• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ปัญหาการนำระบบไต่สวนมาใช้กับคดีปกครองที่อยู่ในเขตอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ

by วิสุทธิ์ สุนทรวิภาต

Title:

ปัญหาการนำระบบไต่สวนมาใช้กับคดีปกครองที่อยู่ในเขตอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ

Other title(s):

The problem in investigation system to use with administrative case in the location of intellectual property and international trade court

Author(s):

วิสุทธิ์ สุนทรวิภาต

Advisor:

พัชรวรรณ นุชประยูร

Degree name:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะนิติศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2015

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2015.12

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบในระบบวิธีพิจารณาคดีของ ประเทศไทยกับประเทศอังกฤษและประเทศเยอรมนี ผู้เขียนได้ทำการศึกษาถึงปัญหาในการนำระบบ วิธิพิจารณาความแบบกล่าวหาและระบบวิธีพิจารณาความแบบไต่สวนมาใช้กับคดีปกครองที่อยู่ในเขต อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ทั้งในประเทศไทย อังกฤษ และเยอรมนี รวมทั้งได้ศึกษาเกี่ยวกับหลักการในการพิจารณาคดีปกครองในศาลปกครอง และหลักการในวิธี พิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาที่มีลักษณะเป็นคดีปกครองในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และหลักการในวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาในศาลสิทธิบัตรอังกฤษ (Patents Court) และศาลสิทธิบัตรแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (The Federal Patent Court) รวมถึงการ วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงและวิเคราะห์ความแตกต่างของระบบวิธีพิจารณาคดี และ บทบาทหน้าที่ของคู่ความและศาลในการแสวงหาข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานแห่งคดีเป็นสำคัญ รวมถึงหลักกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับระบบวิธีพิจารณาและการพิจารณาคดีปกครองในศาลปกครอง และการพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาที่มีลักษณะเป็นคดีปกครองในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศ เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาล ปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครอง สูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 และข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติ สิทธิบัตรอังกฤษ พ.ศ. 2520 (The Patens Court Act 1977) และพระราชบัญญัติสิทธิบัตรเยอรมนี พ.ศ. 2524 (The Patent Act of 1981) จากการศึกษาระบบวิธีพิจารณาคดีในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ของประเทศไทยพบว่า มีเพียงการนำระบบวิธีพิจารณาความแบบกล่าวหามาใช้ในการพิจารณาคดี แพ่งและคดีอาญาเท่านั้นและ ไม่มีการพิจารณาคดีปกครองแต่อย่างใด ซึ่งการใช้ระบบวิธีพิจารณา ความแบบกล่าวหากับคดีปกครองนั้นย่อมเป็นการไม่เหมาะสม โดยไม่อาจก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ คู่ความโดยเฉพาะคู่ความฝ่ายเอกชนได้อย่างแท้จริง เนื่องจากคู่ความทั้งสองฝ่ายต่างมีสถานะที่ไม่เท่า เทียมกันเพราะคู่ความฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจในทางปกครอง แต่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเอกชนที่ไม่มีอำนาจในทางปกครอง จึงทำให้เกิดความได้เปรียบเสียบเปรียบ ในทางรูปคดีกันในการแสวงหาข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานแห่งคดีรวมทั้งการเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือ พยานหลักฐานที่คู่ความฝ่ายเอกชนมีอยู่น้อยกว่าหรือแทบไม่มีเลยเมื่อเทียบกับคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งซึ่ง เป็นฝ่ายรัฐที่มีอำนาจมากกว่า เพราะข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานที่สำคัญ ๆ ในคดีมักจะอยู่ในความ ครอบครองของคู่ความฝ่ายรัฐแทบทั้งสิ้น การศึกษานี้ยังเป็นแนวทางในการให้คำเสนอแนะนำในการปรับปรุงแก้ไขปฎิรูประบบวิธี พิจารณาคดีปกครองในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและเป็นธรรมให้มากที่สุด พร้อมทั้งยังได้ศึกษากฎหมายของต่างประเทศ เพื่อนำมาเปรียบเทียบแนวคิด และหลักการในการพิจารณาคดีในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า ระหว่างประเทศและศาลสิทธิบัตร และปัญหาความไม่เท่าเทียมกันทางสถานะของคู่ความที่เกิดขึ้นทั้ง ในประเทศไทย อังกฤษ และเยอรมนี รวมถึงศึกษาทางปฏิบัติของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า ระหว่างประเทศและศาลสิทธิบัตรในการนำระบบวิธีพิจารณาความแบบไต่สวนมาใช้กับคดีปกครอง เพื่อหาข้อสรุป ข้อเสนอแนะ ในการแก้ไขปัญหา และเพื่อปรับปรุงแก้ไข รวมถึงการปฎิรูประบบวิธี พิจารณาคดีปกครองในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงปฎิรูปพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 และข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรมอย่างแท้จริงแก่ประชาชนซึ่งเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม หรือประโยชน์สาธารณะให้ได้มากที่สุด

Description:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

Subject(s):

กฎหมาย
ทรัพย์สินทางปัญญา
การค้าระหว่างประเทศ
การพิจารณาคดี

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

134 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5796
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b191865.pdf ( 1,778.74 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [208]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×