณ์ที่พบเจอเป็นตัวอย่างในการ ถ่ายทอดการพูดคุยเป็นการส่วนตัวและการใช้สถานการณ์เฉาะหน้าเป็นแนวทางในการแก้ไข ปัญหาและอุปสรรคสำคัญในการเสริมสร้างความเป็นธรรม ในทัศนะของชาวชุมชน คือ การเห็นแก่พวกพ้องและประโยชน์ส่วนตน ความไม่เข้าใจในสิ่งที่พูด การมีอคติต่อกัน การไม่รับฟัง ความคิดเห็นของกัน การชิงดีชิงเด่นกันและความเห็นแก่ตัว แนวทางในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคสำคัญ ในทัศนะของชาวชุมชน คือ การไม่เห็นแก่ ประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง และการไม่คอรัปชั่น การการพบปะพูดคุยอธิบายชี้แจงกันเป็น ประจำการพูดคุยเจรจาและการใช้สถานการณ์เฉพาะหน้าเป็นแนวทาง และผู้นำต้องเป็นแบบอย่างที่ดีและรู้จักเสียสละ ข้อเสนอแนะสำคัญในการเสริมสร้างความเป็นธรรม ในทัศนะของชาวชุมชน คือ ทุกๆคน ต้องรู้จักเสียสละเพื่อส่วนร่วม การสร้างความเข้าใจและใช้เวลาในการเสริมสร้าง สถาบันสำคัญ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการเสริมสร้างความเป็ นธรรมในชุมชน ในทัศนะของ ชาวชุมชน คือ 1) สถาบันครอบครัว เริ่มที่หัวหน้าครอบครัว ต้องมีความยุติธรรมให้กับทุกคนในครอบครัวก่อน ควรมีการปลูกฝังเรื่อง การไม่เอาเปรียบ ไม่ชิงชัง ไม่แข่งขันกัน การไม่เห็นแก่ตัว ความซื่อสัตย์และการให้รู้จักช่วยเหลือเกื้อกูลกันครอบครัว 2)โรงเรียน โดยเริ่มตั้งแต่ผู้บริหาร ที่ไม่ ควรจะเก็บเล็กเก็บน้อย หรือการไม่คอรับชั่นไม่ทุจริต และหลักสูตรการเรียนการสอนควรมีเนื้อหา สาระเกี่ยวกับเรื่องของเป็นธรรม โดยเฉพาะเด็ก ควรมีการฝึกให้รู้จักในเรื่องของการบริจาค การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และครูก็ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีเช่น ต้องแสดงความรักอย่างเท่าเทียมกันไม่ควรเลือกที่ รักมักที่ชังและควรที่จะต้องสอนและทำตัวเป็นตัวอยางให้กับนักเรียน 3) สถาบันทางศาสนา ควร นำเอาคำสอนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความยุติธรรมมาสอนประชาชนอย่าง สมควรเสมอ ผู้นำศาสนาต้อง วางตัวเป็นกลางไม่แบ่งพรรคแบ่งพวกไม่เอาเล็กเอาน้อย ไม่เอาเปรียบหรือคดโกงผู้บริหารมัสยิด อันได้แก่อิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น ต้องมีการอบรมเรื่อง ความเป็นธรรม ความยุติธรรมหรือการ ปลูกฝัง ให้อยู่ในจิตใจของคนให้ได้่ 4) สถาบันการปกครอง (ผู้นำ) ต้องทำตัวเป็นแบบอย่างและต้องวางตัวเป็นกลางรู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม รับฟังความคิดเห็นของประชาชน ข้อเสนอแนะสำคัญจากการศึกษา คือ ควรมีการพบปะพูดคุยอธิบายชี้แจงและรับฟังความ คิดเห็นของกันและกันในหมู่ชาวชุมชนด้วยกัน ควรจัดระบบการไกล่เกลี่ยให้อภัยกันและกัน เน้นค่านิยมที่สอดคล้องกบวัฒนธรรมวิถีชีวิต โดยเฉพาะการให้ผู้น้อยเข้าหาผู้ใหญ่และควรใช้เวลาใน การทำความเข้าใจ เพื่อความแน่ใจและเพื่อความเห็นพ้องต้องกันth
dc.format.extent11, 138 แผ่น ; 30 ซม.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2011.65
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2087th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectชุมชนมุสลิมth
dc.subject.lccJC 578 ว43 2011th
dc.subject.otherความยุติธรรม -- แง่สังคมth
dc.subject.otherความเสมอภาคทางสังคมth
dc.titleความเป็นธรรมในทัศนะของชาวชุมชนมุสลิม : กรณีศึกษา ชุมชนธรณีคำ แขวงโคกแฝก เขตหนองจอก กรุงเทพมหานครth
dc.title.alternativeThe perceived fairness of the Muslim Community : a case of Torraneekom Khok Fact, Nong Chok Bangkokth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineการบริหารการพัฒนาสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b171653.pdf
Size:
4.11 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections