• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ปัญหาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ศึกษากรณี การจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลในหน่วยงานเอกชน

by จันทร์ทิพย์ แสงแปง

Title:

ปัญหาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ศึกษากรณี การจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลในหน่วยงานเอกชน

Other title(s):

Problems of personal information protection case study : personal information accumulation in private organization

Author(s):

จันทร์ทิพย์ แสงแปง

Advisor:

วริยา ล้ำเลิศ

Degree name:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะนิติศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2016

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งเน้นศึกษาปัญหาการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลในหน่วยงานเอกชน ตาม ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... ศึกษาแนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลใน ประเทศต่าง ๆ ที่มีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจากหน่วยงานเอกชนที่ชัดเจน เช่น ประเทศแคนาดา ประเทศสวีเดน และประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น และศึกษาแนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลใน มาตรฐานสากล รวมถึงวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลในหน่วยงาน เอกชน
เนื่องจากในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ช่วยให้หน่วยงานเอกชนสามารถเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลข้อมูล และส่งผ่านข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อ การวิเคราะห์ วิจัย ทำสถิติ และอีกหลากหลายกิจกรรม แต่ในทางกลับกัน ก็ทำให้เกิดการละเมิด ข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยง่าย เกิดการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลเข้าสู่มือของมิจฉาชีพ หรือธุรกิจที่ แอบแฝงผลประโยชน์ต่าง ๆ เช่นเดียวกัน
จากการศึกษาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... และแนวทางการคุ้ม ครองข้อมูลส่วนบุคคลในต่างประเทศพบว่า ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... ยัง ขาดความชัดเจนในเรื่องการขอความยินยอมในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรง และการแจ้งวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บข้อมูล กล่าวคือ ปัญหาการ จัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอมของเจ้าของข้อมูล ซึ่งท าให้หน่วยงานเอกชนสามารถ จัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล โดยที่ไม่ได้รับความยินยอมของเจ้าของข้อมูลก่อน เพียงแค่แจ้งให้เจ้าของ ข้อมูลทราบเท่านั้น ส่งผลให้เกิดการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ทำให้กระจาย ข้อมูลเป็นยังแหล่งอื่นได้โดยง่าย และปัญหาการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่แจ้งวัตถุประสงค์ในการ จัดเก็บข้อมูลนั้น ทำให้หน่วยงานเอกชนสามารถเก็บข้อมูลส่วนบุคคลได้ โดยที่ไม่แจ้งวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บข้อมูล หรือไม่กำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บข้อมูลให้ชัดเจน หรือ นำข้อมูลไปใช้เกิน กว่ากรอบของวัตถุประสงค์ที่เคยกำหนดไว้ เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ทั้งสิ้น โดยอาศัยความคลุมเครือของกฎหมายทำให้ประชาชนทั่วไปได้รับผลกระทบในการถูกละเมิด สิทธิส่วนบุคคล
ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้วิจัยเห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... จึงควร แก้ไขเพิ่มเติมในมาตรา 22 เพื่อกำหนดหลักการขอความยินยอมในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจาก แหล่งอื่น ซึ่งไม่ใช่เจ้าของข้อมูลโดยตรง และกำหนดหลักการแจ้งวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บข้อมูลให้ ชัดเจน เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล

Description:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559

Subject(s):

การป้องกันข้อมูล -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
สิทธิส่วนบุคคล

Keyword(s):

ข้อมูลส่วนบุคคล
การจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

133 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5044
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b194172.pdf ( 4,068.63 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [208]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×