• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และแนวทางการพัฒนาการป้องกันพื้นที่ป่าไม้ในอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

by สุนี ลำสา

Title:

ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และแนวทางการพัฒนาการป้องกันพื้นที่ป่าไม้ในอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Other title(s):

Land use change factors and forest protection guidelines in Huai Yang Waterfall National Park, Prachuap Khiri Khan

Author(s):

สุนี ลำสา

Advisor:

ฆริกา คันธา

Degree name:

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การจัดการสิ่งแวดล้อม

Degree department:

คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2016

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2016.63

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) กำหนดขอบเขตพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินใน อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง 2) วิเคราะห์ปัจจยัที่มีผลต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินในอุทยานแห่งชาติ น้ำตกห้วยยาง 3)ศึกษาข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจและสังคมจากประชาชนในพื้นที่ศึกษาและ 4) นำเสนอแนวทางการพัฒนาและการป้องกันการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งแบ่งวิธีการศึกษาออกเป็ น 2 ส่วน ได้แก่การศึกษาลักษณะข้อมูลด้านกายภาพ โดยการนำระบบภูมิสารสนเทศมาประยุกต์ใน การแปลตีความภาพถ่ายทางอากาศ ปีพ.ศ. 2537 และภาพถ่ายดาวเทียม ปีพ.ศ. 2558 ด้วยสายตา ร่วมกับการสำรวจข้อมูลภาคสนาม เพื่อตรวจสอบความถูกต้องในการแปลภาพ จากนั้น จึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และพื้นที่เสี่ยง สำหรับการศึกษาในส่วนที่สองนั้นเป็นการศึกษาข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยการเก็บแบบสอบถามจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบพื้นที่ศึกษาที่ได้ทำการขยายแนวเขต (Buffer) ออกไป 5 กิโลเมตร เมื่อรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์แบบสอบถามตามสถิติเรียบร้อยแล้ว จึงนำข้อมูลทั้งสองส่วนมา ศึกษาร่วมกัน เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาและการป้องกัน พื้นที่ที่เหมาะสม ผลการศึกษา พบว่า พื้นที่ป่าไม้เปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรม 9,780 ไร่ เปลี่ยนเป็น แหล่งน้ำ 688 ไร่ เปลี่ยนเป็นสิ่งปลูก สร้าง 94 ไร่และเปลี่ยนเป็นถนน 77 ไร่โดยพื้นที่ที่มีระยะห่างจากแหล่งน้ำ สิ่งปลูกสร้างและถนน น้อยจะมีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินมากกว่าพื้นที่ที่อยู่ไกลออกไป และพื้นที่ที่มีความลาดชันต่า จะมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินมากกว่าพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง สำหรับผลการศึกษาข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคมน้ัน พบว่า เจ้าหน้าที่ทุกรายรับทราบแนวเขต พื้นที่อุทยานแห่งชาติและมีความเห็นว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชาชนใช้ประโยชน์ที่ดินมากที่สุดคือ เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่ามีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับ พื้นที่ที่ต้องรับผิดชอบทำให้ดูแลไม่ทั่วถึง ในขณะ ที่ประชาชนส่วนใหญ่น้ันรับทราบแนวเขตแค่บางช่วง และมีความเห็นว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชาชนใช้ประโยชน์ที่ดินมากที่สุดคือแนวเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ยังไม่มีความชัดเจน เมื่อนำข้อมูล ทั้งหมดมาพิจารณาแล้ว สามารถเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาและการป้องกัน ได้ดังนี้1) พัฒนา ศักยภาพในการทำงานของเจ้าหน้าที่ 2) แบ่งโซนพื้นที่ตามระดับความเสี่ยง 3) ตรวจสอบ พิสูจน์ สิทธิพื้นที่ถือครองของประชาชนรอบพื้นที่อุทยานฯ 4) พัฒนาระบบการจัดการทรัพยากรร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานและประชาชนในพื้นที่ 5) พัฒนาระบบการทำงานให้มีความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใสตรวจสอบได้

Description:

วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559

Subject(s):

อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
ป่าไม้ -- การใช้ประโยชน์
ที่ดิน -- ไทย -- ประจวบคีรีขันธ์

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

134 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5349
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b194270.pdf ( 4,913.66 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSEDA: Theses [92]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×