• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุกับการพัฒนาอุตสาหกรรมในอำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา

by เมธาวี บุญพิทักษ์

Title:

ความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุกับการพัฒนาอุตสาหกรรมในอำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา

Other title(s):

The Well-Being of Elderly People and Industrial Development in Plaeng Yao District, Chachoengsao Province

Author(s):

เมธาวี บุญพิทักษ์

Advisor:

สากล จริยวิทยานนท์

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2017

Publisher:

สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในชุมชนอันเนื่องมาจาก การพัฒนาอุตสาหกรรมในอ าเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) ศึกษาความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุ ในชุมชนที่ตั้งอยู่ใกล้เขตนิคมอุตสาหกรรมและชุมชนที่ตั้งอยู่ห่างจากเขตนิคมอุตสาหกรรม และ 3) วิเคราะห์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมต่อความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุในชุมชน วิธีการศึกษาใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Approach) ท าการรวบรวม ข้อมูลด้วยกรณีศึกษา (Case Study) และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participant Observation) การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ(Informal Interview) กับผู้ให้ข้อมูลที่ส าคัญ (Key Informant) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) การจัดหมวดหมู่ (Typology) การสังเคราะห์(Synthesis) และการตีความ (Interpretation
ผลการวิจัยพบว่าเดิมพื้นที่อำเภอแปลงยาวเป็นพื้นที่เกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่การตั้งนิคม อุตสาหกรรมขึ้นมาในพื้นที่ตำบลหัวสำโรงได้ส่งผลให้พื้นที่ชุมชนโดยรอบบริเวณตำบลหัวสำโรงมีการ พัฒนาไปสู่การเป็นชุมชนเมือง มีการซื้อขายที่ดินเพื่อรองรับการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมการขยายตัว ของเมืองและการเก็งกำไรในการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ พื้นที่ใช้สอยในครัวเรือนลดจำนวนลง ลักษณะครอบครัวเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้นมีแรงงานต่างถิ่นเข้ามาพักอาศัยภายในชุมชนจำนวน มาก สมาชิกวัยแรงงานในครัวเรือนส่วนมากเป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ในขณะที่ตำบลหนองไม้ แก่นสมาชิกวัยแรงงานในชุมชนยังคงอยู่ในภาคเกษตรกรรมมีวิถีการดำเนินชีวิตแบบชนบท ใช้ชีวิต แบบเรียบง่ายที่ดินในตำบลหนองไม้แก่นเป็นพื้นที่ในโครงการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ทำให้ ชาวบ้านในชุมชนเข้าถึงทรัพยากรในการดำรงชีพได้มากแม้ลักษณะครอบครัวเป็นครอบครัวเดี่ยวมาก ขึ้นเช่นเดียวกับในชุมชนหัวสำโรง แต่มีลักษณะการอยู่อาศัยโดยแยกไปสร้างบ้านหลังใหม่ แต่ยังอย
ในละแวกเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่แตกต่างกันในชุมชนที่ศึกษานี้ส่งผลให้ความอยู่ดีมีสุข ของผู้สูงอายุระหว่างชุมชนมีความแตกต่างกัน
ผลการวิเคราะห์ความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุในทั้งสองชุมชน พบว่า มีการให้ความหมายของ ความอยู่ดีมีสุขหรือสิ่งที่ผู้สูงอายุต้องการอยากจะเป็นใกล้เคียงกัน คือ การได้รับความรักความเอาใจใส่ จากบุตรหลาน การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับญาติ เพื่อนบ้าน รวมทั้งคนในชุมชน การมีสุขภาพร่างกายดี การมีรายได้ที่เพียงพอกับการครองชีพ และการมีอิสรภาพในการใช้ชีวิต ในขณะที่สภาพความเป็นอยู่ ในปัจจุบันมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันระหว่าง 2 ชุมชน การบรรลุถึงความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุใน 2 ชุมชนนี้จึงมีความแตกต่างกันด้วย กล่าวคือ ผู้สูงอายุในตำบลหนองไม้แก่น ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ห่างจาก นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ มีการบรรลุถึงความอยู่ดีมีสุขได้มากกว่าผู้สูงอายุในตำบลหัวสำโรงซึ่งอยู่ ใกล้กับนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ เพราะสามารถเข้าถึงและมีกระบวนการแปลงทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อการดำรงชีพ อันนำไปสู่การบรรลุถึงความอยู่ดีมีสุขได้มากกว่า
การพัฒนาอุตสาหกรรมส่งผลอย่างชัดเจนต่อการเปลี่ยนแปลงในวิถีการดำเนินชีวิตและความ อยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุในชุมชนที่ตั้งอยู่ใกล้นิคมอุตสาหกรรม ซึ่งแตกต่างกันกับในชุมชนที่อยู่ห่างจาก นิคมอุตสาหกรรม โดยมีเงื่อนไขเกี่ยวกับการเข้าถึงทรัพยากรด้านต่างๆ วิถีการดำรงชีพของสมาชิก ครอบครัวและผู้สูงอายุ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับสมาชิกในครอบครัวเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างสำคัญ
การพัฒนาอุตสาหกรรมส่งผลอย่างชัดเจนต่อการเปลี่ยนแปลงในวิถีการดำเนินชีวิตและความ อยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุในชุมชนที่ตั้งอยู่ใกล้นิคมอุตสาหกรรม ซึ่งแตกต่างกันกับในชุมชนที่อยู่ห่างจาก นิคมอุตสาหกรรม โดยมีเงื่อนไขเกี่ยวกับการเข้าถึงทรัพยากรด้านต่างๆ วิถีการดำรงชีพของสมาชิก ครอบครัวและผู้สูงอายุ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับสมาชิกในครอบครัวเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างสำคัญ
ข้อเสนอแนะที่สำคัญจากการวิจัยครั้งนี้ คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการทำงานด้านผู้สูงอายุ ควรร่วมกับชุมชนทำการรณรงค์เพิ่มค่านิยมให้สมาชิกในครัวเรือนและชุมชนได้ตระหนักถึง ความสำคัญของผู้สูงอายุในครัวเรือน ทั้งในแง่ของการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางสังคมที่ดีและการนำ ประสบการณ์ของผู้สูงอายุมาใช้ประโยชน์ในชุมชน อันจะช่วยเสริมสร้างความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุ ต่อไป

Subject(s):

การพัฒนาอุตสาหกรรม -- ฉะเชิงเทรา -- แปลงยาว

Keyword(s):

การสูงวัยของประชากร

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

116 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5864
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b201164.pdf ( 2,244.97 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [555]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×