• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • หน่วยงาน
  • สำนักบรรณสารการพัฒนา
  • In Processing
  • Dissertations, Theses, Term Papers
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • หน่วยงาน
  • สำนักบรรณสารการพัฒนา
  • In Processing
  • Dissertations, Theses, Term Papers
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

LoginRegister

Deliberative Democracy of Ban Ao Udom Community of Thung Sukhla Sub-District in Sriracha District, Chonburi Province

ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือของชุมชนบ้านอ่าวอุดม ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

by Suwita Mahma

Title:

Deliberative Democracy of Ban Ao Udom Community of Thung Sukhla Sub-District in Sriracha District, Chonburi Province
ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือของชุมชนบ้านอ่าวอุดม ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

Author(s):

Suwita Mahma

Contributor(s):

NIDA. School of Social and Environmental Development

Advisor:

Suvicha Pouaree

Degree name:

Master of Arts (Politics and Development Strategy)

Degree level:

Thesis

Degree discipline:

Politics and Development Strategy

Degree grantor:

National Institute of Development Administration

Issued date:

1/30/20

Publisher:

NIDA

Abstract:

Deliberative Democracy of Ban Ao Udom Community, Thung Sukla Subdistrict, Sriracha District, Chonburi Province is a qualitative research which has 3 objectives: 1) to study trends of the deliberative democracy in Ban Ao Udom community, Thung Sukla subdistrict, Sriracha district, Chonburi province; 2) to investigate conditions causing the deliberative democracy in Ban Ao Udom community; and 3) to study outcome of applying deliberative democracy in Ban Ao Udom community, Thung Sukla subdistrict, Sriracha district, Chonburi province. This research method which its data were collected from documents, relevant researches, and other information materials. Interview, non-participant observation with people in the area, and participant observation in the monthly meeting of representatives of the private port entrepreneurs in the area and the Environmental and Health Impact Audit Committee of the Port of Ban Ao Udom were also applied. The research found the deliberative democracy approach in Ban Ao Udom community in early stage was to adjust the ways to deal with problems caused by the port to the community, such as health and environmental problems. The tool called ‘4 Roo’ was created for promoting public discussion and understanding among each other. It was mainly aimed to find solutions and live together. The deliberative democracy in the early stage therefore was in the form of Issue Forums, discussion for identifying problems. After the Charter of Ban Ao Udom Community had been made, the committee was established to monitor and examine the operation of the port by opening public space for discussion in every month. Hence, the deliberative democracy in the second stage was about the community problem talking and looking for problem-solving approaches (Study Circles). In addition, the finding showed major conditions causing deliberative democracy in Ban Ao Udom community were: the impact of area development policy; which finally brought about conjoint discussion and problem solving, the good mechanisms for solving problems and shared goals between sides, politic and the community economic structure, the strength of core leaders in the community, the time-space provision, the trust-making among stakeholders, the geographical characteristics of the community, the reactions of the participant company, the permitting of the port owner for public examining done by the people in the community and the supports of external networks. All these conditions ultimately paved the way for the deliberative democracy in Ban Ao Udom Community.   Moreover, there were concrete outcomes of applying deliberative democracy in Ban Ao Udom community, such as Ban Ao Udom Community Welfare Fund, the establishment of the Environmental and Health Impact Audit Committee of the Port of Ban Ao Udom. There were value-outcomes happened from the deliberation, such as the extension of the scope of the term ‘Community’ that covered industrial ports in the area, strengthening of public politic to be a role model for other communities affected by the development, and rational discussion and hearing.      
