ปัจจัยพื้นฐานทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองทีมีผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
by วไลพร เลี้ยงพันธุ์สกุล
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยพื้นฐานทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองทีมีผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Social, economic and political factors affecting community strength of Phra Nakhon Si Ayutthaya District Phra Nakhon Si Ayutthaya Province |
ผู้แต่ง: | วไลพร เลี้ยงพันธุ์สกุล |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | สุรสิทธิ์ วชิรขจร |
ชื่อปริญญา: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
สาขาวิชา: | การบริหารการพัฒนาสังคม |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
การวิจัย มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความเข้มแข็งของชุมชน (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยพื้นฐานทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง กับความเข้มแข็งของชุมชน โดยมีการศึกษาหมู่บ้านตามเขตการปกครองท้องที่ในอําเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณ ผลการวิจัย พบว่า ความเข้มแข็งของชุมชนอําเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยพื้นฐานทางสังคม ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ และปัจจัยพื้นฐานทางการเมือง มีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งของชุมชนในระดับปานกลาง มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.606, 0.705 และ 0.718 ตามลําดับ ปัจจัยพื้นฐานทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง สามารถร่วมกันทํานายความเข้มแข็งของชุมชนอําเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร้อยละ 60.1 เมื่อพิจารณาเป็นรายปัจจัย พบว่า ปัจจัยพื้นฐานทางสังคม สามารถทํานายความเข้มแข็งของชุมชน ร้อยละ 36.7 ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สามารถทํานายความเข้มแข็งของชุมชน ร้อยละ 49.7 และปัจจัยพื้นฐานทางการเมือง สามารถทํานายความเข้มแข็งของชุมชน ร้อยละ 51.6 และพิจารณาตัวแปรย่อย พบว่า ตัวแปรด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองในปัจจัยทางการเมือง มีค่าสัมประสิทธิ์การทํานายความเข้มแข็งของชุมชนมากที่สุด รองลงมา คือ ตัวแปรด้านการบูรณาการความรู้ในการผลิต และเครือข่ายความรู้ของชุมชนในปัจจัยทางเศรษฐกิจตามลําดับ |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | ชุมชน |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 110 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5762 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|