การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการพัฒนาสังคมของพระสงฆ์ในชุมชนที่รัฐให้การพัฒนาต่างกัน

dc.contributor.advisorดวงเดือน พันธุมนาวิน, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorผ่องพรรณ ทวีสมบูรณ์th
dc.date.accessioned2014-05-05T09:26:04Z
dc.date.available2014-05-05T09:26:04Z
dc.date.issued1994th
dc.date.issuedBE2537th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2537.th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์รางวัลชมเชยth
dc.description.abstractการวิจัยนี้ได้ศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์ระหว่างพระสงฆ์ที่มีลักษณะต่าง ๆ และอยู่ในชุมชนที่มีโครงการพัฒนาของรัฐจำนวนต่างกัน และเป็นชุมชนที่มีระดับการพัฒนาต่างกัน พระสงฆ์ดังกล่าวเป็นพระสงฆ์ทั่วไปซึ่งอยู่ในวัดของชุมชนที่สุ่มมาแล้ว มิใช่พระสงฆ์นักพัฒนาดังที่ได้มีผู้ศึกษาวิจัยได้แต่เดิม โดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 4 ประการคือ ประการที่หนึ่ง เพื่อศึกษาความแตกต่างของปริมาณพฤติกรรมการพัฒนาชุมชนของ พระสงฆ์ทั้งด้านจิตใจและด้านวัตถุ เมื่อจำแนกพระสงฆ์ตามลักษณะของชุมชนและลักษณะของพระสงฆ์ ประการที่สอง เพื่อศึกษาว่าพระสงฆ์ที่มีลักษณะต่างกันจะมีประสบการณ์ในการพัฒนาชุมชน ได้รับการสนับสนุนทางสังคมและมีพฤติกรรมการพัฒนาทั้ง 2 ด้านแตกต่างกันหรือไม่ ประการที่สาม เพื่อศึกษาว่าลักษณะของชุมชน ประสบการณ์ในการพัฒนาชุมชน และการได้รับการสนับสนุนทางสังคม เกี่ยวข้องกับการที่พระสงฆ์มีทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาชุมชนและมีพฤติกรรมการพัฒนาชุมชนทั้ง 2 ด้านแตกต่างกันหรือไม่ ประการที่สี่ เพื่อศึกษาลักษณะของพระสงฆ์กับจิตลักษณะตามสถานการณ์ 3 ตัว ที่ร่วมกันทำนายพฤติกรรมการพัฒนาทั้ง 2 ด้าน ในชุมชนที่มีระดับการพัฒนาต่างกันth
dc.description.abstractกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้คือ พระสงฆ์จำนวน 141 รูป ที่บวชมานานกว่า 2 พรรษาขึ้นไป ซึ่งอยู่ในพื้นที่ อ.เมือง จ.ลำปาง มีจำนวน 72 วัด จาก 62 หมู่บ้าน โดยในหมู่บ้านขนาดใหญ่และมีโครงการพัฒนามากเท่านั้นที่มีการสุ่มวัดมาหมู่บ้านละ 1-2 วัด และสุ่มพระลูกวัดมา 0-5 รูป นอกนั้นใช้ตามที่มีอยู่จริง เป็นพระสงฆ์ที่มีอยู่ในชุมชนมีโครงการพัฒนาของรัฐมาก (10 โครงการขึ้นไป) จำนวน 78 รูป และอยู่ในชุมชนที่มีโครงการฯ น้อย จำนวน 63 รูป (คิดเป็นร้อยละ 55.3) และ 44.7 ตามลำดับ) ส่วนการแบ่งชุมชนตามระดับการพัฒนาเป็นมากและน้อยนั้น มีพระสงฆ์อยู่ในชุมชนที่พัฒนามาก (มีปัญหาทางสังคม 0-1 กลุ่มปัญหา และเป็นหมู่บ้านทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่) จำนวน 55 รูป และอยู่ในชุมชนที่พัฒนาน้อยจำนวน 86 รูป (คิดเป็นร้อยละ 39.0 และ 61.0 ตามลำดับ) เป็นเจ้าอาอาสจำนวน 69 รูป และพระลูกวัดจำนวน 72 รูป (คิดเป็นร้อยละ 48.9 และ 51.1 ตามลำดับ) เป็นพระสงฆ์อายุน้อย (อายุ 20-30 ปี) จำนวน 53 รูป และพระสงฆ์อายุมากจำนวน 88 รูป (คิดเป็นร้อยละ 37.6 และ 62.4 ตามลำดับ) เป็นพระสงฆ์ที่มีจำนวนพรรษาน้อย (ต่ำกว่า 10 พรรษา) 84 รูปและพระสงฆ์ที่มีจำนวนพรรษามาก 57 รูป (คิดเป็นร้อยละ 59.6 และ 40.0 ตามลำดับ) เป็นพระสงฆ์ที่มีการศึกษาต่ำ (จบชั้น ป.6 หรือต่ำกว่า) จำนวน 70 รูป และพระสงฆ์ที่มีการศึกษาสูงจำนวน 71 รูป (คิดเป็นร้อยละ 49.7 และ 50.3 ตามลำดับ)th