การศึกษาวิจัยเรื่องประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือของชุมชนบ้านอ่าวอุดม ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นการศึกษาตามแนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวทางของประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือในชุมชนบ้านอ่าวอุดม ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือในชุมชนบ้านอ่าวอุดม และ 3) เพื่อศึกษาผลลัพธ์จากการใช้แนวทางประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือในชุมชนบ้านอ่าวอุดม ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ใช้วิธีการศึกษาโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสื่อสารสนเทศต่าง ๆ และใช้วิธีการสัมภาษณ์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล รวมถึงใช้วิธีการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมกับประชาชนในพื้นที่ และใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมในการประชุมปรึกษาหารือประจำเดือนระหว่างตัวแทนของผู้ประกอบการท่าเรือเอกชนในพื้นที่กับคณะกรรมการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากท่าเทียบเรือบ้านอ่าวอุดม จากการศึกษาพบว่าแนวทางของประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือที่เกิดขึ้นในชุมชนบ้านอ่าวอุดม ในช่วงแรก เป็นช่วงของการเริ่มต้นปรับเปลี่ยนวิธีจัดการกับปัญหาจากท่าเทียบเรือที่เกิดขึ้นในชุมชน เช่นปัญหาด้านสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม สร้างเครื่องมือขึ้นที่เรียกว่า 4 รู้ ขึ้นมาเพื่อให้เกิดการพูดคุยและรับฟังกัน มีเป้าหมายหลักเพื่อหาทางออกและอยู่ร่วมกัน โดยรูปแบบการปรึกษาหารือ ในช่วงแรกเป็นไปในแบบเวทีอภิปรายปัญหา (Issue Forums) และช่วงหลังจากการเกิดขึ้นของธรรมนูญชุมชนบ้านอ่าวอุดม มีลักษณะของการจัดตั้งกลุ่มคณะกรรมการเพื่อทำงานติดตามและตรวจสอบการทำงานของท่าเรือ สร้างพื้นที่ในการพูดคุยระหว่างการเป็นประจำทุกเดือน กล่าวคือ รูปแบบของประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือในช่วงที่ 2 เป็นไปในรูปแบบของการปรึกษาหารือแบบวงเสวนาปัญหาชุมชน (Study Circles) อีกทั้งจากการศึกษาพบว่าเงื่อนไขสำคัญที่ก่อให้เกิดประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือขึ้นในชุมชนบ้านอ่าวอุดมคือ ผลกระทบจากนโยบายการพัฒนาที่มีผลต่อชุมชนบ้านอ่าวอุดมที่ในที่สุดนำไปสู่กระบวนการนำปัญหามาพูดคุยและแก้ปัญหา  โครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมือง ร่วมกัน รวมถึงการมีเครื่องมือที่ดีและการมีเป้าหมายร่วมกัน ความเข้มแข็งของกลุ่มแกนนำ เงื่อนไขของระยะเวลา Time - space สร้าง Trust ลักษณะทางกายภาพของชุมชน ท่าทีของบริษัท และการเปิดท่าเรือให้คนในชุมชนสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ และประการสุดท้ายคือ เครือข่ายภายนอก ซึ่งมีผลต่อการเกิดขึ้นของประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ และผลลัพธ์จากประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือที่เกิดขึ้นในชุมชนบ้านอ่าวอุดม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม ตัวอย่างเช่น การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนบ้านอ่าวอุดมและการเกิดขึ้นของคณะกรรมการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากท่าเทียบเรือบ้านอ่าวอุดม และผลลัพธ์ที่แสดงออกมาในเชิงคุณค่าที่เกิดขึ้นจากกระบวนการปรึกษาหารือดังกล่าว ตัวอย่างเช่นการขยายขอบเขตของคำว่า “ชุมชน” ที่หมายรวมถึงท่าเรืออุตสาหกรรมภายในพื้นที่ด้วย อีกทั้งการสร้างความเข้มแข็งให้กับการเมืองภาคประชาชน เป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนา และคุณค่าที่เกิดจากการพูดคุยและรับฟังกันด้วยเหตุผล

Description:

NIDA, 2019

Subject(s):

Social Sciences

Keyword(s):

ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ, ชุมชนบ้านอ่าวอุดม,การอยู่ร่วมกันระหว่างท่าเรือพาณิชย์และชุมชน

Type:

Thesis

Language:

th

Rights holder(s):

NIDA

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5103
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
5810513001.pdf ( 4,490.44 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • Dissertations, Theses, Term Papers [137]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×