การคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นในการมาปรับใช้กับสมุนไพรไทย
Files
Publisher
Issued Date
2017
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
96 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b201083
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
กรกมล โสตะจินดา (2017). การคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นในการมาปรับใช้กับสมุนไพรไทย. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5827.
Title
การคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นในการมาปรับใช้กับสมุนไพรไทย
Alternative Title(s)
The Protection of Traditional Knowledge in Application with Thai Herbs
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีการพัฒนาเจริญก้าวหน้าในทางเศรษฐกิจและทางวิทยาศาสตร์ไป
อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตามกระแสแห่งการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ในทรัพยากรชีวภาพอย่าง
ยั่งยืนและเพื่อการรักษาทรัพยากรชีวภาพอย่างสมดุลกลับมีมากขึ้น ทุกคนต่างคำนึงถึงความสำคัญ
ของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการปรับใช้กับพืชสมุนไพร ที่เป็นองค์ความรู้จากการใช้ทักษะ ความรู้ หรือ
ประสบการณ์ของคนในชุมชนท้องถิ่นนั้นๆจากการเรียนรู้ การแก้ปัญหา ตลอดจนทักษะเหล่านั้นได้
ถ่ายทอดจากคนอีกรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง โดยพืชสมุนไพรนั้นมีประโยชน์นานัปการต่อการดำรงชีพ
และประเทศที่พัฒนาแล้วได้เข้ามาศึกษา วิจัย ในพืชสมุนไพรของประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะ
ประเทศที่พัฒนาแล้วมีความคิดในเรื่องของการใช้พืชสมุนไพรอันเป็นทรัพยากรชีวภาพในภูมิปัญญา
ท้องถิ่นนั้นเป็น สมบัติสาธารณะ หรือ (Public Domain) ซึ่งทุกคนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ในพืช
สมุนไพรที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นได้
ต่างจากแนวความคิดของประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีแนวความคิดในเรื่องของภูมิปัญญา ท้องถิ่นนั้นเป็นสิ่งที่หวงแหนหวงกั้นไม่อาจให้ใครเข้ามาใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับสมุนไพรได้ ด้วย การหามาตรการต่างๆมาเพื่อคุ้มครองและการอนุรักษ์ในภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับสมุนไพร ซึ่งการ เข้ามาแสงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ และการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นตามกฎหมายทรัพย์สินทาง ปัญญา โดยปราศจาการรับรู้การเป็นเจ้าของในภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับสมุนไพรอย่างแท้จริง
ในส่วนของการคุ้มครองภูมปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการใช้พืชสมุนไพรของประเทศไทยนั้น มี แนวคิดในเรื่องของภูมิปัญญาท้องถิ่นว่าเป็น สิทธิของชุมชน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 66 ที่ให้ความคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยคนในชุมชนและท้องถิ่นต่างมีสิทธิที่จะ หวงแหนมิให้มีการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบในสมุนไพรไทย เพราะประเทศไทยนั้นไม่มี กฎหมายที่สามารถคุ้มครองในภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้โดยตรง จะมีแต่เพียงบทกฎหมายใกล้เคียงบางบท เท่านั้นที่จะสามารถน ามาปรับใช้ในภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับสมุนไพรไทย ได้แก่ พระราชบัญญัติ คุ้มครองพันธ์พืช พ.ศ.2542 ที่มุ่งประสงค์แต่เพียงในการคุ้มครองพันธ์พืชพื้นเมืองท้องถิ่น พันธ์พืช ทั่วไป และพันธ์พืชใหม่เท่านั้น ซึ่งไม่อาจคุ้มครองในองค์ความรู้ของภูมิปัญญา ท้องถิ่นได้โดย เฉพาะเจาะจง และอีกกฎหมายที่สามารถให้ความคุ้มครองได้ คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองและ ส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พ.ศ.2542 ซึ่งได้ให้ความคุ้มครองพืช สมุนไพรเฉพาะเพียงตำหรับยาสมุนไพร และรวมถึงแหล่งการอนุรักษ์สมุนไพรและภูมิปัญญา
การแพทย์แผนไทยเท่านั้น และได้ศึกษาถึงมาตรการการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศอินเดีย เพื่อมาปรับใช้กับประเทศ ไทย
ดังนั้นประเทศไทยในฐานะรัฐภาคีขององค์การระหว่างประเทศจึงต้องปฏิบัติตาม ความตกลง ทางการค้าระหว่างประเทศและทรัพย์สินทางปัญญา (TRIPs) และปฏิบัติตามอนุสัญญาความ หลากหลายทางชีวภาพ (CBD) ในเรื่องของความคุ้มครองในภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการนำไปใช้กับ สมุนไพรเพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนและสมดุล อันเกี่ยวกับสิ่งที่จะขอรับความคุ้มครองในเรื่องของ สิทธิบัตร ที่เป็นกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองในสิ่งประดิษฐ์ทุกสาขาการประดิษฐ์ แต่ไม่อาจให้ความ คุ้มครองในสิทธิบัตรอันเกี่ยวกับพืชและสัตว์ได้อย่างไรก็ตาม การคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับ สมุนไพรนั้น อาจใช้การคุ้มครองในพันธ์พืช อันเป็นระบบกฎหมายเฉพาะ (Sui Generis System) โดยเลือกระบบในการคุ้มครองได้ทั้งภายใต้ระบบกฎหมายสิทธิบัตร หรือกฎหมายเฉพาะ ระบบใด ระบบหนึ่ง หรืออาจใช้ทั้งสองระบบก็ได
จากการศึกษาพบว่าการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับพืชสมุนไพรไทยนั้น จะต้อง กระทำทั้งกฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศ แม้ว่าระบบกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่มี อยู่ในปัจจุบันจะสามารถคุ้มครองได้บางกรณีเท่านั้น แต่ไม่สามารถคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับ พืชสมุนไพรไทยเพื่อให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองนั้นมีความแตกต่างกัน ดังนั้นการสร้างกฎหมายเฉพาะเพื่อคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับพืชสมุนไพรจึงมีความจำเป็น อย่างยิ่ง ในการป้องกันการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับสมุนไพรไปใช้โดยมิชอบของประเทศที่ พัฒนาแล้ว
ต่างจากแนวความคิดของประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีแนวความคิดในเรื่องของภูมิปัญญา ท้องถิ่นนั้นเป็นสิ่งที่หวงแหนหวงกั้นไม่อาจให้ใครเข้ามาใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับสมุนไพรได้ ด้วย การหามาตรการต่างๆมาเพื่อคุ้มครองและการอนุรักษ์ในภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับสมุนไพร ซึ่งการ เข้ามาแสงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ และการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นตามกฎหมายทรัพย์สินทาง ปัญญา โดยปราศจาการรับรู้การเป็นเจ้าของในภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับสมุนไพรอย่างแท้จริง
ในส่วนของการคุ้มครองภูมปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการใช้พืชสมุนไพรของประเทศไทยนั้น มี แนวคิดในเรื่องของภูมิปัญญาท้องถิ่นว่าเป็น สิทธิของชุมชน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 66 ที่ให้ความคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยคนในชุมชนและท้องถิ่นต่างมีสิทธิที่จะ หวงแหนมิให้มีการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบในสมุนไพรไทย เพราะประเทศไทยนั้นไม่มี กฎหมายที่สามารถคุ้มครองในภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้โดยตรง จะมีแต่เพียงบทกฎหมายใกล้เคียงบางบท เท่านั้นที่จะสามารถน ามาปรับใช้ในภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับสมุนไพรไทย ได้แก่ พระราชบัญญัติ คุ้มครองพันธ์พืช พ.ศ.2542 ที่มุ่งประสงค์แต่เพียงในการคุ้มครองพันธ์พืชพื้นเมืองท้องถิ่น พันธ์พืช ทั่วไป และพันธ์พืชใหม่เท่านั้น ซึ่งไม่อาจคุ้มครองในองค์ความรู้ของภูมิปัญญา ท้องถิ่นได้โดย เฉพาะเจาะจง และอีกกฎหมายที่สามารถให้ความคุ้มครองได้ คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองและ ส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พ.ศ.2542 ซึ่งได้ให้ความคุ้มครองพืช สมุนไพรเฉพาะเพียงตำหรับยาสมุนไพร และรวมถึงแหล่งการอนุรักษ์สมุนไพรและภูมิปัญญา
การแพทย์แผนไทยเท่านั้น และได้ศึกษาถึงมาตรการการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศอินเดีย เพื่อมาปรับใช้กับประเทศ ไทย
ดังนั้นประเทศไทยในฐานะรัฐภาคีขององค์การระหว่างประเทศจึงต้องปฏิบัติตาม ความตกลง ทางการค้าระหว่างประเทศและทรัพย์สินทางปัญญา (TRIPs) และปฏิบัติตามอนุสัญญาความ หลากหลายทางชีวภาพ (CBD) ในเรื่องของความคุ้มครองในภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการนำไปใช้กับ สมุนไพรเพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนและสมดุล อันเกี่ยวกับสิ่งที่จะขอรับความคุ้มครองในเรื่องของ สิทธิบัตร ที่เป็นกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองในสิ่งประดิษฐ์ทุกสาขาการประดิษฐ์ แต่ไม่อาจให้ความ คุ้มครองในสิทธิบัตรอันเกี่ยวกับพืชและสัตว์ได้อย่างไรก็ตาม การคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับ สมุนไพรนั้น อาจใช้การคุ้มครองในพันธ์พืช อันเป็นระบบกฎหมายเฉพาะ (Sui Generis System) โดยเลือกระบบในการคุ้มครองได้ทั้งภายใต้ระบบกฎหมายสิทธิบัตร หรือกฎหมายเฉพาะ ระบบใด ระบบหนึ่ง หรืออาจใช้ทั้งสองระบบก็ได
จากการศึกษาพบว่าการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับพืชสมุนไพรไทยนั้น จะต้อง กระทำทั้งกฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศ แม้ว่าระบบกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่มี อยู่ในปัจจุบันจะสามารถคุ้มครองได้บางกรณีเท่านั้น แต่ไม่สามารถคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับ พืชสมุนไพรไทยเพื่อให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองนั้นมีความแตกต่างกัน ดังนั้นการสร้างกฎหมายเฉพาะเพื่อคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับพืชสมุนไพรจึงมีความจำเป็น อย่างยิ่ง ในการป้องกันการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับสมุนไพรไปใช้โดยมิชอบของประเทศที่ พัฒนาแล้ว