การประเมินการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าถ่านหินเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา

dc.contributor.advisorพิเชฐ โสภณแพทย์, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorพิเชฐ โสภณแพทย์th
dc.date.accessioned2014-05-05T09:26:57Z
dc.date.available2014-05-05T09:26:57Z
dc.date.issued2012th
dc.date.issuedBE2555th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,th
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ประเมินการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผล กระทบทางสิ่งแวดล้อมของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเขาหินซ้อน 2) ศึกษาปัจจัยความสําเร็จและ ปัญหา/อุปสรรคของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของ โครงการฯ 3) นําเสนอแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ ประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของโครงการฯ ผู้วิจัยได้ประยุกต์หลัก CIPP-I Model ในการ ประเมินผล โดยการพิจารณาด้านบริบท ด้านปัจจัยนําเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และด้าน ผลกระทบ ของกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเขาหินซ้อน โดยมีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interviews) กับผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ของโครงการ ร่วมกับการศึกษาเอกสาร (Documentary Research) ผลการศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ของโครงการฯ ตามกรอบการประเมิน CIPP-I Model พบว่า 1) ด้านบริบทของโครงการ พบว่า กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนยังคงเป็นเรื่องใหม่ซึ่งต้องใช้เวลาในการเรียนรู้แก่ประชาชน พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ควรได้รับการแก้ไขให้ประชาชน สามารถมีส่วนร่วมในการศึกษาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างมีความหมาย (Meaningful PublicParticipation) 2) ด้านปัจจัยนําเข้า พบว่างบประมาณและบุคลากรที่ใช้ในกระบวนการมีส่วน ร่วมของประชาชนมีความเหมาะสมเพียงพอ แต่ในส่วนของประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจ อย่างถูกต้องเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม 3) ด้าน กระบวนการ พบว่าผู้ดําเนินโครงการดําเนินกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมได้เหมาะสม แต่ยังมีผู้มีส่วนได้เสียบางส่วนที่ไม่เข้าร่วมในกระบวนการ ส่งผลให้ขาดความครอบคลุมของผู้มีส่วนได้เสีย 4) ด้านผลผลิต พบว่ารายงานการประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อมยังไม่สามารถเปิดเผยต่อสาธารณะได้จนกว่าโครงการนั้นจะได้รับอนุมัติให้ดําเนินโครงการ ส่งผลให้ประชาชนไม่สามารถรับรู้ข้อมูลในรายงานและไม่สามารถขอเพิ่มเติม ข้อมูลต่างๆ ได้ 5) ด้านผลกระทบ พบว่าการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตั้งแต่กระบวนการศึกษาความเหมาะสมของโครงการจะช่วยป้องกัน และลดความขัดแย้งได้รวมถึงผู้ดําเนินโครงการต้องจัดกิจกรรมให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนใน พื้นที่มากที่สุด ซึ่งจะนําไปสู่การอยู่ร่วมกันระหว่างโครงการกับประชาชนอย่างยั่งยืน ปัจจัยความสําเร็จในการดําเนินการ ได้แก่การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในกระบวนการ มีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้แก่ทุกภาคส่วน ในส่วนของ ปัญหาและอุปสรรคในการดําเนินการ พบว่าผู้นําชุมชนขาดความตระหนักและความกระตือรือร้น ในประสานความร่วมมือระหว่างประชาชนและผู้ดําเนินโครงการ ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้แก่1) ภาครัฐ ควรมีหน่วยงานฝึกอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม 2) จัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนการศึกษาและจัดทํารายงานการ ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมซึ่งทําให้ผู้ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป้นอิสระจากเจ้าของ โครงการ 3) ปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนรับทราบข้อมูลในรายงานการ ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีส่วนร่วมในขั้นตอนการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ และสามารถเพิ่มเติมข้อมูลต่อผู้พิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้ และ 4) ผู้ดําเนินโครงการควรนําหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการอย่างครบถ้วน พร้อมรับฟัง ความเห็นของประชาชนตั้งแต่การเลือกพื้นที่ตั้งโครงการth
dc.format.extent265 แผ่น : ; 30 ซม.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2019th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.titleการประเมินการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าถ่านหินเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทราth
dc.title.alternativeAn evaluation of public participation in environmental impact assessment : a study of the Khao Hin Son Coal-Fired Power Plant Project, Chachoengsaoth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineการจัดการสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b180540.pdf
Size:
29.09 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections