การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตจังหวัดนนทบุรี

dc.contributor.advisorสุภา กีร์ติบุตร, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorพูลทรัพย์ หุ่นนาคth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:26:29Z
dc.date.available2014-05-05T09:26:29Z
dc.date.issued1998th
dc.date.issuedBE2541th
dc.descriptionMethodology: Standard deviation, Inferential statistics, Two-way analysis of variance, Alpha coefficientth
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1998.th
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษา 1) สภาพการบริหารงานโรงเรียนอนุบาลเอกชน ในเขตจังหวัดนนทบุรี 2) ปัญหาการบริหารงาน โรงเรียนอนุบาลเอกชน ในเขตจังหวัดนนทบุรี 3) เปรียบเทียบสภาพการบริหารงานโรงเรียนอนุบาลเอกชน ในเขตจังหวัดนนทบุรี ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน 4) เปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานโรงเรียนอนุบาลเอกชน ในเขตจังหวัดนนทบุรี ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน โดยใช้แนวคิดในการบริหารงานโรงเรียนอนุบาลเอกชนตามลักษณะงาน 6 งาน คือ (1) งานวิชาการหรืองานการเรียนการสอน (2) งานกิจการนักเรียน (3) งานบุคลากร (4) งานธุรการ การเงินและพัสดุ (5) งานอาคารสถานที่ และ (6) งานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน / กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารและครูในโรงเรียนอนุบาลเอกชน ในเขตจังหวัดนนทบุรีจำนวน 571 คน โดยแบ่งเป็นผู้บริหาร 153 คน และครู 418 คน จากโรงเรียนจำนวน 66 โรงเรียน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล / ผลการศึกษา / 1. ผู้บริหารและครูส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง โดย กลุ่มผู้บริหารส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์ในการบริหารงานโรงเรียนเฉลี่ย 10 ปี กลุ่มครูส่วนใหญ่จบการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และครู ร้อยละ 62.9 ไม่มีวุฒิการศึกษาทางด้านอนุบาลแต่ผ่านการอบรมงานด้านอนุบาลระยะสั้น ๆ ครูส่วนใหญ่มีนักเรียนในชั้นเรียนมากกว่า 30 คน / 2. สภาพการบริหารงานโรงเรียนอนุบาลเอกชน ในเขตจังหวัดนนทบุรี ในภาพรวมและองค์ประกอบย่อยของงานทั้ง 6 งาน อยู่ใน "ระดับดี" ยกเว้นงานธุรการ การเงิน และพัสดุ ที่มีสภาพการบริหารงานอยู่ใน "ระดับปานกลาง" / 3. ผลการศึกษาเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานจำแนกตามตำแหน่ง พบว่าผู้บริหารมีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานในภาพรวม และในแต่ละองค์ประกอบย่อยของงานทั้ง 6 งาน ดีกว่าของครู เมื่อเปรียบเทียบสภาพการบริหารจำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในโรงเรียนขนาดใหญ่และโรงเรียนขนาดเล็กเห็นว่ามีสภาพการบริหารงานดีกว่ากลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในโรงเรียนขนาดกลาง ส่วนผลการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งกับขนาดโรงเรียน พบว่ามีเพียงสภาพการบริหารงานกิจการนักเรียนที่มีปฏิสัมพันธ์กัน / 4. ปัญหาการบริหารงานโรงเรียนอนุบาลเอกชน ในเขตจังหวัดนนทบุรี ผลการศึกษา พบว่า ผู้บริหารและครูเห็นว่าโรงเรียนมีปัญหาการบริหารงานทั้งในภาพรวมและองค์ประกอบย่อยของงานทั้ง 6 งาน อยู่ใน "ระดับน้อย" / 5. ผลการศึกษาเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานจำแนกตามตำแหน่ง พบว่างานที่ครูเห็นว่า.th
dc.description.abstractมีปัญหามากกว่าของผู้บริหารได้แก่ ปัญหาการบริหารงานกิจการนักเรียนปัญหาการบริหารงานบุคลากร ส่วนงานในด้านอื่น ๆ ผู้บริหารและครูเห็นว่ามีปัญหาในแต่ละงานไม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงาน จำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในโรงเรียนขนาดกลางเห็นว่ามีปัญหาการบริหารงานในด้านต่าง ๆ มากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในโรงเรียนขนาดใหญ่และโรงเรียนขนาดเล็ก ส่วนผลการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งกับขนาดโรงเรียน พบว่า ปัญหาในภาพรวม ปัญหาการบริหารงานวิชาการหรืองานการเรียนการสอน ปัญหาการบริหารงานกิจการนักเรียน ปัญหาการบริหารงานบุคลากรปัญหาการบริหารงานอาคารสถานที่ และปัญหาการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ในแต่ละงานปฏิสัมพันธ์กัน / ข้อเสนอแนะ / 1. ควรเพิ่มครูที่เป็นเพศชายในการสอนระดับอนุบาลมากขึ้น / 2. ควรสนับสนุนให้ครูเพิ่มวุฒิทางการศึกษา โดยเฉพาะวุฒิการศึกษาด้านอนุบาล / 3. ควรจัดห้องเรียนให้มีสัดส่วนเหมาะสมตามเกณฑ์มาตรฐาน / 4. หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทางการศึกษาอนุบาลควรให้ความช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาการบริหารงานในด้านต่าง ๆ แก่โรงเรียนขนาดกลางและโรงเรียนขนาดเล็ก / 5. ควรจัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างระหว่างผู้บริหารและครู อย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อรับรู้สภาพและปัญหาในการบริหารงานโรงเรียน / 6. ควรจัดให้มีการเยี่ยมบ้านนักเรียนชั้นอนุบาล เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครอง อีกทั้งจะทำให้ครูเข้าใจในตัวเด็กมากขึ้น / 7. ควรมีการประชาสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนให้มากขึ้น เช่น การจัดทำข่าวสารแลกเปลี่ยนแก่ผู้ปกครอง หรือเอกสารที่ให้ความรู้ในด้านการพัฒนาเด็กแก่ผู้ปกครอง / 8. ควรส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนหรือกิจกรรมการพัฒนาเด็ก / 9. ควรส่งเสริมให้ผู้บริหารและครูได้ศึกษาดูงานโรงเรียนอนุบาลดีเด่นth
