การใช้มาตรการ ทางเลือกในการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดของประเทศไทย
by ฐานนันต์ ศรีแสงฉาย
Title: | การใช้มาตรการ ทางเลือกในการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดของประเทศไทย |
Other title(s): | The use of alternative measures for rehabilitation of drug addicts Thailand |
Author(s): | ฐานนันต์ ศรีแสงฉาย |
Advisor: | วราภรณ์ วนาพิทักษ์ |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | กฎหมายและการจัดการ |
Degree department: | คณะนิติศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2015 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงหลักเกณฑ์ รูปแบบ แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับผู้เข้ารับการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติตามพระราช บัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 และทราบถึงการใช้มาตรการทางเลือกในการ บําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 โดยทั้งนี้ต้องสามารถเข้าใจปัญหาและอุปสรรคในการใช้มาตรการทางเลือกในการ บําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ทั้งระบบบังคับบําบัด และระบบสมัครใจ เพื่อนํามา เสนอแนวทางในการกําหนดหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพ ติดตามกฎหมายไทยให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบของการระวางโทษระหว่างผู้เสพและผู้ค้ายาเสพติด ต้องทําการ แยกออกจากกันเพราะเจตนาในการเข้าสู่วังวนของยาเสพติดนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมาก ด้านการ ปล่อยชั่วคราวสําหรับผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์หรือผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดนั้น สมควรมีขั้นตอนการตรวจสอบติดตามผู้เข้ารับการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ เนื่องจากสถิติ ของการเข้าการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ แล้วนั้นกลับไปใช้ยาเสพติดดังเช่นเดิม และเมื่อมี การใช้ยาเสพติดซ้ําผู้วิจัยมีความเห็นว่าสมควรให้มีการบําบัดด้านสารเสพติดและสภาวะทางด้านสังคม ของผู้ใช้ยาเสพติดควบคู่ไปด้วย ผู้ต้องหามีภูมิลําเนาซึ่งไม่สะดวกต่อการเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในศูนย์ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด นั้นไม่สมควรมีเงื่อนไขในการต่อรองในเรื่องสถานที่การเข้า บําบัดรักษา ดังนั้นสถานที่ที่ทําการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดนั้น จะต้องเป็น สถานที่เขตชุมชนหรือเป็นเขตที่แยกตัวออกมาจากสังคมเพื่อให้เกิดการติดต่อสื่อสารกับสังคม ภายนอกให้เป็นได้ยากมากที่สุด เพื่อตัดวงจรการขยายฐานการเสพและค้ายาเสพติดระหว่างการ บําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ระยะเวลาของการการบําบัดรักษาและฟื้นฟสมรรถภาพ นั้นมิให้นับรวมกับการคุมขังหลังพิพากษาโทษตามกฏหมาย แต่มีส่วนเพิ่มเติมได้แก่ การคุมขังนั้นสมควรมีไว้เพื่อผู้ที่ทําการค้ายาเสพติดเท่านั้น แต่สําหรับผู้ที่เสพหรือหลงใช้ยาเสพติดนั้น สมควรให้เข้าบําบัดรักษาเกณฑ์อายุของผู้กระทําผิดนั้นสมควรได้รับการยกเลิกออกจากกฎหมาย เนื่องจากในปัจจุบันช่วงอายุของผู้กระทําผิดมีอายุที่น้อยลง การบังคับใช้กฏหมายของเยาวชนและผู้บรรลุนินิภาวะนั้นสมควรได้รับการแก้ไขใหม่เป็นพิจารณาคาดโทษจากความหนักเบาของการกระทํา ผิดและในปัจจุบันนั้นมีอายุน้อยกว่า 18 ปี เป็นส่วนมาก |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (กฎหมายและการจัดการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558 |
Subject(s): | ผู้ติดยาเสพติด
ยาเสพติด สมรรถภาพทางกาย |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 139 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5794 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|