การจัดการสวัสดิการชุมชนของคนจนเมือง : กรณีศึกษาชุมชนรุ่งมณีพัฒนา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร
Files
Publisher
Issued Date
2016
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
172 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b194294
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ลิสา ใจสะอาด (2016). การจัดการสวัสดิการชุมชนของคนจนเมือง : กรณีศึกษาชุมชนรุ่งมณีพัฒนา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5337.
Title
การจัดการสวัสดิการชุมชนของคนจนเมือง : กรณีศึกษาชุมชนรุ่งมณีพัฒนา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร
Alternative Title(s)
Community welfare management of the urban poor: a case study of Rungmaneepattana Community Wang Thonglang Bangkok
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วัตถุประสงค์ของการศึกษาเรื่องการจัดการสวัสดิการชุมชนของชุมชนรุ่งมณีพัฒนา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร มีดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการจัดการสวัสดิการชุมชนของชุมชนรุ่งมณีพัฒนา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการสวัสดิการชุมชนของชุมชนรุ่งมณีพัฒนา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกเพื่อให้ได้ข้อมูลตาม วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ กลุ่มเป้าหมายคือ ประธาน กรรมการ สมาชิกในชุมชน สมาชิกกองทุน ต่างๆ ของชุมชน ผู้สูงอายุ หน่วยงานภาคีภายนอกที่ให้การสนับสนุน ตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวข้องใน การจัดการสวัสดิการชุมชน ผลการศึกษาพบว่าการจัดสวัสดิการชุมชนของชุมชนรุ่งมณีพัฒนาประสบความสำเร็จ พอสมควร ดังจะเห็นได้จากความสำเร็จของการจัดสวัสดิการกองทุนชุมชนที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม ด้านการบริหารจัดการสถาบันการเงินชุมชนดีเด่นประจำปี 2556 และได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับประจำปี 2557 โดยผ่านการคัดเลือกจากสถาบันการเงินชุมชนทั่วประเทศที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารออมสิน นอกจากนี้กองทุนสวัสดิการชุมชนยังคงดำรงอยู่ และมีแนวโน้ม การเจริญเติบโตที่ดี สมาชิกต่างได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการออม จึงชักจูงคนรู้จักเข้ามาร่วม ในกองทุนต่างๆ ของชุมชน ทำให้จำนวนสมาชิกของสถาบันการเงินของชุมชนรุ่งมณีพัฒนาเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มที่จะมีเงินสะสมเพิ่มมากขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ก่อนวัยเรียนของชุมชนรุ่งมณีพัฒนามีมาตรฐานการเรียน มีความมั่นคงและได้รับการสนับสนุนที่ดี จากสำนักงานการประถมเขตพื้นที่การศึกษาและสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จึงทำให้ ผู้ปกครองมีความมั่นใจในการนำบุตร-หลานมาเข้าเรียน ด้านชมรมผู้สูงอายุของชุมชน แม้ว่าจะ จัดตั้งขึ้นได้ไม่นาน แต่เพราะความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกในชุมชนและการมีผู้นำที่เข้มแข็ง ทำให้มีผู้สูงอายุจำนวนมากเข้าร่วมและสมัครเป็นสมาชิก นอกจากนี้การรวมกลุ่มเพื่อประกอบอาชีพ ของผู้สูงอายุยังส่งผลดีและสามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน โดยปัจจัยที่ส่งผลให้การจัดการ สวัสดิการชุมชนรุ่งมณีพัฒนาประสบความสำเร็จมีดังนี้ 1) ความสัมพันธ์ทางสังคมภายในชุมชน 2) ภาวะผู้นำของผู้นำชุมชน 3) การมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน และ 4) การได้รับการสนับสนุน จากหน่วยงานภายนอก
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559