ประสิทธิภาพและปัจจัยความสำเร็จของตลาดอนุพันธ์ทางการเงินในเอเชีย
Files
Publisher
Issued Date
2015
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
102 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b193381
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ตฤณ สิทธิสวัสดิ์ (2015). ประสิทธิภาพและปัจจัยความสำเร็จของตลาดอนุพันธ์ทางการเงินในเอเชีย. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5722.
Title
ประสิทธิภาพและปัจจัยความสำเร็จของตลาดอนุพันธ์ทางการเงินในเอเชีย
Alternative Title(s)
The efficiency and success factors of financial derivatives markets in Asia
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
งานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงประสิทธิ ภาพและปัจจัยความสำเร็จของตลาดอนุพันธั ทางการเงินในเอเชีย 6 ประเทศ ได้แก่ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์เกาหลใต้ ญี่ปุน และ ฮ่องกง โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ประสิทธิภาพของตลาดอนุพันธ์ ทางการเงินในเอเชียและปัจจัยความสำเร็จของอนุพันธ์ทางการเงินในเอเชีย เพื่อใช้ในการกำหนดทิศทางในการพัฒนาตลาดอนุพันธ์ ทางการเงินของไทยให้มีประสิทธิภาพและสามารถสนับสนุนการพัฒนาของตลาดทุนไทย ในส่วนแรกได้วัดประสิทธิภาพของตลาดอนุพันธ์ทางการเงินของกลุ่มประเทศดังกล่าว ใน 3 แง่มุมได้แก่ประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยง พฤติกรรมการเคลื่นไหวของราคา อนุพนธ์และความสัมพันธ์ ระหว่างตลาดอนุพันธ์ ทางการเงืนและตลาดสินค้ าอ้างอิงโดยใช้ข้อมูล ราคาของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดัชนีหลักทรัพย์ และดัชนีหลักทรัพย์ อ้างอิงในช่วง พ.ศ. 2553 – 2557 ด้วยวิธีการวิ เคราะห์ทางสถิติ 3วิธีได้แก่ วิธิ Minimum Variance Model, Variance Ratio และ Vector Error Correction Model ผลการศึกษาพบว่าตลาดอนุพันธ์ ในทุกประเทศที่ทําการศึกษามีพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาอนุพนธ์เป็นแบบสุ่ม ซึ่งแสดงให้เห็นความมีประสิทธิภาพของตลาดในระดับ Weak Form ทำให้ไม่สามารถใช้ข้อมูลในอดีตมาทำกำไรอย่างสม่ำเสมอได้แต่เมื่อเปรียบเทียบแล้ว ตลาดอนุพันธ์ของประเทศญี่ปุ่นเป็นตลาดที่มีประสิทธิ ภาพสูงที่สุด โดยมีประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงในระดับสูงและการปรับตัวของ ความสัมพันธ์ระหว่างตลาดอนุพนธ์และตลาดสินค้าอ้างอิงที่เร็วที่สุดในกลุ่มประเทศที่ทำการ ทดสอบ รองลงมาคอตลาดอนุพันธ์ของประเทศสิงคโปร์ในขณะที่ตลาดอนุพนธ์ของไทยอยู่ใน ลําดับที่ห้า และลําดับสุดท้ายคือตลาดอนุพนธ์ของประเทศมาเลเซียที่ประสิทธิภาพต่ำกว่า ประเทศอันที่ทำาการศึกษา ดังนั้น ในการใช้อนุพันธ์เพื่อป้องกันความเสี่ยงในระยะสิ้นสามารถทำได้ยกเว้นในประเทศมาเลเซีย ซึ่งอาจต้องมีระยะเวลาในการป้องกันความเสี่ยงที่มากพอในส่วนที่สองมีปัจจัยที่เสี่ยงผลต่อความสําเร็จของอนุพันธ์ทางการเงิน โดยรวบรวม ข้อมูลเป็นแบบอนุกรมภาคตัดขวางของอนุพันธ์ แต่ละตัว ตั้งแต่เริ่มเปิดให้ทำการซื้อขายจากนนั้น จึงนำมาวิเคราะห์ด้วยสมการถดถอยตามวิธี Panel Regression เพื่อหาแบบจำลองที่เหมาะสมที่สุด ได้ผลลัพธ์จากการศึกษาว่าปัจจัยที่มีผลต่อความสาเร็จของอนุพันธ์ทางการเงินในเอเชียคือ ขนาดของตลาดสินค้าอ้างอิง สภาพคล่องของตลาดสิ้นค้าอ้างอิง อายุของอนุพันธ์และอนุพันธ์ที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยทในตลาดอนุพันธ์ ทางการเงินของไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์นั้น ผลการศึกษาแสดงพิ่มเติมว่า ช่วงราคาเสนอซื้อขายขั้นต่ำและความเป็นอนุพันธ์ชนิดแรกที่มีการซื้อขายในตลาดส่งผลต่อปริมาณการซื้อขายของอนุพันธ์ทางการเงินอย่างมีนัยสำคัญ
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์การเงิน))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558