ธรรมาภิบาลเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าพระนครใต้ จังหวัดสมุทรปราการ
Files
Publisher
Issued Date
2016
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
239 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b197576
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ปรียานุช เลิศรัศมีมาลา (2016). ธรรมาภิบาลเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าพระนครใต้ จังหวัดสมุทรปราการ. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5766.
Title
ธรรมาภิบาลเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าพระนครใต้ จังหวัดสมุทรปราการ
Alternative Title(s)
Good governance for sustainable environmental management: a case study of the South Bangkok Power Plant Project, Samut Prakan
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดําเนินการของโรงไฟฟ้าพระนครใต้ตามหลัก ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม ตลอดจนปัญหาหรืออุปสรรคเพื่อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการดําเนินการโรงไฟฟ้าพระนครใต้ตามหลักธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) กับผู้มีส่วนได้เสีย ร่วมกับการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และประยุกต์ใช้ตัวชี้วัดธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม (The Access Initiative, TAI)เป็นหลักในการศึกษา เนื่องจากตัวชี้วัดดังกล่าวมุ่งเน้นการประเมิน “กระบวนการ”ประกอบด้วย 3 หมวด คือการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ และการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมผลการศึกษาพบว่า การดําเนินการโรงไฟฟ้าพระนครใต้มีการดําเนินการตามหลักธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับดี และเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีกระบวนการการเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อต่างๆ การสารเสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นและรับรู้ความต้องของประชาชน เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเมื่อพิสูจน์ทราบว่าประชาชนได้รับผลกระทบที่มีสาเหตุมาจากการดําเนินการของโรงไฟฟ้า โรงไฟฟ้าจะมีกระบวนการชดเชย เยียวยา แต่ด้วยขั้นตอนการดําเนินการที่ต้องจัดลําดับความสําคัญตามความเหมาะสมและความเร่งด่วนของปัญหาหรือผลกระทบ ดังนั้น จึงส่งผลให้ประชาชนอาจมองว่าการแก้ปัญหาของโรงไฟฟ้าล่าช้า หรือไม่ได้รับการตอบสนอง ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ คือ โรงไฟฟ้าควรสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ชุมชนให้มากขึ้น และควรมีการกําหนดกระบวนการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการดําเนินการจากโรงไฟฟ้าอย่างชัดเจน รวมทั้งประชาชนต้องเรียนรู้ เปิดใจและยอมรับการเข้ามาดําเนินการของโรงไฟฟ้า
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559