การจัดการพลังงานชุมชนอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาชุมชนนาเหลืองอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
by สุลีกร สุปัน
Title: | การจัดการพลังงานชุมชนอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาชุมชนนาเหลืองอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน |
Other title(s): | The sustainable community energy management : a case study of Nalueng Community in Wiangsa District of Nan Province |
Author(s): | สุลีกร สุปัน |
Advisor: | สุวิชา เป้าอารีย์ |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การบริหารการพัฒนาสังคม |
Degree department: | คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2018 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการจัดการพลังงานชุมชนของตำบลนาเหลือง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน รวมถึงศึกษาองค์ประกอบความสำเร็จในการจัดการพลังงานชุมชนของตำบลนาเหลือง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน และศึกษาปัญหา/อุปสรรคและในกระบวนการจัดการพลังงานชุมชน
งานวิจัยนี้ได้ยึดแนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยได้กำหนดแนวทางศึกษาและรวบรวมข้อมูลเพื่อได้ข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง รอบด้านและครอบคลุมในทุกมิติด้วยการศึกษาเอกสาร (Documentary Study) การสัมภาษณ์ (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 15 คน การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant Observation) และการประชุมกลุ่ม (Focus Group) ทำการตรวจสอบข้อมูลโดยใช้วิธีการตรวจสอบสามเส้า (Triangulation) สำหรับวิธีในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และได้นำข้อมูลที่รวบรวมมาจัดหมวดหมู่ตามหัวข้อ ทำการวิเคราะห์หาความสอดคล้องของเนื้อหา ตีความโดยยึดหลักตรรกะและเทียบเคียงกับแนวคิดทฤษฎีควบคู่กับบริบทของสังคม วัฒนธรรม สภาพเศรษฐกิจ ของชุมชนที่ศึกษา
ผลการศึกษาในภาพรวมพบว่าพลังงานชุมชนจะยั่งยืน สิ่งสำคัญคือการบริหารจัดการพลังงานชุมชนเพื่อก่อให้เกิดพลังงานอย่างยั่งยืนได้นั้น ควรสร้างแนวทางการบริหารจัดการพลังงานชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมและเห็นผลในเชิงประจักษ์ โดยอาศัยกระบวนการทั้ง 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การจัดองค์กร การชี้นำ (ภาวะผู้นำและการจูงใจ) และการควบคุมองค์กร นอกจากกิจกรรมหลักทางการจัดการทั้ง 4 ขั้นตอนนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่ช่วยสนับสนุนกระบวนการจัดการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เช่น การตัดสินใจ การจัดการเชิงกลยุทธ์ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การบริหารกลุ่ม และการจัดการสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ เป็นต้น ทั้งนี้ กิจกรรมการจัดการหลักและกิจกรรมที่สนับสนุนการจัดการจะก่อให้เกิดการจัดการพลังงานได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยภายนอก เช่น การสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน อบต.นาเหลือง พลังงานจังหวัด และปัจจัยภายใน การมีส่วนร่วมของชาวบ้านในชุมชน ตลอดจนแผนพลังงานชุมชนที่ชาวบ้านร่วมกันสร้างขึ้น ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดทิศทางการพัฒนาพลังงานและเกิดการจัดการพลังงานชุมชนอย่างยั่งยืน |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561 |
Subject(s): | พลังงาน -- การจัดการ |
Keyword(s): | พลังงานชุมชน
e-Thesis |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 193 แผ่น |
Type: | Thesis |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Rights holder(s): | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5083 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|