ประสิทธิผลของโครงการพิธีปาฐกถาธรรมเพื่อป้องปรามการซื้อสิทธิขายเสียงภายใต้แนวทางการสามัคคีเด็กนักเรียนชนบทในการสนับสนุนเผยแผ่ธรรม : กรณีวิจัยปฏิบัติการในเขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครราชสีมา

dc.contributor.advisorแสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorเบญจวรรณ พัวเจริญเกียรติth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:26:21Z
dc.date.available2014-05-05T09:26:21Z
dc.date.issued1993th
dc.date.issuedBE2536th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2536.th
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยนี้ เป็นการวิจัยปฏิบัติการที่มุ่งนำวิชาการไปรับใช้การรณรงค์เลือกตั้งอย่างมีระบบ และมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการป้องปรามการซื้อสิทธิขายเสียง โดยการรณรงค์กับเด็กนักเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียนเป็นสื่อให้ผู้ปกครองและเพื่อนบ้าน มีความตื่นตัวในการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 13 กันยายน 2535 และเพื่อศึกษาประสิทธิผลของแนวทางการสามัคคีเด็กนักเรียนชนบทในการสนับสนุนเผยแผ่ธรรมth
dc.description.abstractแนวคิดที่เป็นกรอบชี้นำการศึกษาครั้งนี้ คือแนวคิดเรื่องศาสนากับสังคม แนวคิดเรื่องศาสนากับการเมือง แนวคิดเรื่องประสิทธิผลโครงการ และแนวคิดเรื่องปัจจัยนำเข้า-ปัจจัยส่งออกth
dc.description.abstractกลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัย คือกลุ่มนักเรียนชนบท ซึ่งเป็นนักศึกษาวิชาทหารทั้งชายและหญิง จากโรงเรียนมัธยมศึกษาจำนวน 5 โรงเรียน 5 อำเภอ จังหวัดนครราชสีมารวม 331 คนโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ แล้วจึงทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา อธิบายผลการสำรวจเบื้องต้น และใช้สถิติวิเคราะห์เพื่อทดสอบสมมติฐาน โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ใช้วิธีการของเชฟเฟ่และทีเทสต์ เพื่อดูความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ในการทดสอบสมมติฐานที่ 1, 2, 3 และใช้การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ และค่าความถดถอยเชิงพหุในการทดสอบสมมติฐานที่ 4 และ 5.th
dc.description.abstractส่วนการวิจัยปฏิบัติการ เป็นการปฏิบัติการจริงตามกรอบแนวคิดในพื้นที่ดำเนินการโครงการพิธีปาฐกถาธรรม และการติดตามผลโครงการหลังจากดำเนินการไปแล้วประมาณ 4 เดือนth
dc.description.abstractผลการวิจัย พบว่า.th
dc.description.abstract1. ภูมิหลังด้านครอบครัวที่แตกต่างกัน ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับการบรรลุประสิทธิผลของแนวทางการสามัคคีเด็กนักเรียนชนบทในการสนับสนุนเผยแผ่ธรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05.th
dc.description.abstract2. ภูมิหลังด้านเศรษฐกิจด้านรายได้ของครอบครัวที่แตกต่างกัน มีความสัมพันธ์กับการบรรลุประสิทธิผลฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนภูมิหลังด้านอาชีพและการครอบครองที่ดินที่แตกต่างกัน ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับการบรรลุประสิทธิผลฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05.th
dc.description.abstract3. ภูมิหลังด้านการเมือง ด้านการซื้อขายเสียงระดับชาติและระดับท้องถิ่นที่แตกต่างกัน ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับการบรรลุประสิทธิผลฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05.th
dc.description.abstract4. ด้านความจำ ความเข้าใจในบทธรรม มีความสัมพันธ์กับการบรรลุประสิทธิผลฯ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ความประทับใจในบทธรรม มีความสัมพันธ์กับการบรรลุประสิทธิผลฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05.th
dc.description.abstract5. ด้านความจำ ความเข้าใจในพิธีกรรม มีความสัมพันธ์กับการบรรลุประสิทธิผลฯ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ความประทับใจในพิธีกรรมมีความสัมพันธ์กับการบรรลุประสิทธิผลฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05.th
dc.description.abstractนอกจากนี้เมื่อศึกษาระดับประสิทธิผล พบว่า เด็กนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการพิธีปาฐกถาธรรมบรรลุประสิทธิผลระดับสูง จำนวน 229 คน คิดเป็นร้อยละ 69.18 บรรลุประสิทธิผลระดับกลาง จำนวน 80 คน คิดเป็นร้อยละ 24.17 และบรรลุประสิทธิผลระดับต่ำ จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 6.65.th
dc.description.abstractจากผลการวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ข้อสรุปที่ยืนยันว่าแนวคิดปัจจัยนำเข้า-ปัจจัยส่งออกเป็นแนวคิดที่เหมาะสมในการวิจัยแบบเป็นกระบวนการ แต่อย่างไรก็ตามในการวิจัยครั้งต่อไป ควรนำแนวคิดด้านพุทธศาสนากับการเลือกตั้ง มาใช้ในการวิจัยให้มากขึ้น ส่วนตัวแปรในการวิจัยควรมีการรวมตัวแปรด้านบทธรรม (ความจำ ความเข้าใจ ความประทับใจในบทธรรม) เป็นตัวแปรเพียง 1 ตัวแปร และรวมตัวแปรด้านพิธีกรรม (ความจำ ความเข้าใจ ความประทับใจในพิธีกรรม) เป็นตัวแปรเพียง 1 ตัวแปร เนื่องจากตัวแปรย่อยดังกล่าวมีความหมายที่ใกล้เคียงกันมาก และกลุ่มเป้าหมายไม่สามารถจำแนกความแตกต่างของตัวแปรย่อยได้th
dc.description.abstractนอกจากนี้ ในการศึกษาครั้งต่อไปควรมีการสัมภาษณ์และติดตามผลจากกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ปกครองและเพื่อนบ้าน เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนข้อมูลที่ได้จากการวิจัยปฏิบัติการและจากเด็กนักเรียนth
dc.format.extentก-ฑ, 140 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.1993.24
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1796th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectเด็กth
dc.subjectการเมืองth
dc.subject.lccJQ 1749 .A53N37 บ53th
dc.subject.otherเด็กกับการเมืองth
dc.subject.otherการเลือกตั้ง -- ไทย -- นครราชสีมาth
dc.subject.otherสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร -- ไทย -- นครราชสีมา -- การเลือกตั้งth
dc.titleประสิทธิผลของโครงการพิธีปาฐกถาธรรมเพื่อป้องปรามการซื้อสิทธิขายเสียงภายใต้แนวทางการสามัคคีเด็กนักเรียนชนบทในการสนับสนุนเผยแผ่ธรรม : กรณีวิจัยปฏิบัติการในเขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครราชสีมาth
dc.title.alternativeThe effectiveness of the dharma lecture ceremony project for preventing vote buying and selling under the approach of seeking co-operation and support of rural students in dharma dissemination : a case of action research in election area C, Nakornratchasima provinceth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมth
thesis.degree.disciplineปฏิบัติการทางสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b6290.pdf
Size:
1.98 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections