การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : กรณีศึกษา ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี
dc.contributor.advisor | จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ | th |
dc.contributor.author | อรรถพล ใจงาม | th |
dc.date.accessioned | 2018-02-23T07:00:01Z | |
dc.date.available | 2018-02-23T07:00:01Z | |
dc.date.issued | 2014 | th |
dc.date.issuedBE | 2557 | th |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557. | th |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ใน 4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านพื้นที่ องค์ประกอบด้านกิจกรรม องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วม และองค์ประกอบด้านการจัดการ 2)ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของแต่ละองค์ประกอบในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 3)เสนอแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ โดยการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง(Semi Structured Interviews) กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ และการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participation Observation) ร่วมกับการศึกษาเอกสาร (Documentary Research) | th |
dc.description.abstract | ผลการศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ พบว่า มีองค์ประกอบด้านพื้นที่ที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ และมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ส่วนองค์ประกอบด้านกิจกรรม มีกิจกรรมและการท่องเที่ยวที่เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้สาหรับนักท่องเที่ยว และองค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วม มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมแต่ได้รับความสนใจน้อย เนื่องจากประชาชนยังขาดความรู้ด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ส่วนสุดท้าย คือ องค์ประกอบด้านการจัดการ มีการจัดการสิ่งแวดล้อมและการบริหารด้านสิ่งอานวยความสะดวกแต่ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้น สรุปได้ว่า จากผลการศึกษามีองค์ประกอบที่สอดคล้องกับเกณฑ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คือ องค์ประกอบด้านพื้นที่และองค์ประกอบด้านกิจกรรม ส่วนองค์ประกอบที่ไม่สอดคล้องกับเกณฑ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คือ องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วมและองค์ประกอบด้านการจัดการ | th |
dc.description.abstract | แนวทางที่เหมาะสมในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของศูนย์ฯ ได้แก่ องค์ประกอบด้านพื้นที่ ควรจัดระบบขนส่งสาธารณะในการเข้าพื้นที่ ปรับปรุงทัศนียภาพให้สวยงาม องค์ประกอบด้านกิจกรรม ควรเพิ่มบุคลากรให้ความรู้และสร้างจิตสานึกเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ตรวจสอบระบบสื่อความหมายให้มีสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วมควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ วางแผนและการแก้ปัญหาอย่างแท้จริง ให้มีการสร้างเครือข่ายมัคคุเทศก์อย่างจริงจัง จัดอบรมเรื่องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้กับประชาชนในท้องถิ่น องค์ประกอบด้านการจัดการ ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการท่องเที่ยว การเชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยวในพื้นที่และนอกพื้นที่ และจัดการด้านสาธารณูปโภคให้มีประสิทธิภาพ | th |
dc.format.extent | 170 แผ่น | th |
dc.format.mimetype | application/pdf | th |
dc.identifier.doi | 10.14457/NIDA.the.2014.82 | |
dc.identifier.other | ba187553 | th |
dc.identifier.uri | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3608 | th |
dc.language.iso | tha | th |
dc.publisher | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | th |
dc.subject | ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน | th |
dc.subject.other | การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ | th |
dc.subject.other | การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ -- การจัดการ | th |
dc.title | การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : กรณีศึกษา ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี | th |
dc.title.alternative | Ecotourism management : Case study of Kung Krabaen Bay Royal Development Study Center, Chanthaburi Province | th |
dc.type | text--thesis--master thesis | th |
mods.genre | Thesis | th |
mods.physicalLocation | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา | th |
thesis.degree.department | คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม | th |
thesis.degree.discipline | การจัดการสิ่งแวดล้อม | th |
thesis.degree.grantor | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
thesis.degree.level | Masters | th |
thesis.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | th |