• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

พื้นฐานการก่อเกิดและการพัฒนานโยบายอีสานเขียวของกองทัพบก

by ระวีวรรณ กัลยาณสันต์

Title:

พื้นฐานการก่อเกิดและการพัฒนานโยบายอีสานเขียวของกองทัพบก

Author(s):

ระวีวรรณ กัลยาณสันต์

Advisor:

วิชัย รูปขำดี, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

การวิเคราะห์ทางสังคม

Degree department:

โครงการบัณฑิตศึกษาพัฒนาสังคม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1989

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

วัตถุประสงค์ของการศึกษาเป็นการสำรวจและแสวงหาคำตอบ 3 ประการคือ 1) ศึกษาทบทวนบทบาทของทหารในการพัฒนาชนบท จากยุคของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงยุคของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ 2) ศึกษาวิเคราะห์ถึงพื้นฐานการก่อเกิดนโยบายอีสานเขียวว่าเป็นผลมาจากปัจจัยใดบ้าง และ 3) ศึกษาถึงการพัฒนานโยบายอีสานเขียวว่ามีกระบวนการกำหนดนโยบาย การปรับเปลี่ยนและปรับปรุงนโยบายอย่างไร.
วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เกี่ยวกับองค์ประกอบที่ทำให้เกิดการกำหนดนโยบายอีสานเขียว โดยการแสวงหาข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง และการเข้าไปสังเกตด้วยตนเองในโครงการ รวมถึงบทบาทของทหารที่เกี่ยวกับการพัฒนาชนบท ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา คือ ช่วง พ.ศ. 2530-2532.
ผลการศึกษาพบว่าทหารได้มีการขยายบทบาทในการพัฒนาชนบทออกไปจากเดิม จากการพัฒนาเฉพาะพื้นที่และใช้การพัฒนาเป็นเป้าหมายอุปกรณ์เพื่อให้เกิดเป้าหมายสุดท้าย คือ การมีชัยเหนือพรรคคอมมิวนิสต์ มาเป็นการเข้ามามีบทบาทหน้าที่โดยตรงต่อการพัฒนาชนบทเช่นเดียวกับหน่วยงานอื่น ๆ และใช้การพัฒนาเป็นเครื่องมือของการรักษาสถานภาพและชื่อเสียงของกองทัพบก รวมทั้งการขยายองค์กรภายในของกองทัพเพื่อรองรับการพัฒนา และพบว่า แนวความคิดและการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชนบทยังขึ้นอยู่กับตัวผู้นำเป็นสำคัญ และมีลักษณะพึ่งพาหน่วยงานอื่น ๆ.
ในประเด็นการศึกษาพื้นฐานการก่อเกิดนโยบาย พบว่านโยบายอีสานเขียวถูกกำหนดขึ้นมาจากกลุ่มชนชั้นนำในสังคม โดยมีปัจจัยทางการเมือง เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้กองทัพบกเข้ามามีบทบาทหลักในการกำหนดนโยบาย และมีปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ และระบบราชการ เป็นเหตุผลความชอบธรรมที่เอื้ออำนวยให้กองทัพสามารถผลักดันนโยบายได้เป็นผลสำเร็จ เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบหลักในการกำหนดนโยบาย ผู้ศึกษาพบว่ายังมีจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องที่สะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวในบางจุดมากกว่าผลสำเร็จในกรณีของการนำนโยบายไปปฏิบัติ
ประเด็นสุดท้ายของการศึกษาพบว่า การพัฒนานโยบายอีสานเขียวนั้น มีลักษณะของการเปลี่ยนแปลงแก้ไขจากของเดิมที่รวบรวมแผนงานที่มีอยู่แล้ว แก้ไขปรับปรุงหรือเพิ่มเติมแผนงานโครงการเพิ่มขึ้นมีลักษณะเป็นแผนประจำปี อันอาจจะนำไปสู่ภาพพจน์ เช่น รูปแบบเดิมของการพัฒนาที่ผ่านมา.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2532.

Subject(s):

การพัฒนาชนบท -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) -- นโยบายของรัฐ

Keyword(s):

นโยบายอีสานเขียว

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

248 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2130
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b8447ab.pdf ( 90.30 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b8447.pdf ( 4,922.16 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [555]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×