กลยุทธ์การจัดการภาพลักษณ์ทางการเมืองของผู้นำรัฐบาล:กรณีศึกษา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
by พิเชฐ สมบัติศิริ
Title: | กลยุทธ์การจัดการภาพลักษณ์ทางการเมืองของผู้นำรัฐบาล:กรณีศึกษา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
Other title(s): | Political image management tactics of the governmental leader : a case study of general Prayuth Chan-o-cha |
Author(s): | พิเชฐ สมบัติศิริ |
Advisor: | สุวิชา เป้าอารีย์ |
Degree name: | ศิลปศาตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา |
Degree department: | คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2020 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษากลยุทธ์การจัดการภาพลักษณ์ทางการเมืองของผู้นำรัฐบาล: กรณีศึกษา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เริ่มศึกษาภาพลักษณ์ของพล.อ. ประยุทธ์ ในช่วงของการเข้ามามีอำนาจทางการเมือง ในปี พ.ศ. 2557 กระทั่งถึงปี 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ทางการเมืองของผู้นำรัฐบาล กรณีศึกษา พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา 2)ศึกษากลยุทธ์การจัดการภาพลักษณ์ทางการเมืองของผู้นำรัฐบาล กรณีศึกษาพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งได้เห็นพลวัตรของพล.อ.ประยุทธ์ในแต่ละช่วงที่มีกลยุทธ์ในการปรับภาพลักษณ์ โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์จากบุคคลใกล้ชิดหรือทำงานเกี่ยวข้องกับพล.อ.ประยุทธ์ จำนวน 21 คน แบ่งเป็นฝ่ายการเมืองที่เข้ามาพร้อมกับพล.อ.ประยุทธ์ ฝ่ายราชการประจำที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการสื่อสารของพล.อ.ประยุทธ์กับประชาชน นักวิชาการทางด้านการเมืองและภาพลักษณ์ และนักข่าว โดยได้ผลการวิจัยว่าภาพลักษณ์ของพลเอกประยุทธ์ในปี 2557 มีความเด็ดเดี่ยว แข็งแกร่ง เป็นทหาร มีภาวะผู้นำสูง รักสถาบัน เป็นคนตรงไปตรงมา ไม่มีนโยบายแอบแฝง เป็นผู้แก้ไขความสงบในบ้านเมือง และเป็นผู้เตรียมข้อมูลได้ดี ในปี 2558-2559 มีภาพลักษณ์ในการเป็นผู้นำประเทศที่มีหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน และในปี 2560-2561 มีภาพลักษณ์การเป็นนักการเมืองอาชีพ พล.อ.ประยุทธ์ใช้กลยุทธ์ 3 กลยุทธ์ในการจัดการภาพลักษณ์ทางการเมือง คือ 1)กลยุทธ์การใช้ลักษณะเด่นส่วนบุคคล แบ่งเป็นทหารเพื่อประชาชนและบ้านเมืองทหารเพื่อการยอมรับจากต่างชาติและความคาดหวังให้ประเทศดีขึ้นทหารเพื่อเป็นตัวแบบสร้างความคาดหวังของสังคมเรื่องความสามัคคีทหารที่ยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และทหารที่จงรักภักดีกับสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 2) กลยุทธ์การสื่อสารภาพลักษณ์ทางการเมือง คือเพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชน และเพื่อสร้างความรับรู้ให้เกิดพฤติกรรม 3)กลยุทธ์การปรับภาพลักษณ์ตามสถานการณ์แบ่งออกได้ 5 ประเด็น คือลักษณะความเข้มแข็งของพลเอกประยุทธ์ลักษณะความเสียสละความกล้าหาญและความเด็ดขาด ลักษณะความเป็นบุคคลและความตั้งใจจริง และลักษณะนักการเมืองอาชีพ |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2563 |
Subject(s): | ประยุทธ์ จันทร์โอชา, 2497- |
Keyword(s): | e-Thesis
ภาพลักษณ์ทางการเมือง |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 140 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5102 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|