การเมืองในกระบวนการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการบ้านมั่นคงกรณีศึกษา ชุมชนสร้างสรรค์นครรังสิต จังหวัดปทุมธานี

dc.contributor.advisorสุวิชา เป้าอารีย์th
dc.contributor.authorกมลทิพย์ บุญสุขth
dc.date.accessioned2021-03-11T03:04:45Z
dc.date.available2021-03-11T03:04:45Z
dc.date.issued2019th
dc.date.issuedBE2562th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562th
dc.description.abstractการศึกษาเรื่อง การเมืองในกระบวนการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการบ้านมั่นคง กรณีศึกษา: ชุมชนสร้างสรรค์นครรังสิต จังหวัดปทุมธานี มีวัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อศึกษาการเมืองในกระบวนการการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการบ้านมั่นคง กรณีศึกษา ชุมชนสร้างสรรค์นครรังสิต จังหวัดปทุมธานี และ2.เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนโครงการบ้านมั่นคง กรณีศึกษา ชุมชนสร้างสรรค์นครรังสิต จังหวัดปทุมธานี โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน ร่วมกับวิธีการสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก และข้อมูลจากเอกสาร                        สำหรับ การศึกษาการเมืองในกระบวนการการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการบ้านมั่นคงนั้น ประกอบไปด้วย 3 ประเด็น คือ 1) ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของชุมชน 2) การเมืองในกระบวนการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนในการขับเคลื่อนโครงการบ้านมั่นคง 3) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนโครงการบ้านมั่นคง ผลการศึกษาพบว่า  ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ บ่งชี้ว่า ชุมชนสร้างสรรค์นครรังสิต มีลักษณะเป็นชุมชนพหุสังคมที่มีความหลากหลาย กล่าวคือ สมาชิกในชุมชนสร้างสรรค์นครรังสิตไม่ได้อยู่ในพื้นที่นี้โดยตรง แต่มีการอพยพย้ายถิ่นมาจากชุมชนอื่น โดยเฉพาะในส่วนของภาคอีสานมีจำนวนมากที่สุด เหตุผล คือ ชาวอีสานจำนวนมากอาจอพยพมาหาความก้าวหน้าในการงาน ชุมชนสร้างสร้างสรรค์นครรังสิต มีโครงสร้างอำนาจในลักษณะของพหุนิยม  โดยมีผู้อาวุโสมีบทบาทมากที่สุด และมีลักษณะของวัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้าผสมแบบมีส่วนร่วม อย่างไรก็ตาม จากการที่กลุ่มมีการดำเนินงานผสานผลประโยชน์ระหว่างกันมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะการเจรจาโดยหัวหน้ากลุ่ม ทำให้สมาชิกยังมีความเกรงใจระหว่างกันอยู่ ความสัมพันธ์ของสมาชิกในชุมชน จึงประกอบไปด้วย ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ 2 ส่วน คือ 1.ความเป็นทางการในชุมชน เพราะสมาชิกในชุมชนให้ความเกรงใจ คณะผู้บริหารชุมชน อาทิ กรมการหมู่บ้าน 2.ความสัมพันธ์อันไม่เป็นทางการภายในชุมชน ซึ่งมักจะใช้นโยบายนี้จัดการความขัดแย้งภายในชุมชน คือ ความสัมพันธ์เชิงเครือญาติ กับความสัมพันธ์ผ่านเครือข่าย ให้ใช้การเจรจาเพื่อขจัดความขัดแย้งในชุมชน นอกจากนี้กลุ่มผลประโยชน์ยังแบ่งผลประโยชน์กันทำให้ประสานประโยชน์กันได้และอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข กระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมือง เพื่อเรียกร้องผลประโยชน์และนำไปสู่การจัดตั้ง “ชุมชนสร้างสรรค์นครรังสิต” แบ่งขั้นตอน ออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่  ขั้นตอนแรก การหารือร่วมกันเพื่อกำหนด วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกลุ่มขั้นตอนที่สอง การนำเสนอแผนงานไปยังหน่วยงานภาครัฐ ขั้นตอนที่สามดำเนินการจัดสรรโควตาในลักษณะหมุนเวียนของกลุ่มในการเป็น “คณะกรรมการสหกรณ์” เพื่อทำให้การบริหารงานค่อนข้างเป็นทีมงานที่มีลักษณะที่เป็นทางการ สำหรับปัญหาอุปสรรคประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ความขัดแย้งในการจัดการผลประโยชน์และความขัดแย้งในเชิงโครงสร้างth
dc.description.abstractThe study of Politics of Participation Process for the Driving of Baan Man Kong: A Case Study of Sangsan Nakhon Rangsit Community in Pathumthani Province aims at: 1) studying the politics of participation process for the driving of Baan Man Kong; and 2) studying problems, obstacles, and searching for suggestions to drive Baan Man Kong.  The research made use of qualitative research methods through in-depth interview of 15 key informants, participatory observation and documentary research. In order to study about the politics of participation process for the driving of Baan Man Kong with a case study of Sangsan Nakhon Rangsit Community, about three issues were examine: 1) the historical background of the community; 2) the politics of participation process for the driving of Baan Man Kong in Sangsan Nakhon Rangsit Community; 3) the problem Obstacles and recommendations for driving a Baan  Man Kong in Sangsan Nakhon Rangsit Community. A study in the historical background indicated that the Sangsan Nakhon Rangsit Community in Pathumthani Province is characterized as a migratory society in which most residents of the community were not born in this area, but they are migrants from other areas, especially from the Northeastern region.  These Northeastern migrants came to this area for getting jobs, and the progressive life.  The power structure of the community is viewed as pluralism with active role of the community’s senior citizens.  The community’s political culture is characterized as subject-political culture plus participatory political culture. However, because of their long-time activity for benefit-sharing deriving of negotiations between groups’ leaders, their power-relationships consists of two parts.  The first is formal relationship in the community stemmed from the members of the community reluctant to impose upon the community administrators.  Second, it is about informal relationship which is utilized for conflict management in the community, particularly through kinship networks.  Moreover, there is a profit-sharing system that made them live together peacefully.  The political participation process that led to the establishing of the Sangsan Nakhon Rangsit Community comprises of three steps.  The first step is the consultation for identifying the community’s objectives.  The second step is to get their plan and proposal on the government agenda.  The third step is about the allocation of the cooperative committee quota in which it is done through the rotational process.  As a result, they ultimately are able to work together as a formal team.  Nevertheless, the obstacles of their working to drive Baan Man Kong in Sangsan Nakhon Rangsit Community are the conflict of benefits management and the struggle in the power structure.       th
dc.format.extent121 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2019.146
dc.identifier.otherb210687th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5105th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherโครงการบ้านมั่นคงth
dc.subject.otherชุมชนสร้างสรรค์นครรังสิตth
dc.subject.otherการมีส่วนร่วมทางสังคม -- ไทย -- ปทุมธานี -- ชุมชนสร้างสรรค์นครรังสิตth
dc.titleการเมืองในกระบวนการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการบ้านมั่นคงกรณีศึกษา ชุมชนสร้างสรรค์นครรังสิต จังหวัดปทุมธานีth
dc.title.alternativePolitics of participation process for driving the Baan Man Kong : a case study of Sangsan Nakhon Rangsit community in Pathumthani Provinceth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนาth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameศิลปศาตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b210687.pdf
Size:
4.56 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
115 B
Format:
Plain Text
Description:
Collections