คณะนิติศาสตร์
Collections in this community
-
GSL: Books [0]
-
GSL: Lectures [0]
-
GSL: Proceedings [0]
-
GSL: Term papers [0]
-
GSL: Theses [99]
Recent Submissions
ผลกระทบและอุปสรรคของกฎหมายไทยที่มีผลต่อการผลิตและการพัฒนาศักยภาพแรงงานวิชาชีพบัญชีในการเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นแนวทางในการผลิตและพัฒนาศักยภาพ
แรงงานวิชาชีพบัญชีของไทยเปรียบเทียบกับสิงคโปร์ ตลอดจนศึกษาผลกระทบที่มีต่อการผลิตและ
พัฒนา เพื่อปรับข้อกฎหมายไทยที่เป็นอุปสรรคต่อการผลิตและพัฒนานักวิชาชีพบัญชีไทย
ปัญหาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ศึกษากรณี การจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลในหน่วยงานเอกชน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
; วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งเน้นศึกษาปัญหาการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลในหน่วยงานเอกชน ตาม
ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... ศึกษาแนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลใน
ประเทศต่าง ๆ ที่มีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจากหน่วยงานเอกชนที่ชัดเจน เช่น ประเทศแคนาดา
ประเทศสวีเดน และประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น และศึกษาแนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลใน
มาตรฐานสากล รวมถึงวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลในหน่วยงาน
เอกชน
การคุ้มครองแรงงานจากการหยุดกิจการชั่วคราว กรณีกิจการนายจ้างประสบอุทกภัย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
; มหาอุทกภัยปี 2554 นับได้ว่าเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศไทยสร้างความเดือดร้อนเสียหายทั้งทรัพย์สิน พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ตลอดจนการสูญเสียชีวิตโดยเฉพาะสถานประกอบกิจการที่ได้รับความเสียหายส่งผลให้นายจ้างจำนวนไม่น้อยตัดสินใจหยุดกิจการชั่วคราวด้วยเหตุที่ได้รับผลกระทบจากมหาอุทกภัยครั้งนั้นจนไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ โดยมิได้ประสงค์จะหยุดกิจการเป็นการถาวร เมื่อกิจการนายจ้างประสบอุทกภัยก็ย่อมส่งผลต่อสถานภาพของแรงงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการรวบรวมพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ในชั้นพนักงานสอบสวน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
; บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ “ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการรวบรวม
พยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ในชั้นพนักงานสอบสวน” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงอํานาจหน้าที่ของ
พนักงานสอบสวนรวมถึงค้นหาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการรวบรวมพยานหลักฐานในชั้นพนักงาน
สอบสวนของประเทศไทยนํามาเปรียบเทียบกับอํานาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในต่างประเทศที่ใช้
ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ การวิจัยได้เปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา และ
ประเทศอังกฤษ นอกจากนั้น ยังได้เปรียบเทียบกับอํานาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในต่างประเทศ
ที่ใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ โดยศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศสหพัน...
การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับฟิชชิ่ง
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
; อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันพัฒนามาจากอาชญากรรมแบบเดิมโดยมีความ
ร้ายแรงและสะดวกรวดเร็วทั้งยังแนบเนียนกว่าอาชญากรรมแบบเดิม โดยใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่าง
รวดเร็วเป็นเครื่องมือ อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีหลากหลายและทวีความรุนแรงก่อให้เกิด
ความเสียหายมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบฟิชชิ่ง (Phishing) ได้
ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศจํานวนมหาศาลรวมไปถึงขัดต่อหลักความสงบ
เรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน สําหรับการศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษา
แนวความคิดทั่วไปเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และ...
มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองและจัดสวัสดิภาพสัตว์จากการนำมาแสดง
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
; การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความหมาย แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการคุ้มครองและจัดสวัสดิภาพสัตว์จากการนำมาแสดง 2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองและจัดสวัสดิภาพสัตว์จากการนำมาแสดงของสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ 3) ศึกษาสถานภาพของสัตว์ในต่างประเทศกับไทย ทั้งปัญหาการนำสัตว์มาจัดแสดงและปัญหาขอบเขตการบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนการจำกัดสิทธิและเสรีภาพในการนำสัตว์มาแสดง 4) วิเคราะห์หลักเกณฑ์การคุ้มครองสัตว์ด้วยระบบการออกใบอนุญาตในการนำสัตว์มาแสดงของต่างประเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายไทย ตลอดจนวิเคราะห์หลักเกณฑ์กา...
แนวทางการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะ
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
; ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “แนวทางการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะ” มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาแนวทางปรับปรุงกฎหมายเพื่อพัฒนาระบบความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะในประเทศไทย โดยผู้เขียนกำหนดประเด็นศึกษาไว้สี่ประเด็นหลัก ได้แก่ เรื่องใบอนุญาตขับรถและใบอนุญาตให้เป็นผู้ขับรถ ประเด็นระยะเวลาการขับรถและการบันทึกข้อมูลการขับรถ ประเด็นส่วนควบและอุปกรณ์ของรถโดยสารสาธารณะ และประเด็นสัมปทานหน้าที่ความรับผิดของผู้ขับรถ และผู้ประกอบการเดินรถโดยสารสาธารณะ โดยศึกษา วิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี และหลักเกณฑ์ทางกฎหมายทั้งของประเทศไทย ได้แก่ พระราชบ...
ปัญหาการบังคับจำนองเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาบังคับคดี
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
; การบังคับจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) เป็นการใช้สิทธิที่มีอยู่ของผู้รับจำนอง แต่การใช้สิทธิของผู้รับจำนองเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาบังคับคดีไปแล้ว ไม่สามารถทำได้ แม้ความเป็นทรัพยสิทธิยังคงมีอยู่ ตามแนวคำพิพากษาฎีกา (ประชุมใหญ่) ทำให้เกิดประเด็นปัญหาทางกฎหมายถึงการรองรับความเป็นทรัพยสิทธิจำนองตาม ป.พ.พ. ว่าสิทธิจำนองเป็นทรัพยสิทธิหรือไม่ และปัญหาว่าการบังคับจำนองตาม ป.พ.พ. เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไปแล้ว จะสามารถบังคับจำนองได้หรือไม่ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงศึกษาถึงหลักการและแนวคิดว่าด้วยความเป็นทรัพ...
ความเหมาะสมของการนำวิธีการไกล่เกลี่ยมาใช้ในการระงับข้อพิพาททางปกครองในศาลปกครอง
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)
; วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองในศาลปกครอง และศึกษาว่าการนำวิธีการไกล่เกลี่ยมาใช้ระงับข้อพิพาทในคดีปกครองนั้นเหมาะสมหรือไม่หากนำมาใช้ควรจะมีขอบเขต หลักเกณฑ์และกระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อระงับข้อพิพาทในคดีปกครองในศาลปกครองอย่างไร ทั้งนี้การกำหนดหลักเกณฑ์หรือกระบวนการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองนั้นดำเนินไปโดยถูกต้อง เหมาะสม รักษาไว้ซึ่งหลักการในทางกฎหมายมหาชน อีกทั้งยังจะเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการยุติธรรมในคดีปกครองและคุ้มครองประโยชน์สาธารณะของประชาชนแ...
ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการโอนงบประมาณรายจ่าย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
; การโอนงบประมาณรายจ่ายเป็นกระบวนการที่สำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารงบประมาณของฝ่ายบริหาร เนื่องจากเป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นและความคล่องตัวในการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินของหน่วยรับงบประมาณเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม ความจำเป็นเร่งด่วนตามนโยบายของรัฐบาล หรือความต้องการของประชาชน เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินเป็นไปอย่างคุ้มค่าและก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด แม้ว่าการโอนงบประมาณรายจ่ายจะมีลักษณะเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ฝ่ายนิติบัญญัติได้พิจารณาใ...
