GSCM: Theses

Permanent URI for this collection

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 6 of 205
  • Thumbnail Image
    Item
    เครือข่ายการสื่อสารโครงการผูกปิ่นโตข้าวกับการพัฒนาศักยภาพตลาดทางเลือกของกลุ่มทำนาเลิกเคมี จังหวัดอ่างทอง
    (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015) ณภัสนันท์ อำไพ; กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการสร้างเดรือข่ายการสื่อสารของโดรงการผูกปิ่นโตข้าว กับกลุ่มทำนาเลิกเดมื จังหวัดอ่างทอง ศึกษากลยุทธ์การสื่อสารของโดรงการผูกปิ่นโตข้าวเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม รวมถึงตึกษาปัจจัยของโดรงการผูกปิ่นโตข้าวที่ส่งผลให้กลุ่มทำนาเลิกเดมี จังหวัดอ่างทอง เกิดการพัฒนาศักยภาพตลาดทางเลือก งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การศึกษาจากเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การศึกษาแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการเข้าร่วมสังเกตการณ์อย่างไม่มีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า การสร้างเครือข่ายการสื่อสารของโครงการผูกปิ่นโตข้าว กับกลุ่มทำนาเลิกเดมี จังหวัดอ่างทอง ประกอบตัวยสมาชิก 3 กลุ่มหลัก คือ แกนนำผู้ก่อตั้งโครงการผูกปิ่นโตข้าว ("แม่สื่อ") กลุ่มทำนาเลิกเดมี จังหวัดอ่างทอง ("เจ้าบ่าว" และผู้บริโภค ("เจ้าสาวๆ)โดยมีการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มผ่านสื่อสังคมออนไลน์อย่าง เฟซบุ๊กที่เป็นสื่อกลางประชาสัมพันธ์โครงการ และไลน์ที่ใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างกลุ่ม รวมถึงการสื่อสารแบบเผชิญหน้าอย่าง การเยี่ยมเยืยนนาของผู้ซื้อข้าว และการประชุมร่วมกัน การมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างกลุ่มทำให้เกิดเครือข่ายที่มืองค์ประกอบสำคัญคือ 1) การรับรู้มุมมองร่วมกัน 2) การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน 3) การมีผลประโยชน์และดวามสนใจร่วมกัน 4) การเสริมสร้างซึ่งกันและกัน และ 5) การมีปฏิสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยน สำหรับกลยุทธ์การสื่อสารของโครงการเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม มี 4 ประเด็นสำคัญ คือ กลยุทธ์ด้านผู้ส่งสาร กลยุทธ์ด้านการวิเคราะห์ผู้รับสารกลยุทธ์ด้านการออกแบบสาร และกลยุทธ์ด้านการใช้สื่อ กลยุทธ์การสื่อสารดังกสาวสามารถดึงดูดความสนใจให้เกิดการเข้าร่วมโครงการ รของสมาชิกและเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกันในเครือข่าย ส่วนปัจจัยของโดรงการผูกปิ่นโตข้าวที่ส่งผลให้กลุ่มทำนาเลิกเดมี จังหวัดอ่างทองเกิดการพัฒนา คือ ปัจจัยด้านความมีจิตอาสา ปัจจัยด้านการรวมตัวเป็นเครือข่าย และปัจจัยด้านการใช้สื่อ โดยปัจจัยดังกล่าวมานี้ส่งผลให้เกิดดวามสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกันระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภด และการค้าขายที่เป็นธรรมซึ่งสอดดล้องตามแนวทางตลาดทางเลือก
  • Thumbnail Image
    Item
    กลยุทธ์การสื่อสารของศูนย์การค้าอิมพีเรียล เวิลด์ สำโรง ที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างศูนย์การค้าและชุมชน
    (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015) สุพิชญา เลิศประภานนท์; กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ
    การวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การสื่อสารของศูนย์การค้าอิมพีเรียล เวิลด์ สำโรง ที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างศูนย์การค้าและชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโน 3 ประเด็น 1) เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารภายในองค์กรของศูนย์การค้าอิมพีเรียล เวิลด์ สำโรง ที่ทำให้คนในองค์กรรับรู้นโยบายการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร 2) เพื่อศึกษาการใช้กลยุทธ์ของศูนย์การค้าอิมพีเรียล เวิลด์สำโรง ที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างศูนย์การค้าฯ และชุมชน 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้คนในองค์กรและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมเชิงสังคมของศูนย์การค้าอิมพีเรียล เวิลด์ สำโรง งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษา 2 รูปแบบ ได้แก่ กรศึกษาจากรายงานประจำปีของ วิจัยเอกสาร ได้แก่ เอกสารรายงานประจำปีของศูนย์การค้าฯ ข้อมูลชุมชนจากเว็บไซต์ของเทศบาลตำบลสำโรงเหนือ และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูล 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้บริหารของศูนย์การค้าอิมพีเรียล เวิลต์ สำโรง จำนวน 3 ท่าน กลุ่มที่ 2 ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ในโครงสร้างการบริหารจัดการทีมอิมพีเรียลจิตอาสา จำนวน 4 ท่าน กลุ่มที่ 3 ที่มอิ่มพีเรียลจิตอาสา ได้แก่ คนในองค์กร และคนในชุมชนที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมเชิงสังคมของศูนย์การค้าอิมพีเรียล เวิลด์ สำโรง อย่างน้อย 2 โครงการจำนวน 5 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า 1) ศูนย์การค้าอิมพีเรียล เวิลด์ สำโรง มีรูปแบบการสื่อสารภายในองค์กร 2 แบบ ได้แก่ 1) แบบเดิม คือ การสื่อสารแบบบนลงล่าง ผ่านการประชุมประจำเดือน 2) แบบใหม่ คือ การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม ผ่านทางรายการวิทยุภายในองค์กร คือ "IM RADIO " อีกทั้งยังมีสื่อกิจกรรมภายในองค์กร ได้แก่ กิจกรรมทำบุญวันเกิดพนักงาน กิจกรรมกีฬาสานสัมพันธ์ และสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ ไลน์กลุ่มภายในองค์กร ทั้งนี้ การสื่อสารทั้งหมดมีการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างผู้บริหารและพนักงานภายในองค์กร และยังมีเนื้อหาที่เน้นสร้างจิตสำนึกแห่งความรับผิดชอบให้แก่พนักงาน 2) ศูนย์การค้าฯ ใช้กลยุทธ์การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยใช้ "สื่อบุคคล" ภายในองค์กรเข้าไปทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน โดยได้สร้างกลุ่มตัวแทนขึ้นมาในชื่อ "ทีมอิมพีเรียลจิตอาสา"โดยเริ่มจากพนักงานเพราะพนักงานในองค์กรส่วนใหญ่เป็นคนในชุมชน ทำให้มีความผูกพันกับชุมชนและมีความรักในพื้นที่ทำให้สามารถร่วมกันนำเสนอปัญหาและแนวทางการแก้ไขได้เป็นอย่างดี เพราะได้รับความไว้วางใจจากคนในชุมชน 3) ปัจจัยที่ทำให้คนในองค์กรและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมเชิงสังคมของศูนย์การค้าฯ พบว่า ปัจจัยด้านองค์กร มีส่วนสำคัญที่ทำให้ชุมชนมาร่วมกิจกรรม เพราะองค์กรมีชื่อเสียงและมีความสัมพันธ์กับชุมชนมาเป็นเวลายาวนาน ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม พบว่า บริบทชุมชนมีความต้องการ (Need) ให้ชุมชนมีการพัฒนา และปัจจัยด้านการสื่อสาร พบว่า สื่อที่มีประสิทธิภาพที่สุด คือ สื่อบุคคล ได้แก่ ผู้บริหารของศูนย์การค้าฯ และผู้นำชุมชน รองลงมาคือ สื่อกิจกรรม ในขณะที่สื่อที่มีประสิทธิภาพน้อย คือ สื่อออนไลน์
  • Thumbnail Image
    Item
    กลยุทธ์การสื่อสารของผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดในโลกออนไลน์ที่มีผลต่อทัศนคติของกลุ่มผู้ติดตาม
    (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015) รัฐญา มหาสมุทร; วรัชญ์ ครุจิต
    การวิจัยครั้งนี้มีวัดถุประสงค์เพื่อ 8) เพื่อศึกษาถึงกลยุทธ์การสื่อสารออนไลน์ของผู้ทรง อิทธิพลในโลกออนไลน์ที่มีต่อกลุ่มผู้ติดตาม 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของผู้ ติดตามที่ติดดามกลุ่มผู้ทรงอิทธิพลในโลกออนไลน์ 3) เพื่อศึกษาถึงผลกระทบของผู้ทรงอิทธิพล ในโลกออนไลน์ที่มีต่อกลุ่มผู้ติดตาม โดยศึกษาด้วยการวิจัยชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์ชิงลึกผู้ทรงอิทธิพลในโลกออน ไลน์ จำนวน 6 คน แบ่งเป็นหมวดผลิตภัณฑ์ความงาม จำนวน 3 คน หมวดร้านอาหารและการท่องเที่ยว จำนวน 3 คน และกลุ่มผู้ติดตาม จำนวน 12 คน แบ่งเป็นหมวดผลิตภัณฑ์ความงาม จำนวน 6 คน หมวดร้านอาหารและการท่องเที่ยว จำนวน 6 คน ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การสื่อสารออนไลน์ของผู้ทรงอิทธิพลใน โลกออนไลน์ มีการ นำเสนอผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น รูปภาพ บทความ หรือคลิปวิดีโอ โดย ภาษาที่ใช้เป็นภาษาที่่ง่ายต่อการเข้าใจ ในการจัดทำเนื้อหานั้นจะต้องเป็นเรื่องที่มีความรู้ความ เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ตรง นำเสนอข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา มีทั้งข้อดีและข้อเสียเพื่อเป็น การประกอบการตัดสินใจให้กับกลุ่มผู้ติดตาม จากการวิจัยในส่วนของพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของกลุ่มผู้ติดตามนั้น พบว่ากลุ่ม ผู้ติดตามมีการเลือกเปิดรับสื่อเฉพาะเรื่องที่ตนเองให้ความสนใจ และมีการอธิบายเนื้อหาอย่าง ละเอียด สำหรับรูปแบบในการนำเสนอข้อมูลที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษนั้น ส่วนใหญ่จะเป็น รูปภาพและบทความมากกว่าคลิปวิดีโอ เนื่องจากว่ารูปภาพสร้างแรงดึงดูดและดูนำสนใจกว่า ส่วน ผู้ติดตามบางท่านให้ความสนใจกับคลิปวิดีโอโดยขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่นำเสนอ การร่วมกิจกรรมกับผู้ทรงอิทธิพลในโลกออนไลน์ทำให้ผู้ติดตามรู้สึกว่ใกลัชิดสนิทสนม ทำให้เกิดความเชื่อใจและไว้วางใจในตัวผู้ทรงอิทธิพลในโลกออนไลน์ ซึ่งทำให้มีผลในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือบริการของกลุ่มผู้ติดตาม จากการวิจัยพบว่าผู้ทรงอิทธิพลในโลกออนไลน์ยังสามารถสร้างแรงจูงใจให้เกิดการคล้อย ตามและตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการได้ ผู้ติดตามส่วนใหญ่มีการคล้อยตามเมื่อได้อ่านรีวิวจากทาง ผู้ทรงอิทธิพลในโลกออนไลน์ ซึ่งกลุ่มผู้ทรงอิทธิพลในโลกออนไลน์มักจะนำเสนอเนื้อหาที่กำลัง เป็นกระแสหรือเป็นเรื่องราวที่ใหม่ที่หลายๆ คนให้ความสนใจโดยหลังจากที่เนื้อหาเหล่านั้นได้เริ่ม เผยแพร่ออกไปทางสื่ออนไลน์ต่าง ๆ ที่เป็นช่องทางการสื่อสารของผู้ทรงอิทธิพลใน โลกออนไลน์ ก็จะเริ่มเกิดเป็นกระแสการบอกต่อของกลุ่มผู้ติดตาม
  • Thumbnail Image
    Item
    รูปแบบและกลยุทธ์การสร้างเนื้อหาของนักรีวิวอาหารบนแพลตฟอร์ม TikTok
    (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022) มาริน ทองเจือ; วรัชญ์ ครุจิต
    การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการนำเสนอเนื้อหาของนักรีวิวอาหารบนแพลตฟอร์ม TikTok 2) ศึกษากลยุทธ์การสื่อสารของนักรีวิวอาหารบนแพลตฟอร์ม TikTok 3) เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้ใช้ TikTok ที่มีต่อเนื้อหาของนักรีวิวอาหารบนแพลตฟอร์ม TikTok 4) เพื่อศึกษาแนวทางในการสื่อสารเนื้อหาที่มีประสิทธิภาพของนักรีวิวอาหารบนแพลตฟอร์ม TikTok โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary  Research) จากเนื้อหาของนักรีวิวอาหารบนแพลตฟอร์ม TikTok จำนวน 9 เพจ อีกทั้งยังมีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) นักรีวิวอาหารจำนวน 3 คน นักวิชาการที่เชี่ยวชาญด้านการสร้างเนื้อหาบนแพลตฟอร์ม TikTok จำนวน 1 คน และผู้ใช้ TikTok จำนวน 10 คน ผลการวิจัยนี้ พบว่า สำหรับรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาของนักรีวิวอาหารบนแพลตฟอร์ม TikTok นักรีวิวอาหารส่วนใหญ่ดำเนินเนื้อหาเพียงคนเดียว นำเสนอให้เห็นถึงหน้าตาอาหาร ความหลากหลาย และกระบวนการทำ โดยมีสถานที่ในการถ่ายทำ 2 รูปแบบ ได้แก่ การถ่ายทำที่ร้านอาหารหรือหน้าร้าน และถ่ายทำที่บ้านหรือสตูดิโอ นักรีวิวอาหารมีการใช้ภาษาระดับไม่เป็นทางการ เพื่อให้สนุกสนานและสร้างสีสันได้มากขึ้น อีกทั้งยังใช้ด้านเทคนิคการนำเสนอ ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการตัดต่อที่เปลี่ยนภาพด้วยการตัดภาพหรือคัทชน การเปลี่ยนความเร็วภาพด้วยการใช้จังหวะภาพเร็วและการใช้จังหวะภาพช้า รวมถึงใช้เทคนิคเสียงที่ใส่เสียงพากย์ เสียง SFX และเสียงดนตรี นักรีวิวอาหารใช้เทคนิคด้านกราฟิกที่มีการใช้ตัวอักษรประกอบคำพูด การใช้ตัวอักษรเพื่ออธิบายชื่อคลิป และการใช้ตัวอักษรเพื่อนำเสนอสารหลัก สำหรับกลยุทธ์การสื่อสารของนักรีวิวอาหารบนแพลตฟอร์ม TikTok นักรีวิวอาหารสร้างแรงจูงใจด้วยการเปิดเนื้อหาให้น่าสนใจในช่วงวินาทีแรก ๆ สร้างการมีส่วนร่วมด้วยการนำเสนอในสิ่งที่ผู้ชมชื่นชอบ โต้ตอบความคิดเห็น และไลฟ์พูดคุยกับผู้ติดตาม อีกทั้งสร้างความน่าเชื่อถือผ่านการนำเสนออย่างจริงใจและตรงไปตรงมา ส่วนด้านทัศนคติของผู้ใช้ TikTok ผู้ใช้ TikTok รับรู้ถึงเนื้อหาของนักรีวิวอาหารผ่านทาง “For You Page” กล่าวคือ เป็นหน้าฟีด (Feed) ที่แนะนำวิดีโอที่กำลังเป็นกระแสหรือตรงกับความสนใจของผู้ใช้ TikTok คนนั้น ๆ โดยชื่นชอบนักรีวิวอาหารที่พูดจาสนุกสนานและนำเสนอข้อมูลที่มีคุณภาพ จึงมักกดถูกใจ บันทึก และแบ่งปันเนื้อหาที่ชื่นชอบอยู่บ่อยครั้ง สำหรับแนวทางในการสื่อสารเนื้อหาที่มีประสิทธิภาพของนักรีวิวอาหารบนแพลตฟอร์ม TikTok ประกอบด้วย 1) การเริ่มต้นเนื้อหาด้วยสิ่งที่จูงใจ 2) เนื้อหาสั้นกระชับ เข้าใจง่าย 3) การติดแฮชแท็กที่สอดคล้องกับเนื้อหา 4) การรีวิวอาหารตามความจริง 5) นำเสนอเนื้อหาที่อยู่ในกระแสสังคม 6) นักรีวิวอาหารใช้ภาษาเป็นกันเอง 7) การใช้เทคนิคการตัดต่อภาพ 8) การใช้เทคนิคกราฟิก 9) การตอบกลับความคิดเห็น ส่วนความคิดเห็นจากผู้ใช้ TikTok ที่มีต่อเนื้อหารีวิวอาหาร จะเป็นทั้งเชิงบวก (Positive), เชิงลบ (Negative) และระดับกลาง (Neutral)
  • Thumbnail Image
    Item
    ปัจจัยที่กลุ่มเจนเนอเรชัน Z เลือกใช้ทวิตเตอร์ในการรับข้อมูลข่าวสาร กรณีศึกษา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
    (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022) ณฐพร เชิดสุข; อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว
    ปัจจุบันสถานการณ์ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคมเป็นอย่างมาก รวมไปถึงการใช้ชีวิตประจำวันต้องมีการปรับใช้ระบบออนไลน์ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นหนึ่งวิธีการในการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ COVID-19 และเป็นเหตุผลที่นำผู้คนในสังคมส่วนใหญ่ไปสู่การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในชีวิตประจำวันมากขึ้น ดังนั้นการศึกษาวิจัยเรื่อง “ปัจจัยที่กลุ่มเจนเนอเรชัน Z เลือกใช้ทวิตเตอร์ในการรับข้อมูลข่าวสาร กรณีศึกษา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย” จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับข่าวสารทางทวิตเตอร์ของเจนเนอเรชัน Z และเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการกระจายข้อมูลข่าวสารรวมทั้งต่อยอดให้กับสื่ออื่น ๆ ให้ตรงกับผู้บริโภคได้ในอนาคต การวิจัยครั้งนี้เป็นการการศึกษาแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณจากการสำรวจแบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ซึ่งผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ กลุ่มเจนเนอเรชัน Z อายุระหว่าง 15 – 19 ปี (นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย) และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิจัยเชิงเอกสาร ตารางบันทึกข้อมูล ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มผู้เข้าร่วมการวิจัย 2 กลุ่มคือ กลุ่มเจนเนอเรชัน Z จำนวน 5 คนและอินฟลูเอนเซอร์ในทวิตเตอร์ จำนวน 2 คน รวมทั้งหมด 7 คน ซึ่งผลจากการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ข้อมูลปัจจัยที่ทำให้เลือกใช้ทวิตเตอร์ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุ 18 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 4,000 บาท และผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า เหตุผลในการเลือกใช้ทวิตเตอร์ เพราะสามารถรับข่าวสารได้แบบเรียลไทม์ได้ทันท่วงทีรวมทั้งติดตามข้อมูลข่าวสารได้ง่ายกว่าแพลตฟอร์มอื่น การศึกษาวิจัยครั้งนี้ผลจากการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพอย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้นมีความสอดคล้องกันทั้งด้านข้อมูลปัจจัยที่ทำให้เลือกใช้ทวิตเตอร์ ข้อมูลพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร ข้อมูลทัศนคติที่มีต่อการใช้ทวิตเตอร์
  • Thumbnail Image
    Item
    กระบวนการสื่อสารการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของละครเวทีในประเทศไทย
    (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018) ชัยภัทร ปิติสุตระกูล; อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว
    วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อศึกษากระบวนการทํางานในการสื่อสารการตลาดผ่านสื่อ สังคมออนไลน์ของละครเวทีในประเทศไทย เพื่อใช้เป็นแนวทางการวางแผนและการใช้สื่อสังคม ออนไลน์ในการสื่อสารการตลาดของละครเวทีในประเทศไทยอนาคต โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัย เชิงคุณภาพ ใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงเจาะลึก (In-Depth Interview) ผู้ที่ทําหน้าที่ ดูแลเรื่องการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารการตลาด หรือผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานในส่วน ดังกล่าว จากนั้นจึงนําข้อมูลจากการสัมภาษณ์ทั้งหมดมาประกอบร่างและแยกเป็นประเด็นต่างๆ ที่มีความเชื่อมโยงกัน จากนั้นจึงมาประกอบการศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Documentary Source) ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการสื่อสารการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของละครเวทีใน ประเทศไทย เน้นการสื่อสารเนื้อหาของละครเวที มีจุดประสงค์หลักเพื่อสร้างการรับรู้ เริ่มตั้งแต่การ วิเคราะห์จุดแข็งและโอกาสในการทําการตลาดของละครเวทีแต่ละเรื่อง จากนั้นจึงการดําเนินการ สื่อสารการตลาดโดยใช้ข้อมูลหรือเนื้อหาที่ได้มาจากกระบวนการผลิตละครเวที มีนําเสนอข้อมูล อย่างต่อเนื่อง โดยใช้กลยุทธ์การนําเสนอความเคลื่อนไหวต่างๆ เกี่ยวกับละครเวทีไปยังกลุ่มผู้รับ สารที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหรือผู้ชม อีกทั้งยังมีการใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นช่องทางในการสร้าง เครือข่ายและสร้างความสัมพันธ์กับผู้ใช้งานคนอื่นๆ รวมทั้งยังนําเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบริษัท และกลุ่มละครเวทีของตนเองอีกด้วย ซึ่งแนวโน้มปริมาณการสื่อสารการตลาดผ่านสื่อสังคม ออนไลน์ของละครเวทีในประเทศไทยน่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้นและน่าจะมีประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้น ด้วย เนื่องจากบริษัทและกลุ่มละครเวทีต่างๆ เห็นว่าสื่อสังคมออนไลน์เป็นช่องทางการสื่อสาร การตลาดที่เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย ต้นทุนในการดําเนินงานตํ่าหรือแทบจะไม่มี และยังสร้างการรับรู้ กับกลุ่มเป้าหมายได้ในปริมาณมาก