การมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานของผู้สูงอายุไทย กรณีศึกษาเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ และปัจจัยแวดล้อม
Files
Publisher
Issued Date
2016
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b193382
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
วิภู สังข์สาย (2016). การมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานของผู้สูงอายุไทย กรณีศึกษาเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ และปัจจัยแวดล้อม. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5723.
Title
การมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานของผู้สูงอายุไทย กรณีศึกษาเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ และปัจจัยแวดล้อม
Alternative Title(s)
Labor force participation of the Thai elderly : the case study of the affect from elderly pension and environmental factor
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
จากการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสูงอายุส่งผลให้มีสัดส่วนผู้สูงอายุอยู่ในกำลังแรงงานเพิ่มขึ้น แต่ถ้ามีปัจจัยที่ทําให้ผู้สูงอายุออกจากกำลังแรงงานมากขึ้นอาจทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้นําไปสู่ประเด็นหลักของการศึกษานี้คือเพื่อศึกษาผลกระทบจากการได้รับเงิน สงเคราะห์เพื่อการยั้งชีพสําหรับผู้สูงอายุ และปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่มีต่อการมีส่วนร่วมในกำลัง แรงงานของผู้สูงอายไทยโดยได้ประยุกต์ แนวคิดด้านอุปทานแรงงานของสำนักนีโอคลาสสิคเขากับตัวแปรการได้รับเงินสงเคราะห์เพื่อการยั้งชีพสำหรับผู้สูงอายุ มีกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายเป็นประชากร ไทยจากทั่วทั้งประเทศที่มีอายุระหว่าง 60 – 99 ปีในปี 2555 จํานวน 2,699 คน จากข้อมูลการสํารวจเพื่อติดตามภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (โดยใช้ตัวอย่างซ้ำ ) เก็บรวบรวมโดย สํานักงานสถิติแห่งชาติปี 2550 และปี 2555 แบ่งการศึกษาออกเป็นสองส่วน คือ วิเคราะห์ คุณลักษณะพื้นฐานเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่อยู่ในและนอกกำลังแรงงาน และ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพสำหรับผู้สูงอายุกับการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานของกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุด้วยแบบจำลองโพรบิต และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ระหว่างการได้รับเงินสงเคราะห์เพื่อการยั้งชีพสำหรับผู้สูงอายุกับจำนวนชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อ สัปดาห์ของกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุด้วยแบบจําลองโทบิต จากการศึกษาพบว่าการได้รับเงิน สงเคราะห์เพื่อการยั้งชีพสำหรับผู้สูงอายุส่งผลกระทบในเชิงลบต่อการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานและจำนวนชี่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์ของกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60 – 69 ปี ในปี 2555 แต่ไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสําคญทางสถิติต่อกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 70 – 99 ปี โดย ปัจจัยด้านสุขภาพ การเงิน และการเข้าถึงงาน เป็นปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่มีนับสำคัญทางสถิติ
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (พัฒนาการเศรษฐกิจ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559