แนวคิดการพัฒนากฎหมายแรงงานของไทย: ศึกษากรณีแรงงานเด็กเคลื่อนย้ายถิ่นฐานในอุตสาหกรรมงานก่อสร้าง
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
; วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษากฎหมายกับนโยบายว่าด้วยแนวคิดการพัฒนากฎหมายแรงงานของไทย โดยศึกษากรณีปัญหาแรงงานเด็กเคลื่อนย้ายถิ่นฐานในอุตสาหกรรมงานก่อสร้าง เนื่องจากประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economics Community : AEC) ที่มีนโยบายส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนย้ายเสรีทั้งสิ่งของและคนในภูมิภาค ส่งผลให้ปัจจุบันมีแรงงานเคลื่อนย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำงานในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก โดยหนึ่งในนั้นเป็นแรงงานเด็กเคลื่อนย้ายถิ่นฐานที่เข้าทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง
ทั้งนี้การคุ้มครองสิทธิเด็กและแรงงานเด็กเป็นหนึ่งในเป้าหมายของกา...
การปรับใช้แนวคิดการลงโทษให้ได้สัดส่วน (Just Deserts) กับการพิจารณาความผิดที่เด็กและเยาวชนเป็นผู้กระทำในฐานความผิดเกี่ยวกับเพศว่าด้วยการข่มขืนกระทำชำเรา
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)
; ปัจจุบันการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนในประเทศไทยมีสถิติที่สูงขึ้น จากการศึกษาพบว่า การกระทำความผิดเหล่านั้นมีลักษณะร้ายแรง ไม่ต่างจากการกระทำความผิดของผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้ใหญ่ โดยเฉพาะฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาลักษณะ 9 ความผิดเกี่ยวกับเพศว่าด้วยการข่มขืนกระทำชำเรา ซึ่งบทความนี้ศึกษาแนวคิดการลงโทษให้ได้สัดส่วน (Just Desserts) กับการพิจารณาความผิดที่เด็กและเยาชวนเป็นผู้กระทำความผิดกรณีความผิดเกี่ยวกับเพศว่าด้วยการข่มขืนกระทำชำเรา โดยผู้เขียนได้ใช้วิธีการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการที่เด็กและเยาวชนกระทำความผิดตาม...
กระบวนพิจารณาและความรับผิดทางอาญาของผู้หญิงที่ถูกทำร้ายสะสม
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)
; วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนพิจารณาและความรับผิดทางอาญาที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงที่ถูกทำร้ายสะสม (Battered Woman Syndrome: BWS) โดยผู้เขียนได้แบ่งประเด็นกฎหมายเพื่อวิเคราะห์ออกเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ 1 การนำสืบพยานผู้เชี่ยวชาญในกระบวนพิจารณา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และ 2 โครงสร้างความรับผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา รวมถึงวิเคราะห์หาแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้มีความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน
ในการศึกษานี้ได้นำแนวคิดจากทฤษฎีวงจรความรุนแรง (Cycle Theory of Violence) และทฤษฎีความสิ้นหวังอันเกิดจากการเรีย...
ปัญหากฎหมายในการเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์โดยอ้อม
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
; วิทยานิพนธ์ฉบับนี้วัตถุประสงค์ในการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยอ้อม เพื่อให้ผู้ที่ต้องการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกรูปแบบการเข้าจดทะเบีบนกับตลาดหลักทรัพย์ และอีกประเด็นที่ผู้เขียนสนใจศึกษาคือ หลักเกณฑ์การเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์โดยอ้อมของประเทศไทย และ ต่างประเทศเพื่อหาแนวทางในการแก้ไข และนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทที่เกิดขึ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยศึกษากรณีปัญหาที่เกิดขึ้นต่างๆจากบริษัทที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์โดยอ้อ...
ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิด: กรณีศึกษาเปรียบเทียบไทย - สหรัฐอเมริกา
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
; หลักความยินยอมไม่เป็นละเมิด หรือหลัก Volenti non fit injuria เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นจากระบบกฎหมายโรมันที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญต่อการแสดงเจตนาของบุคคล กล่าวคือ หากบุคคลแสดงเจตนาเช่นใดก็ย่อมต้องยอมรับผลที่จะเกิดขึ้นจากการแสดงเจตนานั้นไม่ว่าผลนั้นจะดีหรือไม่ดีก็ตาม โดยประเทศสหรัฐอเมริกาก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับอิทธิพลแนวคิดหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิดมาจากระบบกฎหมายโรมันแม้จะได้รับการถ่ายทอดมาจากประเทศอังกฤษอีกทอดหนึ่งก็ตาม แต่ในปัจจุบันประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทำการตราบทบัญญัติมาตรา 496A แห่ง Restatement of law (Second), of tort กำหนดคำนิยามให้ความหมา...
ปัญหาทางกฎหมายด้านการควบคุมระบบคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)
; วิทยานิพนธ์ฉบับนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยอาหาร ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบควบคุมคุณภาพ และวิธีการป้องกันการเกิดปัญหาจากความไม่ปลอดภัยอาหารโดยใช้กระบวนการทางกฎหมายที่บังคับอยู่ในปัจจุบัน
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาโดยการรวบรวมข้อมูลทางกฎหมายและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับระบบคุณภาพอาหาร และการดำเนินงานด้านการควบคุมและป้องกันเกี่ยวกับอาหารไม่ปลอดภัยของไทยกับกฎหมายของต่างประเทศ ได้แก่ สหภาพยุโรปและสาธารณรัฐประชาชนจีน นอกจากนี้ยังได้ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณโดยการสัมภาษณ์กับเจ้าหน้าที่ภาครัฐและผู้ประกอบการ...
ปัญหากฎหมายลิขสิทธิ์เกี่ยวกับการนำงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงมาดัดแปลงโดยวิธีการ Remix
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)
; วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหากฎหมายลิขสิทธิ์เกี่ยวกับการนำงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงมาดัดแปลงโดยวิธีการ Remix แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการ Remix งานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียง มาตรการทางกฎหมายลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับการ Remix งานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงของประเทศไทย ต่างประเทศและระหว่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อวิเคราะห์ปัญหากฎหมายลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับการ Remix งานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงว่าจะละเมิดลิขสิทธิ์หรือจะได้รับการยกเว้นตามกฎหมายหรือจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์หรือไม่ เพียงใด ตลอดจนกำหน...
มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้และอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
; การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ำ
โดยทำการศึกษาร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. ... ที่จะจัดทำเป็นกฎหมายแม่บทให้มีความสมบูรณ์ ศึกษาเรื่องการจัดเก็บค่าน้ำ สำหรับเป็นแนวทางในการกำหนดเป็นกฎหมายต่อไป ตลอดจนศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อจะได้เป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับทรัพยากรน้ำให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน
สถานบริการตู้รับเด็กทารกและผลทางกฎหมายของอำนาจปกครองของมารดา: กรณีศึกษาเปรียบเทียบสหรัฐอเมริกา
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
; เนื่องมาจากปัญหาเด็กทารกเสียชีวิตจากการถูกนำมาทอดทิ้งในสถานที่ที่ไม่ปลอดภัยของประเทศไทย เช่น ในห้องน้ำสาธารณะ ริมถนน หรือถังขยะ เป็นต้น ยังคงเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขให้ลดจำนวนลงได้ บทความวิจัยเรื่องนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายที่ไทยสมควรจะนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาเด็กเสียชีวิตจากการถูกทอดทิ้งในสถานที่ที่ไม่ปลอดภัย จากการศึกษาเอกสารต่างประเทศพบว่าประเทศสหรัฐอเมริกาได้บัญญัติกฎหมาย Safe Haven Laws จัดตั้งสถานบริการตู้รับเด็กขึ้นในแต่ละมลรัฐเพื่อใช้แก้ปัญหาเด็กเสียชีวิตจากการถูกนำไปทอดทิ้งในสถานที่ที่ไม่ปลอดภัยต่างๆ เป็นผลทำให้สถ...
มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองกู๊ดวิลล์จากการละเมิดชื่อเสียงในเครื่องหมายการค้า
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
; “กู๊ดวิลล์” เป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนชนิดหนึ่งที่สามารถประเมินมูลค่าได้ หากเครื่องหมายการค้าใดมีกู๊ดวิลล์มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น รวมไปถึงสินค้าหรือบริการภายใต้เครื่องหมายการค้านั้นก็จะมีมูลค่าที่สูงขึ้นด้วย โดยการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าการการละเมิดในประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นไปตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 อันประกอบไปด้วย มาตรา 108 “ห้ามมิให้บุคคลใดปลอมเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร” และ มาตรา 109 “ห้ามมิให้บุคคลใดเลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว...