• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับหลักประกันการเสนอราคาในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

by เชาวลิต จันมณี

Title:

ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับหลักประกันการเสนอราคาในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

Other title(s):

Legal problems concerning bid bond in government procurement

Author(s):

เชาวลิต จันมณี

Advisor:

พัชรวรรณ นุชประยูร

Degree name:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะนิติศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2019

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2019.81

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์หรือด้วยวิธีประกาศเชิญชวน ทั่วไปในบางกรณีต้องมีการวางหลักประกันซองหรือหลักประกันการเสนอราคาไว้เพื่อประกันความ เสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากผู้ยื่นข้อเสนอหรือผู้เสนอราคาไม่ปฏิบัติตามกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ในการศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับหลักประกันการเสนอราคาในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษารายละเอียดปัญหาทางกฎหมายในเรื่องของสถานะทางกฎหมายของหลักประกัน การเสนอและปัญหาเกี่ยวกับการฟ้องคดีเกี่ยวกับการวางหลักประกันการเสนอราคา และปัญหาเกี่ยวกับประเภทสัญญาประกวดราคา และปัญหาเกี่ยวการก่อให้เกิดขึ้นของสัญญา โดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักกฎหมายของไทยและเยอรมันและฝรั่งเศส และร่างกฎหมายต้นแบบ เรื่องการจัดซื้อจัด จ้างภาครัฐของ UNCITRAL (UNCITRAL Model Law on Public Procurement) และคำพิพากษา ศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุด และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่าง ศาลรวมถึงองค์กรหรือคณะกรรมการที่มีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยให้คำปรึกษาหรือตอบข้อหารือที่ เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ จากการศึกษา ศาลยุติธรรม ศาลปกครองและคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ ระหว่างศาลได้วินิจฉัยคดีโดยให้เหตุผลเกี่ยวกับการวินิจฉัยคดีพิพาทในการยึดหรือริบหลักประกัน ซองหรือหลักประกันการเสนอราคาแตกต่างกันออกไป และจากการศึกษาพบว่า ประกาศประกวด ราคามีเนื้อหาที่เป็นลักษณะเป็นการเชิญชวนให้ผู้ประกอบการที่สนใจเข้ามาประกวดราคา ประกวด ราคาจึงเป็นคำเสนอ เมื่อผู้ประกอบการยื่นซองประกวดราคาหรือเข้าสู่ระบบประกวดราคา อิเล็กทรอนิกส์พร้อมกับได้มีการวางเงินหลักประกันซองหรือวางหลักประกันการเสนอราคาทางระบบ อิเล็กทรอนิกส์ จึงเป็นการสนองรับคำเสนอ อันก่อให้เกิดสัญญาประกวดราคาหรือสัญญาจะเข้าร่วม ประมูลงาน การวางหลักประกันการเสนอราคาจึงมีสถานะทางกฎหมายเป็นสัญญา กรณีผู้ชนะการประกวดราคาไม่ยอมเข้าทำสัญญา หน่วยงานของรัฐผู้ประกาศประกวดราคามี สิทธิริบหลักประกันการเสนอราคา อันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาประกวดราคา ซึ่งเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับข้อตกลงตามประกาศประกวดราคาโดยได้มีคำเสนอของผู้เสนอราคาและและคำสนองของผู้ ประกาศประกวดราคาอันจะก่อให้เกิดสัญญาจัดซื้อจัดจ้างต่อไป เมื่อมีการฟ้องคดีเรียกหลักประกัน การเสนอราคาในการจัดซื้อจัดจ้างคืน จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ในส่วนกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่คืนหลักประกันการเสนอราคาให้แก่ผู้ยื่นข้อเสนอหรือผู้ค้ำประกันการเสนอราคาที่ พ้นข้อผูกพันภายในกำหนด ถือได้ว่าเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด อันเป็นคดีพิพาท เกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ จากการศึกษาคำวินิจฉัยของศาลปกครองและคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ ระหว่างศาล มีแนวความคิดเกี่ยวกับสัญญาประกวดราคา เป็น 3 แนวทาง ดังนี้ 1) แนวคำวินิจฉัยว่า สัญญาประกวดราคาเป็นสัญญาทางปกครอง 2) แนวคำวินิจฉัยว่าสัญญาประกวดราคาเป็นสัญญาทางแพ่ง 3) แนวคำวินิจฉัยว่าสัญญาประกวดราคาจะเป็นประเภทใดนั้นจะต้องถือตามสัญญาหลัก กล่าวคือ หากสัญญาหลักที่มุ่งประสงค์จะทำกันในอนาคตเป็นสัญญาทางปกครอง สัญญาประกวด ราคาย่อมเป็นสัญญาทางปกครอง แต่หากสัญญาหลักที่มุ่งประสงค์จะทำกันในอนาคตเป็นสัญญาทางแพ่ง สัญญาประกวดราคาควรต้องเป็นสัญญาทางแพ่งเช่นเดียวกัน ซึ่งในระยะหลังศาลปกครองและคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลก็ได้วินิจฉัยโดยพิจารณาจากสัญญาหลัก เมื่อผู้มีอาชีพได้รับทราบประกาศประกวดราคาซื้อจ้างแล้วย่อมถือว่าประกาศประกวดราคา ดังกล่าวมีผลเป็นคำเสนอ และเมื่อผู้มีอาชีพหรือผู้ประกอบการยื่นซองประกวดราคาหรือเข้าสู่ระบบ ประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) พร้อมกับได้มีการวางเงินหลักประกันซองประกวดราคา หรือวางหลักประกันการเสนอราคาทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ถือว่าผู้มีอาชีพหรือผู้ประกอบการได้ แสดงเจตนาสนองรับคำเสนอของภาครัฐแล้วสัญญาประกวดราคาหรือสัญญาจะเข้าร่วมประมูลงาน อันเป็นสัญญาก่อนสัญญาหลักก็เกิดขึ้น และในขณะเดียวกันถือได้ว่าผู้มีอาชีพหรือผู้ประกอบการได้ทำคำเสนอซื้อจ้างต่อภาครัฐด้วย ผู้เขียนได้มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) หากนำหลักการในเรื่องคำเสนอสนองซึ่งอยู่ในหลักกฎหมาย ว่าด้วยนิติกรรมสัญญา เข้ามาพิจารณาปรับใช้ก็ทำให้ทราบว่าสถานะทางกฎหมายของการวาง หลักประกันการเสนอราคามีสถานะเป็นสัญญา 2) การซื้อจ้างด้วยวิธีประกวดราคาหรือด้วยวิธี ประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) หากผู้ที่ได้รับคัดเลือกหรือผู้ชนะการประกวดไม่ยอมเข้าทำสัญญาภายในกำหนดหรือมิได้มอบหลักประกันสัญญา ถือได้ว่ากระทำผิดสัญญาประกวดราคาหรือ สัญญาหลักประกันซอง หน่วยงานของรัฐมีสิทธิริบหลักประกันการเสนอราคาจากผู้เสนอราคาหรือผู้ ค้ำประกันได้ และยังมีสิทธิเรียกค่าเสียหายอื่นได้อีกด้วย 3) หน่วยงานของรัฐจะต้องคืนหลักประกัน การเสนอราคาให้แก่ผู้ยื่นข้อเสนอหรือผู้ค้ำประกันการเสนอราคาภายในกำหนดเวลาและตาม หลักเกณฑ์ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐหากฝ่าฝืน ระเบียบดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด 4) คำสั่งริบเงินหลักประกัน การเสนอราคาเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาสามารถฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์คำสั่งก่อน

Description:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562

Subject(s):

การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

131 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6333
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b210969.pdf ( 1,638.00 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [208]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×