คุณภาพชีวิตการทำงานและความมั่นคงในอาชีพของนักฟุตบอลไทย
Publisher
Issued Date
2017
Issued Date (B.E.)
2560
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
115 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b199280
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ศศินทร์ มะกูดี (2017). คุณภาพชีวิตการทำงานและความมั่นคงในอาชีพของนักฟุตบอลไทย. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5932.
Title
คุณภาพชีวิตการทำงานและความมั่นคงในอาชีพของนักฟุตบอลไทย
Alternative Title(s)
Quality of work life career security of Thai football players
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทําการศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทํางานและความมั่นคงในอาชีพของนักฟุตบอลไทยที่สังกัดบริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จํากัด ทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ ด้านรายได้และผลตอบแทน ด้านสวัสดิการและหลักประกันการทํางาน ด้านโอกาสในการพัฒนาทักษะและความสามารถ ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในอาชีพ ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตการทํางานและชีวิตส่วนตัว ด้านความสัมพันธ์ที่ดีในทีม ด้านโอกาสทางสังคมและการมีส่วนร่วมที่เท่าเทียมกัน และด้านสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง และเพื่อเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตการทํางานและความมั่นคงในอาชีพของนักฟุตบอลไทยที่สังกัดบริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จํากัด จําแนกตามคุณลักษณะต่างๆ ของนักฟุตบอล รวมถึงปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทํางานและความมั่นคงในอาชีพของนักฟุตบอลไทยโดยใช้ข้อมูลจากการสํารวจตัวอย่างของนักฟุตบอลที่สังกัดบริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จํากัด จํานวน 500 คน ผลการศึกษาพบว่า นักฟุตบอลที่สังกัดบริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จํากัด มีระดับคุณภาพชีวิตการทํางานและความมั่นคงในอาชีพโดยรวมอยู่ในระดับสูงทุกด้านเมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตการทํางานและความมั่นคงในอาชีพของนักฟุตบอลไทยที่สังกัดบริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จํากัด จําแนกตามคุณลักษณะต่างๆ ของนักฟุตบอลพบว่า นักฟุตบอลที่เป็นโสด นักฟุตบอลที่เคยได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้เล่นที่มีความสามารถพิเศษ (Talent) ในทีมเยาวชนระดับสโมสรหรือระดับชาติ นักฟุตบอลที่ผ่านประสบการณ์เป็นนักฟุตบอลในสถานศึกษาระดับมัธยม หรืออะคาเดมี่ และนักฟุตบอลที่ไม่บาดเจ็บขั้นรุนแรง มีระดับคะแนนสูงกว่านักฟุตบอลที่สมรส นักฟุตบอลที่ไม่เคยได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้เล่นที่มีความสามารถพิเศษ (Talent) ในทีมเยาวชนระดับสโมสรหรือระดับชาติ นักฟุตบอลที่ไม่ผ่านประสบการณ์เป็นนักฟุตบอลในสถานศึกษาระดับมัธยม หรืออะคาเดมี่ และนักฟุตบอลที่บาดเจ็บขั้นรุนแรง นอกจากนี้ยังพบว่า นักฟุตบอลในตําแหน่งผู้รักษาประตูมีคะแนนคุณภาพชีวิตการทํางานและความมั่นคงในอาชีพน้อยกว่าผู้เล่นที่มีตําแหน่งอื่นๆ ข้อเสนอแนะ 1) ควรมีการพิจารณาแนวทางการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตการทํางานของนักฟุตบอล มีลักษณะเป็นกองทุนกลางสําหรับนักฟุตบอลอาชีพจากทุกสังกัด 2) ควรขยายการสร้างและพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนักฟุตบอลโดยตรง 3) ควรมีการส่งเสริมนักฟุตบอลในระดับเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษ แต่ไม่มีโอกาสหรือไม่มีทุนทรัพย์ ให้ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการต่อยอดความสามารถหรือฝึกทักษะกับทีมสโมสรแนวหน้าของประเทศ 4) ควรมีโครงการส่งเสริมการประกอบอาชีพสําหรับนักฟุตบอลที่เลิกเป็นนักกีฬาฟุตบอลอาชีพแล้ว เพื่อให้มีโอกาสในการพัฒนาตนเองกับเส้นทางอาชีพอื่น
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560