ตัวแบบการจัดการวัฒนธรรมของชุมชนบ้านหมากขาม* และบ้านหมากม่วง* ในเขตเทศบาลตำบลไตรรัฐ* ยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

dc.contributor.advisorสุพรรณี ไชยอำพรth
dc.contributor.authorคทาเทพ พงศ์ทองth
dc.date.accessioned2022-12-26T08:24:43Z
dc.date.available2022-12-26T08:24:43Z
dc.date.issued2017
dc.date.issuedBE2560th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (พัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อนำเสนอตัวแบบการจัดการวัฒนธรรมชุมชนบ้านหมาก ขาม* และบ้านหมากม่วง* ในเขตต าบลไตรรัฐ* อ าเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี2) เพื่อศึกษาการจัดการ วัฒนธรรมของชุมชน 3) เพื่อศึกษาทัศนะของประชาชนในชุมชนต่อกิจกรรมทางวัฒนธรรม การวิจัยนี้ ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเน้นการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากผู้ให้ข้อมูลที่ส าคัญ 30 คน และใช้การ วิเคราะห์ตีความ ควบคู่บริบทและใช้สถิติเชิงพรรณนาประกอบเพื่อให้เกิดความชัดเจนเป็นรูปธรรมth
dc.description.abstractผลการศึกษาพบว่า 1) ตัวแบบการจัดการวัฒนธรรมของชุมชนบ้านหมากขาม* และบ้านหมากม่วง* ในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้บูรณาการวงจร Deming (PDCA)และขับเคลื่อนผ่านกลไก “คชศร” (ครอบครัว ชุมชน ศาสนา รัฐ) ดังนี้1) การวางแผน (Plan) เช่น การประเมินความสำคัญของกิจกรรม ทางวัฒนธรรม การรวมกลุ่มผู้น ากิจกรรม การวางแผนการด าเนินการ การจัดสรรทรัพยากร การ พิจารณาอุปสรรคและการสนับสนุน การเสนอโครงการ และอื่น ๆ 2) การปฏิบัติตามแผน (Do) จำแนกแนวทางการจัดการวัฒนธรรม เป็น 3 แนวทาง ได้แก่ A) อนุรักษ์รื้อฟื้น ต่อยอด ในกิจกรรมที่ มีแนวโน้มจะสูญหายหรือสามารถพัฒนาได้B) เผยแพร่ ในกิจกรรมที่ยังด ารงอยู่แต่ขาดการ ประชาสัมพันธ์ภายในชุมชนที่มีประสิทธิภาพ C) สืบสาน ในกิจกรรมที่มีความเป็นไปได้ที่จะ ประชาสัมพันธ์ออกสู่สาธารณะ 3) การตรวจสอบ (Check) ประเมินจากสรุปผลการจัดกิจกรรม สามารถแยกประเมินตามแผนย่อยทีละขั้นตอนและแยกตามฝ่าย 4) การปรับปรุงการดำเนินการ (Act) มีการบันทึกและเก็บทะเบียนประวัติการจัดกิจกรรม จัดทำคู่มือและฐานข้อมูลที่จำเป็น เสนอแนะและวางแผนเพื่อการจัดในครั้งต่อไป 2) ชุมชนมีแนวทางการจัดการวัฒนธรรมชุมชนสอดคล้องกับวงจร Deming อัน สามารถปรับปรุงการดำเนินกิจกรรมและปรับเปลี่ยนได้ตามบริบทได้อย่างเหมาะสม 3) ทัศนะของประชาชนในชุมชน มีความชัดเจนในความต้องการรักษาอัตลักษณ์ วัฒนธรรมท้องถิ่นอันสะท้อนชาติพันธุ์ทั้งไทย มอญและจีนของตนเองเอาไว้และมีความเป็นไปได้สูง ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆth
dc.description.abstractข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ ชุมชนควรสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง อาทิ การประสาน ภาครัฐและเอกชน การทำระบบการจัดการและการเสนอโครงการเพื่อจัดสรรงบประมาณ การ วางแผนการประชาสัมพันธ์ภายในและภายนอกอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบฐานข้อมูลเพื่อการศึกษา อนุรักษ์เผยแพร่และสืบสานอย่างยั่งยืนth
dc.format.extent153 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifierb203186th
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2017.81
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6109
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectชุมชนบ้านหมกม่วงth
dc.subject.otherความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมth
dc.titleตัวแบบการจัดการวัฒนธรรมของชุมชนบ้านหมากขาม* และบ้านหมากม่วง* ในเขตเทศบาลตำบลไตรรัฐ* ยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนth
dc.title.alternativeCultural management model of Ban Mark Kham and Ban Mark Muang in Triath Municipality in AEC Erath
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b203186.pdf
Size:
2.82 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description: