การมีส่วนร่วมของสมาชิกในชมรมผู้สูงอายุจังหวัดเลย

dc.contributor.advisorรพี สุวรรณะชฎ, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorอุษา ศาสตร์ภักดีth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:26:03Z
dc.date.available2014-05-05T09:26:03Z
dc.date.issued1993th
dc.date.issuedBE2536th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2536.th
dc.description.abstractการศึกษานี้มุ่งวิเคราะห์ 1) ลักษณะทั่วไป 2) ระดับการมีส่วนร่วมของสมาชิกผู้สูงอายุ 3) ระดับปัจจัยที่คาดว่าจะมีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชมรมผู้สูงอายุ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่คาดว่าจะมีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชมรมผู้สูงอายุกับการมีส่วนร่วมของสมาชิกผู้สูงอายุ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุต่อไป.th
dc.description.abstractผู้ศึกษารวบรวมข้อมูล โดยวิธีการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างสมาชิกชมรมผู้สูงอายุจังหวัดเลย จำนวน 140 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ศึกษาใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอนุมาน ได้แก่ ค่า t-test ค่า Pearson's Product Moment Correlation Coefficient ค่า One-way Analysis of Varience และค่า Multiple Regression Analysis.th
dc.description.abstractผลการศึกษา พบว่า.th
dc.description.abstractกลุ่มสมาชิกผู้สูงอายุที่ศึกษา ครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 52.1) เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 69 ปี หนึ่งในสาม (ร้อยละ 33.6) มีอายุระหว่าง 60-65 ปี ครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 53.6) ของสมาชิกผู้สูงอายุที่ศึกษาจบชั้น ป.1-ป.4 และสมรสแล้วอยู่ด้วยกัน (ร้อยละ 55.7) เกือบครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 47.9) ไม่ได้ประกอบอาชีพ และ (ร้อยละ 41.4) มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 1,000 บาท ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกชมรมฯ โดยเฉลี่ย 4 ปี สองในสาม (ร้อยละ 67.1) เป็นสมาชิกชมรมฯ ระหว่าง 2-4 ปีth
dc.description.abstractกลุ่มสมาชิกผู้สูงอายุที่ศึกษา มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุใน "ระดับปานกลาง" กิจกรรมที่กลุ่มสมาชิกผู้สูงอายุมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ การบริจาคเงิน กิจกรรมที่กลุ่มสมาชิกผู้สูงอายุมีส่วนร่วมน้อยที่สุด คือ ร่วมวางระเบียบกฎเกณฑ์ของชมรมฯ เมื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของสมาชิกผู้สูงอายุในชนบทกับสมาชิกผู้สูงอายุในเมือง พบว่า สมาชิกผู้สูงอายุในชนบทมีส่วนร่วมในกิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุมากที่สุด และมีส่วนร่วมวางระเบียบกฎเกณฑ์ของชมรมฯ น้อยที่สุด ส่วนสมาชิกผู้สูงอายุในเมืองมีส่วนร่วมในการเป็นผู้ชักชวนมากที่สุด และมีส่วนร่วมวางระเบียบกฎเกณฑ์ของชมรมฯ น้อยที่สุด และเมื่อเปรียบเทียบลักษณะการมีส่วนร่วมระหว่างสมาชิกผู้สูงอายุในชนบท และสมาชิกผู้สูงอายุในเมือง พบว่า ไม่มีความแตกต่างในลักษณะการมีส่วนร่วม ณ ระดับความเชื่อมั่น .05.th
dc.description.abstractระดับการศึกษา สุขภาพร่างกาย และการได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มอิทธิพลเป็นปัจจัยที่ไม่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดเลย.th
dc.description.abstractความคาดหวังผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการเป็นสมาชิก ความสนใจในข่าวสารเกี่ยวกับชมรมผู้สูงอายุ มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชมรมผู้สูงอายุใน "ระดับปานกลาง" ส่วนความรู้สึกที่มีต่อกฎระเบียบข้อบังคับของชมรมผู้สูงอายุ มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชมรมผู้สูงอายุใน "ระดับต่ำ"th
dc.description.abstractปัญหา.th
dc.description.abstract1. ชมรมผู้สูงอายุth
dc.description.abstract1.1 ด้านข่าวสารและการประชาสัมพันธ์ ได้แก่ การไม่ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับชมรมฯ ชมรมฯ มีเอกสารน้อย และส่งเอกสารล่าช้า.th
dc.description.abstract1.2 ด้านกฎระเบียบข้อบังคับของชมรมฯ ได้แก่ ค่าสมัครสูงเกินไป การกำหนดอายุ และจำนวนสมาชิกที่จะรับในแต่ละปี และผู้สูงอายุจะต้องไปสมัครด้วยตนเอง.th
dc.description.abstract1.3 ตัวสมาชิกผู้สูงอายุ ได้แก่ สุขภาพร่างกาย ความลำบากในการเดินทาง ไม่มีรายได้ และการไม่ส่งเงินฌาปนกิจตามกำหนดth
dc.description.abstract2. โรงพยาบาลth
dc.description.abstract2.1 ด้านการให้บริการ ได้แก่ การได้รับบริการล่าช้า ต้องผ่านตามขั้นตอนth
dc.description.abstract2.2 ด้านเจ้าหน้าที่ ได้แก่ เจ้าหน้าที่มีทัศนคติไม่ดีต่อผู้สูงอายุ และมาดำเนินกิจกรรมไม่ตรงเวลา.th
