การประเมินการฝึกอบรมวิชาชีพโครงการสร้างชีวิตใหม่ให้สตรีและครอบครัว (หลักสูตร 44 วัน) : ศึกษากรณีศูนย์เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรณา บรมราชินีนาถ จังหวัดลำพูน
Files
Publisher
Issued Date
2016
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
170 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b195707
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ลักษณา อิศรางกูร ณ อยุธยา (2016). การประเมินการฝึกอบรมวิชาชีพโครงการสร้างชีวิตใหม่ให้สตรีและครอบครัว (หลักสูตร 44 วัน) : ศึกษากรณีศูนย์เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรณา บรมราชินีนาถ จังหวัดลำพูน. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5298.
Title
การประเมินการฝึกอบรมวิชาชีพโครงการสร้างชีวิตใหม่ให้สตรีและครอบครัว (หลักสูตร 44 วัน) : ศึกษากรณีศูนย์เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรณา บรมราชินีนาถ จังหวัดลำพูน
Alternative Title(s)
The evaluation of vocational training project for creating a new life for women and families (44 - day course : a case study of Lamphun Vocational Training Center in Honour of the Seventy - Second Birthday Anniversary of Her Majesty Queen Sirikit
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การประเมินการฝึกอบรมวิชาชีพโครงการสร้างชีวิตใหม่ให้สตรีและครอบครัว (หลักสูตร 44วัน) : ศึกษากรณีศูนย์เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ประเมิน ปัจจัยนำเข้า(Input) กระบวนการ (Process) ผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) และ 2) ศึกษา ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปรับปรุงโครงการ โดยนำ IPOO Model มาประยุกต์ใช้กับ กลุ่มตัวอย่างผู้สำเร็จการฝึกอบรมวิชาชีพโครงการสร้างชีวิตใหม่ให้สตรีและครอบครัว (หลักสูตร 44วัน) รุ่นประจำปี งบประมาณ 2557 จำนวน 390 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือหลักในการเก็บ รวบรวมข้อมูล โดยได้รับกลับคืนมาจำนวน 330 ชุด หรือคิดเป็นร้อยละ 84.6 จากจำนวนทั้งหมด ร่วมกับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In Depth Interview) ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 4 คน ในช่วงเดือน มีนาคม - พฤษภาคม 2558 สถิติที่นำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไป พบว่า กลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 98.2) มีอายุ ระหว่าง 51-60 ปี (ร้อยละ 32.4) ภูมิลำเนาเดิมอยู่ภาคเหนือ (ร้อยละ 99.1) สมรสแล้ว (ร้อยละ 79.4) มีบุตร 1 - 2 คน (ร้อยละ 64.8) ไม่ได้เรียน/ต่ำกว่าประถมศึกษา (ป.6) (ร้ อยละ 41.8) ครอบครัว มีอาชีพหลักรับจ้างทั่วไป (ร้อยละ 54.5) ก่อนเข้ารับการฝึ กอบรมมีอาชีพรับจ้างทั่วไป (ร้อยละ 53.6) มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท (ร้อยละ 80.6) และมีรายได้ไม่เพียงพอ (ร้อยละ 81.2) มีช่องทางการรับรู้ โครงการฝึกอบรมวิชาชีพของศูนย์ฯ จากเพื่อน (ร้อยละ 37.0) โดยเลือกหลักสูตรฝึกอบรมใน 11 หลักสูตร โดยมีความรู้ความชำนาญก่อนเข้ารับการฝึกอบรมในระดับปานกลาง(ร้อยละ 40.6) ต้องการนำความรู้ไปประกอบอาชีพหลัก/รอง เพื่อเพิ่มรายได้ (ร้อยละ 72.1) และคาดหวังต่อการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ ในการประกอบอาชีพเสริม (ร้อยละ 54.2) ผลการประเมินการฝึกอบรมวิชาชีพโครงการสร้างชีวิตใหม่ให้สตรีและครอบครัว (หลักสูตร 44วัน) พบว่า ในภาพรวมโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยรวม 3.83) ด้านกระบวนการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เป็นลำดับแรก (ค่าเฉลี่ย 3.87) รองลงมาด้านปัจจัยนำเข้า (ค่าเฉลี่ย 3.86) ด้านผลผลิต (ค่าเฉลี่ย 3.85) และด้านผลลัพธ์ (ค่าเฉลี่ย 3.80) ตามลำดับ ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา ระดับนโยบาย ได้แก่ 1) ควรมีการทบทวนค่าตอบแทนของ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมในโครงการฯ ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน 2) ควรมีการกำหนดราคา ค่าวัสดุอุปกรณ์ในแต่ละหลักสูตรให้มีความแตกต่างกันและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง 3) ควรมีการปรับเพิ่มค่าวิทยากรให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการจ้างงานภายนอก และ 4) จังหวัดลำพูนยังเป็นสังคมเมืองที่สงบสุข ผู้คนมีวิถีชีวิตพอเพียง หน่วยงานรัฐควรจัดสรรงบประมาณ เพื่อรับสตรีเข้าฝึกอบรมวิชาชีพเพิ่มขึ้น เพื่อได้มีความรู้และทักษะนำไปใช้ประกอบอาชีพ มีรายได้ เลี้ยงตนเองและครอบครัว มีคุณภาพและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ช่วยลดอัตราการย้ายไปทำงานต่างถิ่น การประกอบอาชีพไม่เหมาะสม ข้อเสนอแนะในระดับปฏิบัติ 1) ควรปรับลดจำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม หลักสูตรละไม่เกิน 15 คน 2) ควรสนับสนุนให้มีการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มระยะเวลาการ ฝึกอบรมสำหรับผู้ที่จะนำความรู้ ไปประกอบอาชีพเพื่อจะได้มีทักษะและประสบการณ์มากขึ้น 3) ควรจัดอบรมให้ความรู้ด้านบริหารจัดการ การตลาด ทักษะใหม่ ๆ และการศึกษาดูงานนอกสถานที่ แก่ผู้สำเร็จการฝึกอบรมที่จะนำความรู้ไปประกอบอาชีพ 4) เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องควรได้รับการพัฒนา ศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนความรู้กับหน่วยงานที่ให้บริการด้านการฝึกอาชีพ 5) ควรจัดหาตลาดหรือ สถานที่จำหน่ายให้แก่ผู้สำเร็จการฝึกอบรมหรือกลุ่มอาชีพ 6) ควรสนับสนุนเงินทุนประกอบอาชีพ เพื่อซื้อวัสดุอุปกรณ์และเงินทุนหมุนเวียนให้เป็ นรายบุคคลหลังเสร็จสิ้นการฝึกอบรม 7) หลักสูตรที่เปิดฝึกอบรมควรมีการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและเหมาะสมกับ สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และ 8) สนับสนุนให้ผู้สำเร็จการฝึกอบรมรวมกลุ่มกันประกอบอาชีพ ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป 1) ควรทำการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อติดตามผล ผู้สำเร็จการฝึกอบรมด้านการนำความรู้ไปใช้ประกอบอาชีพและทัศนคติในการประกอบอาชีพของ สตรีชนบทภาคเหนือ และ 2) การประเมินครั้งต่อไป ควรใช้เครื่องมือชนิดอื่น ๆ เช่น แบบวัดความรู้ แบบวัดเจตคติ หรือแบบวัดการปฏิบัตินอกเหนือจากแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เพื่อที่จะได้ คำตอบเชิงลึกยิ่งขึ้น
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559