การจัดการของเสียอันตรายจากชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

dc.contributor.advisorจำลอง โพธิ์บุญ, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorทัศนีย์วรรณ นวลหนูth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:26:53Z
dc.date.available2014-05-05T09:26:53Z
dc.date.issued2013th
dc.date.issuedBE2556th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,th
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการของเสียอันตรายจากชุมชนขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการ จัดการดังกล่าวเนื่องจากปัจจุบัน ปริมาณของเสียอันตรายจากชุมชมมีปริมาณเพิ่มขึ้นและไม่ได้รับการจัดการที่เหมาะสม เก็บ รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นและ ผู้นําชุมชน สังเกตการณ์ในพื้นที่และการศึกษาเอกสารโดยเลือกองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น เป็นกรณีศึกษา 5 แห่ง ได้แก่ 1) องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 2) เทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต 3) เทศบาลเมืองปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 4) ทศบาล ตําบลเมืองแกลง จังหวัดระยองและ5) องค์การบริหารส่วนตําบลบางน้ำผึ้ง จังหวัดสมุรปราการ และได้วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการจัด การของเสียอันตรายจากชุมชนโดยใช้เทคนิคSWOT Analysis จากผลการศึกษาสามารถจัดกลุ่มขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามขนาดของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็ก ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตําบล บางน้ำผึ้งและเทศบาลตําบลเมืองแกลง พบว่า องค์การบริหารส่วนตําบลบางน้ำผึ้งยังไม่มีการ จัดการของเสียอันตรายจากชุมชนขณะที่เทศบาลตําบลเมืองแกลงมีการคัดแยกจัดเก็บของเสีย อันตรายจากชุมชนแต่ยังไม่มีการกําจัดที่ถูกต้องเนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็ก ขาดความพร้อมและศักยภาพในการจัดการ 2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดกลาง ได้แก่ เทศบาลเมืองปากช่อง ไม่มีการจัดการของเสียอันตรายจากชุมชนและไม่มีนโยบายในการจัดการของเสียอันตราย จากชุมชนโดยเฉพาะ มีเพียงการจัดการขยะทั่วไปเท่านั้น 3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ ได้แก่ เทศบาลนครภูเก็ตและองค์การ บริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเทศบาลนครภูเก็ตมีการดําเนินการจัดการของเสียอันตรายจาก ชุมชนอย่างครบวงจร มีนโยบายและโครงการในการจัดการของเสียอันตรายจากชุมชนอย่าง ชัดเจนและเป็นรูปธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี มีการสนับสนุนให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นภายในจังหวัดนนทบุรีดําเนินการจัดการของเสียอันตรายจากชุมชนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในภาพรวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่มีความพร้อมและศักยภาพเพียงพอเหมาะสม ในการจัดระบบการจัดการของเสียอันตรายจากชุมชนแบบครบวงจรมากที่สุด สําหรับปัจจัยที่มีผลต่อการดําเนินการจัดการของเสียอันตรายจากชุมชนขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย ปัจจัยภายใน ได้แก่ ปริมาณของเสียอันตรายจากชุมชน ผู้บริหาร นโยบายโครงการในการจัดการของเสียอันตรายจากชุมชน กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และความพร้อมและศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัจจัยภายนอก ได้แก่ นโยบายการจัดการของเสียอันตรายจากชุมชนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงานภายนอกการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นth
dc.format.extent2013 แผ่น : ; 30 ซม.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1996th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.titleการจัดการของเสียอันตรายจากชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นth
dc.title.alternativeHousehold hazardous waste management of local authoritiesth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineการจัดการสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b180546.pdf
Size:
17.94 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections