ปัญหาทางกฎหมายในงานดนตรีกรรมตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ศึกษากรณีการเรียบเรียงเพลงขึ้นใหม่
Files
Publisher
Issued Date
2016
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
148 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b194160
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
อัจฉริยาพร ชัยชนะ (2016). ปัญหาทางกฎหมายในงานดนตรีกรรมตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ศึกษากรณีการเรียบเรียงเพลงขึ้นใหม่. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5473.
Title
ปัญหาทางกฎหมายในงานดนตรีกรรมตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ศึกษากรณีการเรียบเรียงเพลงขึ้นใหม่
Alternative Title(s)
Legal problem about the musical work in the copyright Act B.E. 2537: the covered song
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาในเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาขอบเขตการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานเพลงที่ เรียบเรียงขึ้นใหม่ (Covered Song) 2. ศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ใน งานเพลงต้นฉบับ และงานเพลงที่เรียบเรียงขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 3. เสนอ แนวทางการตีความการอนุญาตให้ใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 โดยศึกษา องค์ประกอบของเพลง การดัดแปลงเพลง การอนุญาตให้ผู้อื่นใช้เพลง ขอบเขตการตีความพระราช บัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 โดยที่วงการเพลงมีความเปลี่ยนแปลงในด้านของการเผยแพร่ กล่าวคือ เดิมค่ายเพลงจะเป็น ผู้ผลิตเพลงและเป็นผู้เผยแพร่เพลงสู่สาธารณชน จนปี พ.ศ.2549 เรื่อยมามีการเข้าถึงเทคโนโลยี อินเตอร์เนตได้โดยง่ายและกว้างขวาง ผู้คนสามารถนําเพลงต้นฉบับมาดัดแปลงรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง โดยที่ไม่มีการขออนุญาตเจ้าของงานเพลงอันมีลิขสิทธิ์และเผยแพร่ผ่านเทคโนโลยีอินเตอร์เนตได้ โดยง่าย และได้รับผลตอบแทนไม่ว่าทางด้านความมีชื่อเสียง ค่าตอบแทนเป็นเงินจากการมีโฆษณา การได้เข้าสู่วงการเพลงอย่างแท้จริง เป็นต้น การนําเพลงมาเรียบเรียงใหม่ (Cover) โดยไม่จ่าย ค่าตอบแทนให้เจ้าของลิขสิทธิ์นั้น ส่งผลกระทบในด้านลบกับเจ้าของลิขสิทธิ์ ทั้งในด้านรายได้และ ด้านความนิยมในตัวศิลปินต้นฉบับ แต่กับตัวผู้ที่นําเพลงมาเรียบเรียงขึ้นใหม่ กลับส่งผลในด้านบวก หรืออย่างน้อยที่สุดก็ไม่ได้เสียหายแต่อย่างใด เพราะไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนให้กับเจ้าของลิขสิทธิ์อยู่แล้ว ประเด็นความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของเพลงที่เรียบเรียงใหม่ (Cover Version) จึงมีความสําคัญต่อ อุตสาหกรรมเพลงไทยอย่างมาก เพราะจะนํามาซึ่งขอบเขตของผู้ที่จะนําเพลงที่เรียบเรียงใหม่ สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้เพียงใดจึงจะเป็นการเคารพในธรรมสิทธิ (Moral Right) ของเจ้าของ ลิขสิทธิ์ที่แท้จริง จึงเกิดปัญหาทางกฎหมายว่าในประเด็นความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในเพลงที่เรียบเรียง ใหม่ (Cover Version) และประเด็นการคุ้มครองเจ้าของลิขสิทธิ์ในเพลงต้นฉบับ (Original) โดยมี การศึกษาแนวคิดและการพิจารณาของประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ และนํามา เปรียบเทียบกับแนวคิดและการพิจารณาของประเทศไทย
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559