ทุนทางสังคมกับความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชนย่านเยาวราช
Publisher
Issued Date
2019
Issued Date (B.E.)
2562
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
124 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b211033
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
อรวรรณ แซ่ว่าง (2019). ทุนทางสังคมกับความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชนย่านเยาวราช. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6378.
Title
ทุนทางสังคมกับความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชนย่านเยาวราช
Alternative Title(s)
Social capital and economic strength of Chinatown Community
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาเรื่องทุนทางสังคมกับความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชนย่านเยาวราช มี วัตถุประสงค์ในการศึกษา 1) เพื่อศึกษาสถานะของทุนทางสังคมในชุมชนย่านเยาวราช 2) เพื่อ ศึกษาองค์ประกอบของทุนทางสังคมที่สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในชุมชนย่านเยาวราช และ 3) เพื่อศึกษาวิธีการนำทุนทางสังคมมาใช้ในการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในชุมชนย่าน เยาวราช ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ ซึ่งได้ทำการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความ เป็นมาของชาวไทยเชื้อสายจีน และประวัติความเป็นมาของชุมชนเยาวราช วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ของชาวไทยเชื้อสายจีนในชุมชนย่านเยาวราช รวมถึงทุนทางสังคม และการสร้างความเข้มแข็งทาง เศรษฐกิจในชุมชนย่านเยาวราช โดยศึกษาจากการทบทวนเอกสารที่มีความน่าเชื่อถือ ตำราบทความทางวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 15 คน โดยใช้วิธีการเทคนิคสามเส้า (Triangulation Technique) เพื่อวิเคราะห์ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล จากการศึกษาพบว่า สถานะทุนทางสังคมที่เด่นชัดที่สุดในชุมชนย่านเยาวราช ได้แก่ ด้านเครือข่าย ด้านความไว้วางใจ และบรรทัดฐาน ตามลำดับ โดยมีองค์ประกอบของทุนทางสังคมที่สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในชุมชน คือ 1) โครงสร้างเครือญาติ2) วัฒนธรรม ประเพณี 3) ค่านิยม ความเชื่อ 4) ความรู้/ภูมิปัญญา 5) ผู้นำชุมชน และ 6) ความเอื้ออาทร การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ทั้งนี้วิธีการนำทุนทางสังคมมาใช้ในการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในชุมชนใน ระดับครอบครัว พบว่าใช้ในการอบรมสั่งสอนลูกหลานให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบ มีคุณธรรม จริยธรรม ไว้วางใจกัน มีการถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญาเพื่อให้พึ่งพาตนเองได้ในระดับชุมชน พบว่าผู้นำชุมชนเป็นที่ไว้วางใจของสมาชิกชุมชน สร้างเครือข่าย บรรทัดฐานเพื่อช่วยเหลือพัฒนา ชุมชนให้ดีขึ้น และในระดับกลุ่ม/องค์กร มีการรวมกลุ่มบนความไว้วางใจ และเป็นเครือข่ายทาง สังคมภายใต้กฎกติกาบรรทัดฐานเดียวกัน
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562