การเคลื่อนไหวทางสังคมโดยกลุ่มนักศึกษาขบวนการประชาธิปไตยใหม่
by ณัฐฐินันท์ นันทะเสนา
Title: | การเคลื่อนไหวทางสังคมโดยกลุ่มนักศึกษาขบวนการประชาธิปไตยใหม่ |
Other title(s): | Social movements of the student group called "New Democracy Movement" |
Author(s): | ณัฐฐินันท์ นันทะเสนา |
Advisor: | สุวิชา เป้าอารีย์ |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา |
Degree department: | คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม |
Issued date: | 2020 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2020.50 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาวิจัยเรื่องการเคลื่อนไหวทางสังคมโดยกลุ่มนักศึกษาขบวนการประชาธิปไตยใหม่ เป็นการศึกษาตามแนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาเงื่อนไขที่นำมาสู่การรวมกลุ่มของนักศึกษากลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่ 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการเคลื่อนไหวและการดำเนินงานของกลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่ และ 3) เพื่อศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของกลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ใช้วิธีการศึกษาโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสื่อสารสนเทศต่าง ๆ และใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกสมาชิกกลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล รวมถึงใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมและการเคลื่อนไหวของขบวนการประชาธิปไตยใหม่
จากผลการศึกษาพบว่า การรวมกลุ่มของนักศึกษากลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่มีเงื่อนไขมาจากลักษณะทางด้านการเมืองและทางสังคม โดยสมาชิกกลุ่มมีแนวคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองที่ชัดเจน โน้มเอียงไปทางแนวคิดประชาธิปไตย โดยมีจุดร่วมที่สำคัญที่สุดของกลุ่มคือ ระบบการเมืองควรเป็นไปตามกระบวนการทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย และไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขปัญหาวิกฤตทางการเมืองโดยวิธีลัด และยังมองว่าการรัฐประหารเป็นการลิดรอนสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของคนในประเทศ รวมถึงเป็นการละเมิดและส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนของประชาชน อีกทั้งการรัฐประหารคือหัวใจสำคัญที่นำไปสู่การไม่เป็นประชาธิปไตย ก่อให้เกิดความไม่ยุติธรรมทางสังคม ส่งผลต่อการขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในสังคม รวมถึงเป็นการเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจทางการเมืองโดยไม่เป็นไปตามหลักการสันติวิธี ทั้งนี้การทำงานของกลุ่มยึดหลัก 5 ประการ ได้แก่ หลักประชาธิปไตย หลักความยุติธรรม หลักการมีส่วนร่วม หลักสิทธิมนุษยชน และหลักสันติวิธี โดยการเคลื่อนไหวและการดำเนินงานของกลุ่มมีลักษณะรูปแบบที่เป็นไปตามแนวทางการเคลื่อนไหวต่อสู้ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ที่ว่าด้วยการเคลื่อนไหวต่อสู้ตามช่องทางระบบการเมืองปกติ โดยเป็นวิธีการที่อยู่ในระดับของการยอมรับได้หรืออยู่ในบรรทัดฐานของสังคมประชาธิปไตยสมัยใหม่ เช่น การจัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มและเครือข่ายอื่น ๆ เกี่ยวกับประเด็นที่กลุ่มสนใจ การเดินขบวน การร่วมลงชื่อในกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ในเชิงการต่อต้านการรัฐประหาร ทั้งนี้ยังมีการเคลื่อนไหวโดยใช้สื่อออนไลน์ เช่น Facebook Twitter และ YouTube ในการเผยแพร่สื่อและข่าวสารต่าง ๆ ของกลุ่ม รวมทั้งการจัดทำหนังสือพิมพ์ ก้าวข้าม ซึ่งเป็นเอกสารข้อมูลที่นำเสนอเกี่ยวกับผลกระทบของการทำรัฐประหาร อย่างไรก็ตาม ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของกลุ่มที่เกิดขึ้น มีทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน โดยปัจจัยภายนอก ได้แก่ 1) การตรวจสอบและควบคุมจากรัฐบาลคสช. 2) การนำข้อมูลเท็จจากฝ่ายตรงข้ามมาโจมตี และปัจจัยภายใน ได้แก่ 1) การสื่อสารภาษาอังกฤษในระดับสากลที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ 2) รูปแบบกิจกรรมไม่มีความน่าสนใจและยังไม่มีความคิดสร้างสรรค์ออกแบบกิจกรรมให้หลากหลาย 3) การไม่มีมวลชนในการสนับสนุนทำกิจกรรมที่มากพอ 4) การยึดวัฒนธรรมปัจเจกบุคคลที่มากเกินไปของสมาชิกในกลุ่ม และ 5) ปัญหาการใช้สื่อออนไลน์ในระยะยาว |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2563 |
Subject(s): | การเคลื่อนไหวทางสังคม
ขบวนการทางสังคม |
Keyword(s): | ขบวนการประชาธิปไตยใหม่
New democracy movement e-Thesis |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 93 แผ่่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5645 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|