dc.description.abstractThe major purposes of the study were (1) to learn about the private kindergartens in Nonthaburi Province (2) to identify their administrative problems and obstacles (3) to make a comparison of the administration between achools of different sizes by seeking opinions from the school administrators and teachers (4) to compare administrative problems among the school of different sizes as stated by the school administrators and teachers. The private kindergartens administration concept used as the framework of teh study included six types of work. namely (1) academic work or instructional work (2) student affairs (3) personnel administration (4) clerical work, finance and procurement (5) supervision of building and campus. and (6) relations between the school and the community. The subjects consisted of 153 school administrators adn 418 school teachers in 66 private kindergartens in Nonthaburi Province. The sample group was thus 571 in total. A questionnaire was employed to collect the data. Findings 1. Most school administrators and teacher were females. Most of the former group completed a Bachelor's degree and had an average of 10-year experience. Most of the latter group had lower education than a Bachelor's degree. About 62.9 percent did not receive a formal education in the field of early childhood education, but underwent a short training course in this matter. Also, most had more than 30 pupils in their class. 2. In genera, the administration of teh private kindergartens in Nonthaburi Province as a whole and each of the six types of work were found to be "good", except the clerical work, finance and procurement were found to be moderately satisfactory. 3. When the work position was considered, teh school administrators were found to have a better attitude toward the school administration as a whole than teh school teachers. When the school size was considered, it was found that the large-sized and small-sized schools had better administration than the medium-sized ones. When teh interaction between the work position and the school size was considered, the interaction was found only in the administration of the student affairs. 4. With regad to the administrative problems, both the administrators and the teachers thought thaty they had very few problems. 5. When the work position was considered to determine the degree of problems between the two groups, it was found that the school teachers had more serious problems than the school administrators, especially inthe student affairs an the personnel administration. They were found to have no significant difference in other types of work. When the school size was considered to determine the degree of problems, it was found that the medium-sized schools had more serious problems in all types of work than the other two groups. The results of the study of the interaction between the work position and the school size schowed that interaction existed among the academic work or instructional work, the student affairs, the personnel administration, the supervision of building and campus, and the relations between the school and the community. Recommendations 1. More male kindergartens teachers should be employed. 2. The kindergartens teachers should be encouraged to carn a higher degree, especially in the field of early chidhood education. 3. The number of pupils in each class should be smaller to meet the standards. 4. The government agencies concerned should help the medium-and small-sized kindergartens in solving the administrative problems. 5. A meeting between the school administrators and the school teachers should be held at least once a month to acknowledge the problems of school a dministration. 6. Visits to the pupils' homes should be made to create a good relationship between the school and the parents. This would also make the teacher have a better understanding of her pupils. 7. More public relations should be made so that the community would know more about the school. This could be done by issuing newsletters of distributing to the parents some documents that could help parents to bring up their children better. 8. The community school be encouraged to be involved in the teaching and learning activities or the child development activities. 9. The school administrators and the teachers should be given an opportunity to make an observation tour to outstanding kindergartens.th
dc.format.extent14, 156 แผ่น : ภาพประกอบ ; 30 ซมth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.1998.23
dc.identifier.isbn9742310653th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1847th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.lccLB 1438 .T5 พ415th
dc.subject.otherโรงเรียนอนุบาล -- การบริหาร -- ไทย -- นนทบุรีth
dc.titleการศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตจังหวัดนนทบุรีth
dc.title.alternativeA study of states and problems of kindergarten administration in Nonthaburi Provinceth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมth
thesis.degree.disciplineพัฒนาสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b96744.pdf
Size:
2.65 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections