แนวทางการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะ
by ป้อมฤดี กุมพันธ์
Title: | แนวทางการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะ |
Other title(s): | Guidelines for amendments to the law on public vehicle safety |
Author(s): | ป้อมฤดี กุมพันธ์ |
Advisor: | วราภรณ์ วนาพิทักษ์ |
Degree name: | นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree level: | Doctoral |
Degree department: | คณะนิติศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2018 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “แนวทางการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะ” มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาแนวทางปรับปรุงกฎหมายเพื่อพัฒนาระบบความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะในประเทศไทย โดยผู้เขียนกำหนดประเด็นศึกษาไว้สี่ประเด็นหลัก ได้แก่ เรื่องใบอนุญาตขับรถและใบอนุญาตให้เป็นผู้ขับรถ ประเด็นระยะเวลาการขับรถและการบันทึกข้อมูลการขับรถ ประเด็นส่วนควบและอุปกรณ์ของรถโดยสารสาธารณะ และประเด็นสัมปทานหน้าที่ความรับผิดของผู้ขับรถ และผู้ประกอบการเดินรถโดยสารสาธารณะ โดยศึกษา วิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี และหลักเกณฑ์ทางกฎหมายทั้งของประเทศไทย ได้แก่ พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ... ตลอดจน ประกาศกระทรวง กฎกระทรวง ระเบียบข้อบังคับ และกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ข้อตกลงของสหภาพยุโรป กฎหมายของประเทศตุรกี และประเทศออสเตรเลีย
จากการศึกษาหลักเกณฑ์ทางกฎหมายไทยตามประเด็นศึกษาทั้งสี่ประเด็น เมื่อวิเคราะห์ตามแนวคิดทฤษฎี ประกอบกับเทียบเคียงกฎหมายต่างประเทศ พบว่า พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 และกฎหมายลำดับรองหลายฉบับ ยังมีข้อบกพร่องและไม่สอดรับกัน เช่นเรื่องการกำหนดชนิดใบอนุญาตขับรถและชนิดใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ การกำหนดระยะเวลาการทำงานของผู้ขับรถ การกำหนดหลักเกณฑ์ลงโทษผู้ขับรถและผู้ประกอบการ เป็นต้น
ดังนั้นเห็นควรต้องปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะในประเทศไทยหลายประการ เช่นการกำหนดชนิดของใบอนุญาตขับรถให้สอดรับกับชนิดของใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ การกำหนดเงื่อนไขวิธีการทดสอบขับรถที่เข้มงวดขึ้น การกำหนดเงื่อนไขของผู้ได้รับใบอนุญาตขับรถชั่วคราว การกำหนดระยะเวลาการทำงานของผู้ขับรถ การกำหนดให้ต้องพกพาและแสดงอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะ และการกำหนดวิธีการลงโทษผู้ขับรถและผู้ประกอบการขับรถ เป็นต้น ทั้งนี้ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อเสนอแนะจากดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการออกกฎหมายลำดับรองภายใต้ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ... ต่อไป |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (น.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561 |
Subject(s): | ความปลอดภัยสาธารณะ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
รถโดยสาร -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
Keyword(s): | e-Thesis |
Resource type: | ดุษฎีนิพนธ์ |
Extent: | 509 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Rights holder(s): | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5002 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View b208138.pdf ( 4.04 MB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|