ปัญหาทางกฎหมายในการกำหนดฐานภาษีและอัตราภาษีการรับมรดกตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558
Publisher
Issued Date
2018
Issued Date (B.E.)
2561
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
214 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b207774
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ธรรมนิจ เพ็ชรจำรัส (2018). ปัญหาทางกฎหมายในการกำหนดฐานภาษีและอัตราภาษีการรับมรดกตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6410.
Title
ปัญหาทางกฎหมายในการกำหนดฐานภาษีและอัตราภาษีการรับมรดกตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558
Alternative Title(s)
Legal problem in determining tax base and tax rate for Inheritance Tax Act. B.E. 2558
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีมรดกตาม พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ที่มีเจตนารมณ์ในการสร้างความเป็นธรรมในสังคม และ ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคม ว่าจะสามารถทำได้ตามเจตนารมณ์ดังกล่าวหรือไม่ โดยผู้เขียน ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายภาษีมรดกและร่างกฎหมายภาษีมรดกของประเทศไทยในอดีต ประกอบกับกฎหมายภาษีมรดกในต่างประเทศ ได้แก่ กฎหมายภาษีของประเทศฝรั่งเศส และ พระราชบัญญัติภาษีมรดก ค.ศ. 1984 ของประเทศอังกฤษ จากการศึกษาพบว่า ปัญหาของพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 คือ การกำหนดฐานของภาษีการรับมรดกตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ที่กำหนดให้ยกเว้น แก่ทรัพย์มรดกหลังจากหักด้วยภาระหนี้สินแล้วเป็นจำนวน 100 ล้านบาทแรกไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษี การรับมรดก เป็นการกำหนดฐานภาษีที่แคบเกินไป เนื่องจากจำนวนสัดส่วนของกลุ่มประชากรที่ถือครองทรัพย์มรดกอันมีมูลค่าถึงขนาดต้องเสียภาษีการรับมรดกนั้นมีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวน ประชากรทั้งประเทศ การแก้ไขฐานภาษีการรับมรดกจากเดิมที่กำหนดไว้ให้ทรัพย์มรดกที่มีมูลค่าเกิน กว่า 50 ล้านบาท ในขั้นตอนการรับหลักการของร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวมาเป็นทรัพย์มรดกที่ มีมูลค่าเกินกว่า 100 ล้านบาทจึงจะเข้าข่ายต้องเสียภาษีการรับมรดกในปัจจุบัน ทำให้ผู้ที่อยู่ในบังคับต้อง เสียภาษีการรับมรดกยิ่งน้อยลงตามไปด้วย ประกอบกับการไม่กำหนดมาตรการที่ชัดเจนในการจัดเก็บภาษี จากทรัพย์สินที่ไม่มีทะเบียน ทั้งที่ทรัพย์สินไม่มีทะเบียนก็อาจเป็นทรัพย์สินที่ตกทอดมาจากกองมรดก เช่นเดียวกัน ทำให้เกิดปัญหาความไม่ครอบคลุมในการจัดเก็บทรัพย์สิน เนื่องจากการสะสมทรัพย์สิน ที่ไม่มีทะเบียนก็ถือเป็นการสะสมความมั่งคั่งรูปแบบหนึ่งเช่นกัน การกำหนดฐานภาษีโดยเลือกจัดเก็บ แต่เพียงทรัพย์สินบางประเภทจึงยิ่งเป็นการบีบให้ฐานภาษีแคบลงไปอีก อีกทั้งการกำหนดรูปแบบอัตรา ภาษีที่มีการกำหนดให้เป็นอัตราคงที่ โดยมีการแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือไม่ว่าผู้ได้รับมรดกจะได้รับมรดก เป็นจำนวนเกินกว่า 100 ล้านบาทไปมากน้อยเพียงใดก็ตาม หากผู้รับมรดกเป็นบุพการีหรือ ผู้สืบสันดานจะต้องเสียภาษีในอัตราเดียวกันทั้งหมด คืออัตราร้อยละ 5 แต่หากผู้รับมรดกเป็น บุคคลอื่นที่ไม่ใช่บุพการีหรือผู้สืบสันดานจะต้องเสียภาษีในอัตราเดียวกันทั้งหมด คือ อัตราร้อยละ 10 การก าหนดให้อัตราภาษีคงที่ แม้ว่ามูลค่าของฐานภาษีจะมีจำนวนมากหรือน้อยเพียงใดก็ตาม ก่อให้เกิด ความไม่เป็นธรรมในการเสียภาษี เนื่องจากผู้เสียภาษีมีมูลค่าฐานภาษีจากการได้รับมรดกไม่เท่ากันแต่กลับต้องเสียภาษีในอัตราเดียวกัน การเลือกใช้รูปแบบอัตราภาษีแบบคงที่จึงไม่สามารถส่งเสริมการ กระจายรายได้อย่างเป็นธรรม และไม่สามารถสะท้อนความสามารถของผู้เสียภาษีได้อย่างมี ประสิทธิภาพ จากเหตุผลดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความไม่มีประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีของ พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ที่มีการบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 จนถึง ปัจจุบัน แต่กลับไม่สามารถจัดเก็บภาษีการรับมรดกได้เลย อีกทั้งยังไม่สามารถตอบสนองความ ต้องการของรัฐบาลในการสร้างความเป็นธรรมในสังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคม ตามเจตนารมณ์ในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561