dc.description.abstractตัวแปรที่นำมาศึกษาครั้งนี้มี 4 กลุ่มคือ (1) พฤติกรรมการพัฒนา 2 ด้านของพระสงฆ์คือ พฤติกรรมการพัฒนาด้านจิตใจและพฤติกรรมการพัฒนาด้านวัตถุ วัดได้โดยใช้แบบวัดประกอบด้วยประโยคประกอบมาตร 6 หน่วยจำนวน 30 ข้อ และ 34 ข้อ ตามลำดับ (2) ลักษณะภูมิหลังและสังคม 3 ด้านของพระสงฆ์คือ ทัศนคติต่อการพัฒนาชุมชน ประสบการณ์ในการพัฒนาชุมชน และได้รับการสนับสนุนทางสังคม วัดได้โดยใช้แบบวัดประกอบด้วย ประโยคประกอบมาตร 6 หน่วย จำนวนแบบวัดละ 18 ข้อ 15 ข้อ และ 15 ข้อตามลำดับ (3) ลักษณะทางชีวสังคมของพระสงฆ์ ได้แก่ ตำแหน่ง อายุ พรรษาที่บวช และการศึกษาทางโลก วัดได้โดยให้พระสงฆ์ผู้ตอบเลือกคำตอบที่กำหนดให้ จำนวน 10 ข้อ (4) ลักษณะของชุมชนมี 2 ตัวแปรคือ จำนวนโครงการพัฒนาของรัฐในชุมชนมีมาก-น้อย และระดับการพัฒนาของชุมชนมีมาก-น้อย นอกจากนั้นยังมีแบบวัดการรับรู้ของพระสงฆ์เกี่ยวกับโครงการพัฒนาของรัฐในชุมชนของตน เป็นประโยคประกอบมาตร 6 หน่วย จำนวน 17 ข้อด้วย.th
dc.description.abstractการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยนี้ได้แก่ (1) การวิเคราะห์ความแปรปรวนสามทาง (2) การวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณเป็นขั้นและรวม (3) การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (4) การหาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่ม (T-Test) (5) สถิติพรรณา.th
dc.description.abstractผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้th
dc.description.abstractประการที่หนึ่ง พบว่า พระสงฆ์ในหมู่บ้านที่มีโครงการพัฒนาของรัฐมาก มีพฤติกรรมการพัฒนาทั้งหมดทางด้านจิตใจและด้านวัตถุมากกว่า และมีประสบการณ์ในการพัฒนาชุมชนมากกว่าพระสงฆ์ในหมู่บ้านที่มีโครงการพัฒนาของรัฐน้อย นอกจากนั้นยังพบว่า ในหมู่บ้านที่มีระดับการพัฒนามาก พระสงฆ์มีประสบการณ์ในการพัฒนามากกว่า แต่มีพฤติกรรมการพัฒนาทั้ง 2 ด้านไม่แตกต่างจากพระสงฆ์ในหมู่บ้านที่มีระดับการพัฒนาน้อยกว่า.th
dc.description.abstractประการที่สอง พบว่า พระสงฆ์ผู้ที่มีจำนวนพรรษามาก มีการศึกษาสูง และมีทัศนคติที่ดีมากต่อการพัฒนาชุมชน มีพฤติกรรมการพัฒนาด้านวัตถุมากกว่าผู้ที่มีพรรษาน้อย มีการศึกษาต่ำ และมีทัศนคติที่ดีน้อยต่อการพัฒนาชุมชน ผลนี้พบในกลุ่มรวมในกลุ่มพระสงฆ์ที่อายุมาก ถ้ามีพรรษามากหรือมีการศึกษาและมีทัศนคติที่ดีมากต่อการพัฒนาชุมชน เป็นผู้ที่มีพฤติกรรมการพัฒนาด้านจิตใจและด้านวัตถุมากกว่าพระสงฆ์อายุมากที่มีลักษณะตรงกันข้าม นอกจากนี้พบว่า เจ้าอาวาสและพระสงฆ์ที่มีการศึกษาทางโลกสูง มีพฤติกรรมการพัฒนาด้านจิตใจมากกว่าพระลูกวัดและพระสงฆ์ที่มีการศึกษาทางโลกต่ำ ผลนี้พบในกลุ่มรวมและโดยเฉพาะในกลุ่มพระสงฆ์ที่อายุมากth
dc.description.abstractประการที่สาม พบว่า พระสงฆ์ที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาชุมชนมาก มีพฤติกรรมการพัฒนาด้านจิตใจและด้านวัตถุมากกว่าพระสงฆ์ที่มีประสบการณ์น้อย ส่วนพระสงฆ์ที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมมาก มีพฤติกรรมการพัฒนาด้านวัตถุมากกว่าพระสงฆ์ที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมน้อย ผลนี้พบในกลุ่มพระลูกวัดเท่านั้น นอกจากนี้พบว่า พระลูกวัดที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมมากหรือมีประสบการณ์ในการพัฒนาชุมชนมาก มีทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาชุมชนมากกว่าพระลูกวัดที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมน้อยหรือมีประสบการณ์ในการพัฒนาชุมชนน้อย.th
