อิทธิพลของการอ่านสารชักจูงและการเขียนสนับสนุนที่มีต่อความตั้งใจที่จะแสวงหาความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมเป็นผู้สูงวัยที่มีสุขภาพดีของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
by ณัฐนันท์ คงยิ่งใหญ่
Title: | อิทธิพลของการอ่านสารชักจูงและการเขียนสนับสนุนที่มีต่อความตั้งใจที่จะแสวงหาความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมเป็นผู้สูงวัยที่มีสุขภาพดีของนักศึกษาระดับปริญญาตรี |
Other title(s): | Effects of persuasive message and supportive writing on intentionto explore knowledge for healthy aging preparation in undergraduate students |
Author(s): | ณัฐนันท์ คงยิ่งใหญ่ |
Advisor: | ดุจเดือน พันธุมนาวิน |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การบริหารการพัฒนาสังคม |
Degree department: | คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2021 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2021.47 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
งานวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัย Post Test Only With Control Group Design ในนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 ที่ศึกษาในสาขาสังคมศาสตร์และสาขาครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏที่ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือ จำนวน 3 แห่ง จำนวนรวม 512 คน เป็นเพศชาย 112 คน (ร้อยละ 21.90) และเพศหญิง 400 คน (ร้อยละ 78.10) สาขาสังคมศาสตร์ จำนวน 244 คน (ร้อยละ 47.70) และสาขาครุศาสตร์ จำนวน 268 คน (ร้อยละ 52.30) ทำการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ลำเอียง (Random Assignment) เป็นการนำเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบอื่น ๆ โดยให้มีคุณสมบัติด้านต่าง ๆ เท่าเทียมกัน เพื่อให้กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคุณสมบัติไม่แตกต่างกัน และใช้เทคนิคการสุ่มแบบการนับเลข แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม โดยผู้ที่ได้หมายเลข 1 เป็นกลุ่มนักศึกษาที่ได้อ่านสารชักจูงและเขียนสนับสนุน (n=138) ผู้ที่ได้หมายเลข 2 เป็นกลุ่มนักศึกษาที่อ่านสารควบคุมและเขียนสนับสนุน (n=132) ผู้ที่ได้หมายเลข 3 เป็นกลุ่มนักศึกษาที่อ่านสารชักจูงและเขียนควบคุม (n=123) และผู้ที่ได้หมายเลข 4 เป็นกลุ่มนักศึกษาที่อ่านสารควบคุมและเขียนควบคุม (n=119) หลังจากที่ได้รับการจัดกระทำแล้ว ให้ตอบแบบวัดตรวจสอบการจัดกระทำ และตอบคำถามในแต่ละตัวแปร
ตัวแปรในการวิจัยนี้ประกอบด้วย 6 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มตัวแปรจัดกระทำ คือ การอ่านสารชักจูง และการได้เขียนสนับสนุน 2) กลุ่มตัวแปรตาม คือ ทัศนคติต่อการแสวงหาความรู้ และความพร้อมที่จะแสวงหาความรู้ 3) กลุ่มตัวแปรจิตลักษณะเดิม คือ การประเมินแก่นแห่งตน ทุนทางจิตวิทยา และลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน 4) กลุ่มตัวแปรสถานการณ์สมทบ คือ การรับรู้ปทัสถานทางสังคม การเห็นแบบอย่างจากคนรุ่นก่อน และการรับรู้ประสบการณ์ทางอ้อม และ 5) กลุ่มตัวแปรลักษณะชีวสังคมภูมิหลัง
ผลการวิจัยที่สำคัญมี ดังนี้ ประการแรก พบว่า นักศึกษาที่ได้อ่านสารชักจูง เขียนสนับสนุน และมีการรับรู้ประสบการณ์ทางอ้อมมาก มีความพร้อมที่จะแสวงหาความรู้มากกว่า นักศึกษาที่ไม่ได้อ่านสารชักจูง ไม่ได้เขียนสนับสนุน และมีการรับรู้ประสบการณ์ทางอ้อมน้อย ประการที่สอง ปัจจัยด้านจิตลักษณะเดิมร่วมกับด้านสถานการณ์สมทบ รวมเป็น 6 ตัวแปร สามารถทำนาย 1) ทัศนคติต่อการแสวงหาความรู้ ได้ 41.91% ซึ่งตัวทำนายที่สำคัญเรียงจากมากไปน้อย คือ ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน การรับรู้ปทัสถานทางสังคม ทุนทางจิตวิทยา และการเห็นแบบอย่างจากคนรุ่นก่อน และ 2) ความพร้อมที่จะแสวงหาความรู้ ได้ 43.00% ซึ่งตัวทำนายที่สำคัญเรียงจากมากไปน้อย คือ การรับรู้ปทัสถานทางสังคม ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน ทุนทางจิตวิทยา และการเห็นแบบอย่างจากคนรุ่นก่อน
สำหรับข้อเสนอแนะในการวิจัย พบว่า สารชักจูงในงานวิจัยนี้ มีประสิทธิผลในการเปลี่ยนทัศนคติและความพร้อมที่จะตั้งใจที่จะแสวงหาความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมเป็นผู้สูงวัยที่สุขภาพดี ดังนั้น หน่วยงานที่ต้องการส่งเสริมด้านการเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้สูงวัยที่สุขภาพดีต่อเยาวชนคนรุ่นใหม่ สามารถใช้สารชักจูงนี้ซึ่งมีความยาวไม่มาก มีเนื้อความที่กระชับ เข้าใจง่าย และใช้เวลาไม่นานในการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายประกอบกับกิจกรรมอื่น ๆ ได้ นอกจากนี้ ควรทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาปริญญาตรีในชั้นปีที่ 1 2 และ 4 ด้วย เพื่อดูประสิทธิผลของสารชักจูงนี้ อีกทั้งควรมีการจัดกระทำรูปแบบอื่น ๆ ในการชักจูงเยาวชน และควรมีการทำวิจัยเชิงทดลองเพื่อประเมินผลด้วย รวมทั้งอาจจะมีการศึกษาตัวแปรอื่นเพิ่มเติม ที่คาดว่าจะมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจที่จะแสวงหาความรู้เพื่อเตรียมพร้อมเป็นผู้สูงวัยที่สุขภาพดี เช่น ทุนทางจิตวิทยา ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน การรับรู้ประสบการณ์ทางสังคม และการเห็นแบบอย่างจากคนรุ่นก่อน เป็นต้น เพื่อให้ผลการวิจัยมีความชัดเจนสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถตอบคำถามการวิจัยให้ครอบคลุมและน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ในการทำวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการทำวิจัยในเชิงคุณภาพควบคู่ไปด้วยและควรมีการทำวิจัยในระยะยาว โดยมีการวัดผลการจัดกระทำการชักจูงเป็นระยะและควรทำการทดลองกับเยาวชนในทุกภาค เพื่อจะได้ประสิทธิผลของการทดลองที่ชัดเจนยิ่งขึ้น |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2564 |
Subject(s): | ความตั้งใจ
ผู้สูงอายุ |
Keyword(s): | e-Thesis
วิทยานิพนธ์ได้รับรางวัล วิทยานิพนธ์ได้รับรางวัลประจำปี 2565 วิทยานิพนธ์รางวัลดี สารชักจูง การแสวงหาความรู้ การเตรียมความพร้อม |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 179 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5559 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|