ผลกระทบของการส่งออก การลงทุนโดยตรงและการลงทุนทางอ้อมจากต่างประเทศต่อการกระจายรายได้ของภาคครัวเรือนไทย
Publisher
Issued Date
2014
Issued Date (B.E.)
2557
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
57 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b191059
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
กุลนิดา แวววรวีวงศ์ (2014). ผลกระทบของการส่งออก การลงทุนโดยตรงและการลงทุนทางอ้อมจากต่างประเทศต่อการกระจายรายได้ของภาคครัวเรือนไทย. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4656.
Title
ผลกระทบของการส่งออก การลงทุนโดยตรงและการลงทุนทางอ้อมจากต่างประเทศต่อการกระจายรายได้ของภาคครัวเรือนไทย
Alternative Title(s)
Distributional impacts of export, foreign direct investment (FDI) and foreign portfolio investment (FPI) in Thailand
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การส่งออก การลงทุนโดยตรงและการลงทุนทางอ้อมจากต่างประเทศถือว่า เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพราะเป็นปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นภาคผลิตให้มีการขยายตัวทำให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น เป็นการสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนเจ้าของปัจจัยการผลิตต่างๆในที่สุดดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเปรียบเทียบผลกระทบของการส่งออก การลงทุนทางตรงและการลงทุนทางอ้อมจากต่างประเทศต่อการกระจายรายได้ของประเทศไทย โดยผลการศึกษาที่ได้เป็นประโยชน์ต่อผู้กำหนดนโยบายในการจัดสรรงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำ กัดในการกระตุ้นการส่งออก การลงทุนทางตรงและการลงทุนทางอ้อมจากต่างประเทศที่จะส่งผลดีต่อทั้งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้ที่เท่าเทียมกันยิ่งขึ้น
โดยวิธีการศึกษาได้ประยุกต์ใช้แบบจา ลองบัญชีเมตริกซ์สังคมทางการเงินปี 2551 ของประเทศไทยเป็นฐานข้อมูลหลัก ซึ่งประกอบด้วยภาคการผลิต 15 สาขา ปัจจัยการผลิต 3 ประเภทได้แก่ แรงงานนอกภาคเกษตร แรงงานในภาคเกษตรและปัจจัยทุน และกลุ่มครัวเรือน 5 กลุ่มตามระดับชั้นรายได้ ในส่วนของการวิเคราะห์แบบจำลองได้ประยุกต์ใช้ทฤษฎี Leontief Fixed PriceMultiplier สำหรับการประมาณการผลกระทบที่เกิดขึ้น
จากการศึกษาพบว่า การขยายตัวที่เท่ากันของทั้งการส่งออกการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศและการลงทุนทางอ้อมจากต่างประเทศ จะส่งผลกระทบต่อการผลิตและการกระจายรายได้ที่แตกต่างกัน โดยการขยายตัวของการลงทุนทางอ้อมจากต่างประเทศจะช่วยกระตุ้นการผลิตได้มากที่สุดแต่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้า ของการกระจายรายได้ระหว่างครัวเรือนสูงที่สุด ในทางตรงกันข้ามการขยายตัวของการส่งออกกลับช่วยกระตุ้นการผลิตได้น้อยที่สุดแต่ก่อให้เกิดการกระจายรายได้ระหว่างครัวเรือนที่เท่าเทียมกันมากที่สุด ส่วนการขยายตัวของการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศจะมีผลกระทบต่อการผลิตและการกระจายรายได้ในระดับปานกลาง
โดยวิธีการศึกษาได้ประยุกต์ใช้แบบจา ลองบัญชีเมตริกซ์สังคมทางการเงินปี 2551 ของประเทศไทยเป็นฐานข้อมูลหลัก ซึ่งประกอบด้วยภาคการผลิต 15 สาขา ปัจจัยการผลิต 3 ประเภทได้แก่ แรงงานนอกภาคเกษตร แรงงานในภาคเกษตรและปัจจัยทุน และกลุ่มครัวเรือน 5 กลุ่มตามระดับชั้นรายได้ ในส่วนของการวิเคราะห์แบบจำลองได้ประยุกต์ใช้ทฤษฎี Leontief Fixed PriceMultiplier สำหรับการประมาณการผลกระทบที่เกิดขึ้น
จากการศึกษาพบว่า การขยายตัวที่เท่ากันของทั้งการส่งออกการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศและการลงทุนทางอ้อมจากต่างประเทศ จะส่งผลกระทบต่อการผลิตและการกระจายรายได้ที่แตกต่างกัน โดยการขยายตัวของการลงทุนทางอ้อมจากต่างประเทศจะช่วยกระตุ้นการผลิตได้มากที่สุดแต่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้า ของการกระจายรายได้ระหว่างครัวเรือนสูงที่สุด ในทางตรงกันข้ามการขยายตัวของการส่งออกกลับช่วยกระตุ้นการผลิตได้น้อยที่สุดแต่ก่อให้เกิดการกระจายรายได้ระหว่างครัวเรือนที่เท่าเทียมกันมากที่สุด ส่วนการขยายตัวของการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศจะมีผลกระทบต่อการผลิตและการกระจายรายได้ในระดับปานกลาง
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557