dc.description.abstractประการที่สี่ พบว่า ประสบการณ์ในการพัฒนาชุมชนเป็นตัวทำนายที่สำคัญที่สุดที่ใช้ทำนายร่วมกันกับตัวทำนายอื่นอีก 3 ตัวคือ การศึกษาทางโลก ทัศนคติต่อการพัฒนาชุมชน และการได้รับการสนับสนุนทางสังคม โดยมีปริมาณการทำนายพฤติกรรมการพัฒนาด้านจิตใจและด้านวัตถุในพระสงฆ์ที่อยู่ในบ้านมีระดับการพัฒนามากได้มากกว่าในพระสงฆ์ที่อยู่ในหมู่บ้านมีระดับการพัฒนาน้อย ทั้งในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อยทุกประเภท พระสงฆ์ที่มีประสบการณ์มากการทำนายสูงสุดคือ กลุ่มพระสงฆ์ในหมู่บ้านที่มีโครงการพัฒนาของรัฐมาก และมีระดับการพัฒนามากกับกลุ่มเจ้าอาวาสในหมู่บ้านที่มีระดับการพัฒนามากth
dc.description.abstractผลการวิจัยนี้ยังพบว่า พฤติกรรมการพัฒนาทั้ง 2 ด้านของพระสงฆ์ มีความสัมพันธ์กันสูง (ค่า r = .83, p .01) ทั้งในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อยทุกประเภท ทำให้สามารถคาดได้ว่า ถ้าพระสงฆ์มีพฤติกรรมด้านหนึ่งมากเท่าใด ก็จะมีพฤติกรรมอีกด้านหนึ่งมากตามไปด้วย.th
dc.description.abstractจากผลการวิจัยนี้พบว่า ลักษณะด้านชีวสังคม ภูมิหลัง สังคม และลักษณะของหมู่บ้านมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการพัฒนาทั้ง 2 ด้านของพระสงฆ์อย่างเด่นชัด จึงมีข้อเสนอแนะที่สำคัญ 4 ประการคือ ประการแรก ควรเพิ่มการศึกษาทางโลกในระดับที่สูงขึ้นแก่พระสงฆ์ จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับพระสงฆ์ในการช่วยพัฒนาสังคมต่อไป ประการที่สอง ควรเพิ่มประสบการณ์ในการพัฒนาชุมชนให้แก่พระสงฆ์มากขึ้น โดยการจัดอบรมถวายความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมการพาไปศึกษาดูงานพัฒนาต่าง ๆ และประชาชนและรัฐควรให้การสนับสนุนทางสังคมแก่พระสงฆ์มากขึ้น เพื่อให้พระสงฆ์มีกำลังใจในการทำงานพัฒนา ซึ่งเป็นสิ่งที่บุคคลกลุ่มต่าง ๆ ทั้งภายในวัดและนอกวัดจะต้องร่วมคิด ร่วมทำ ให้การติชมและบริจาคทุนทรัพย์ จะทำพระสงฆ์มีทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาชุมชนมากขึ้นและจะมีพฤติกรรมในการพัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มพระลูกวัดและในกลุ่มพระสงฆ์ที่อยู่ในหมู่บ้านที่มีโครงการพัฒนาของรัฐน้อย จะเป็นการพัฒนาทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาชุมชนให้แก่พระสงฆ์ เพื่อเพิ่มปริมาณพฤติกรรมการพัฒนา ประการที่สาม รัฐควรกระจายโครงการพัฒนาต่าง ๆ ที่ลงไปในหมู่บ้านให้ทั่วถึง เพื่อสร้างความเจริญให้แก่หมู่บ้าน โดยเฉพาะหมู่บ้านที่ยังมีโครงการพัฒนาของรัฐน้อยและมีความเจริญน้อยลงและควรให้ความสำคัญแก่พระสงฆ์ได้มีส่วนร่วมในการช่วยพัฒนาท้องถิ่นได้มากขึ้นth
dc.format.extent26, 250 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.1994.27
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1688th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectการพัฒนาชุมชนth
dc.subject.lccBQ 4570 .S7 ผ19th
dc.subject.otherพุทธศาสนากับการพัฒนาชุมชนth
dc.subject.otherสงฆ์th
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการพัฒนาสังคมของพระสงฆ์ในชุมชนที่รัฐให้การพัฒนาต่างกันth
dc.title.alternativeA comparative study of activities in societal development of Buddhist monks in communities with different numbers of governmental projectsth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมth
thesis.degree.disciplineการจัดการการพัฒนาสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b13697.pdf
Size:
4.61 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections