• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

จิตคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกันของนักศึกษาระดับปริญญาตรีโปรแกรมวิชาพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฎลาวกาว

by เอมอร แสนภูวา

Title:

จิตคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกันของนักศึกษาระดับปริญญาตรีโปรแกรมวิชาพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฎลาวกาว

Other title(s):

Social mind for common good of community development program bachelor degree students Lao Kao Rajabhat University

Author(s):

เอมอร แสนภูวา

Advisor:

สุพรรณี ไชยอำพร, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

การบริหารการพัฒนาสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2012

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2012.47

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

วัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ 1) เพื่อศึกษาจิตคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกันของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรีโปรแกรมวิชาพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลยราชภัฏลาวกาว และ 2) เพื่อศึกษาเงื่อนไขทาง จิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับการมีจิตคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน การศึกษาเป็นการศึกษาเฉพาะกรณีโดยใช้ กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก ใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลที่สําคัญ 21 คน ซึ่งผลการศึกษาพบว่า จิตคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกันของนักศึกษาโปรแกรมวิชาพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏลาวกาว คือการสร้างจิตใจแห่งการให้เสียสละ เอื้ออาทรแบ่งปัน จิตสำนึกที่มีต่อส่วนรวม คือ ต้องการให้สังคมเกิดสันติสุข การทำความดีบําเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์โดยไม่ หวังสิ่งตอบแทน เงื่อนไขทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับจิตคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกันของนักศึกษา แบ่งเป็น 2 ด้าน คือเงื่อนไขภายใน และเงื่อนไขภายนอก จากการศึกษาพบว่า เงื่อนไขภายใน ประกอบด้วย 1) การเห็นคุณค่าในตนเอง 2) เหตุผลเชิงจริยธรรม 3) ระบบค่านิยม 4) ทัศนะต่อการ จัดการสมบัติสาธารณะ ได้แก่ทัศนะต่อการดูแลสมบัติสาธารณะ ทัศนะต่อการจัดการการอยู่ร่วมกนั เช่น กฎระเบียบ ทัศนะต่อการมีส่วนร่วมดูแลจัดการแก้ไขทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม และทัศนะต่อบทบาทของรัฐบาลท้องถิ่นและรัฐบาลกลางในการส่งเสริมจิตคำนึงถึง ส่วนรวมร่วมกันเงื่อนไขภายนอก ประกอบด้วย การขัดเกลาทางสังคมประกอบด้วย 1)ครอบครัว 2) สภาพแวดล้อมทางสังคม ได้แก่ เพื่อน สื่อครูอาจารย์สถานศึกษา และสถาบันศาสนา เงื่อนไข ทั้ง 2 ด้านข้างต้นเป็นกระบวนการขับเคลื่อนสู่จิตคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน ที่เกิดกับจิตใจและแสดง ออกเป็นพฤติกรรมของนักศึกษาในการมีจิตคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกันอีกทั้งในแนวทางดำเนินการ ขับเคลื่อนของนักศึกษาได้รับแรงหนุนเสริมจากแรงบันดาลใจสิ่งที่ประทับใจและความภาคภูมิใจที่เกี่ยวข้องกับจิตคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกันของนักศึกษา ภายใตนโยบายมหาวิทยาลัยและส่งผลให้ เกิดสังคมที่พึงปรารถนา ทั้งระดับโปรแกรมวิชา มหาวิทยาลัยและชุมชน สังคม ประเทศชาติต่อไป ข้อเสนอแนะสำคัญที่ได้จากการศึกษา คือ สร้างระบบกลไกหรือกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ เพื่อส่วนรวม โดยมีนโยบายปลูกฝังการช่วยเหลือสังคม หรือการทำประโยชน์เพื่อส่วนราม การ นําเอาสถาบันศาสนาเข้ามามีส่วนร่วมปลูกฝัง ขัดเกลาจิตคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกันและมีการศึกษา ต่อยอดในประเด็นต่างๆที่น่าสนใจ

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012

Subject(s):

จิตสำนึก
จิตสำนึก -- แง่สังคม

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

10, 177 แผ่น ; 30 ซม.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2092
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b175785.pdf ( 1.59 MB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [555]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×