dc.description.abstractข้อเสนอแนะth
dc.description.abstract1. สมาชิกผู้สูงอายุth
dc.description.abstract1.1 ชมรมผู้สูงอายุth
dc.description.abstract1) ชมรมฯ ควรประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวสารโดยผ่านการประชุมประจำเดือน คณะกรรมการ หัวหน้าสาย และสื่อต่าง ๆ อย่างน้อยเดือนละครั้ง.th
dc.description.abstract2) ชมรมฯ ควรยืดหยุ่น และควรมีการวางแผนล่วงหน้าว่าจะรับสมาชิกในแต่ละปีจำนวนเท่าใดth
dc.description.abstract3) ชมรมฯ ควรมีการอบรม แนะแนววิชาชีพที่เหมาะสม เพื่อเสริมรายได้ให้แก่สมาชิกth
dc.description.abstract1.2 โรงพยาบาลth
dc.description.abstract1) โรงพยาบาลควรปรับปรุงบริการต่าง ๆ ให้รวดเร็ว ไม่ต้องผ่านขั้นตอน และควรมีบริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่th
dc.description.abstract2) เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลควรมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้มารับบริการ ควรดำเนินกิจกรรมให้ตรงเวลา และควรมีการเยี่ยมบ้านบ่อยครั้งขึ้นth
dc.description.abstract2. ผู้ศึกษา.th
dc.description.abstract2.1 ชมรมผู้สูงอายุth
dc.description.abstract1) ควรสำรวจความต้องการของสมาชิกผู้สูงอายุอย่างน้อยปีละครั้ง.th
dc.description.abstract2) ผลิตและเผยแพร่สื่อต่าง ๆ เช่น เอกสาร จดหมายข่าว วารสาร เทป รายการวิทยุ และหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เพิ่มมากขึ้นและทั่วถึง.th
dc.description.abstract3) ควรขยายเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุออกไปสู่ระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้านth
dc.description.abstract4) ควรมีการจัดตั้งศูนย์บริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน ให้บริการแบบผสมผสาน ทั้งการส่งเสริม ดูแล ป้องกัน และให้การรักษา.th
dc.description.abstract2.2 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง.th
dc.description.abstract1) หน่วยงานสาธารณสุข ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลชุมชน และสถานีอนามัย ดูแลรับผิดชอบประชาชนในพื้นที่อย่างทั่วถึง เพื่อกระจายโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางด้านสาธารณสุขให้มากที่สุด และควรเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สาธารณสุข.th
dc.description.abstract2) ควรมีการออกเยี่ยมบ้าน และออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่th
dc.description.abstract3) ควรเป็นแหล่งความรู้ทางด้านวิชาการ ด้วยการจัดอบรม จัดประชุมวิชาการให้แก่สมาชิกในครอบครัว ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแล และการใช้ชีวิตร่วมกับผู้สูงอายุth
dc.description.abstract4) ควรจัดระบบช่องทางหรือการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สูงอายุ เมื่อเข้ารับบริการในหน่วยงานสาธารณสุขระดับต่าง ๆ.th
dc.description.abstract5) ควรมีการปรับงานทางด้านผู้สูงอายุให้สอดคล้องกับงานสาธารณสุขมูลฐาน และส่งเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุให้มีบทบาททางด้านสังคมมากขึ้นth
dc.description.abstract6) ประชาสงเคราะห์จังหวัด ควรให้การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุในแต่ละระดับ เช่น วัสดุ-ครุภัณฑ์ วิชาการ และงบประมาณ.th
dc.description.abstract7) ควรให้ความรู้ ให้คำแนะนำ หรือจัดอบรมให้แก่ผู้สูงอายุเกี่ยวกับอาชีพเสริมต่าง ๆ ตามความเหมาะสมth
dc.description.abstract2.3 อื่น ๆ.th
dc.description.abstract1) รัฐบาลควรลดหรือยกเว้นภาษีบุคคลที่ต้องรับผิดชอบดูแลผู้สูงอายุth
dc.description.abstract2) รัฐบาลควรกำหนดแผนที่ชัดเจนเกี่ยวกับสวัสดิการผู้สูงอายุทางด้านการประกันสุขภาพ และจัดสรรงบประมาณเพื่อบริการสุขภาพแก่ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นth
dc.description.abstract3) รัฐบาลควรเร่งกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาค โดยการสร้างงานในชนบทให้เพิ่มสูงขึ้นแต่ละปีth
dc.format.extent19, 238 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.1993.26
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1685th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectชมรมผู้สูงอายุจังหวัดเลยth
dc.subject.lccHQ 1064 .T5 อ48th
dc.subject.otherผู้สูงอายุ -- ไทย -- เลยth
dc.titleการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชมรมผู้สูงอายุจังหวัดเลยth
dc.title.alternativeThe Senior Citizen Club members' participation Loei provinceth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมth
thesis.degree.disciplineการจัดการการพัฒนาสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b13206.pdf
Size:
3.49 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections