ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนต้นแบบพื้นที่สุขภาวะเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
by อนัญพร อิ่มจงใจรักษ์
Title: | ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนต้นแบบพื้นที่สุขภาวะเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร |
Other title(s): | Factors affecting the success of healthy space community development model : a case of Phasi Charoen District, Bangkok Metropolitan Administration |
Author(s): | อนัญพร อิ่มจงใจรักษ์ |
Advisor: | ดุจเดือน พันธุมนาวิน |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การบริหารการพัฒนาสังคม |
Degree department: | คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2019 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานของชุมชนต้นแบบพื้นที่สุขภาวะ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนต้นแบบพื้นที่สุขภาวะ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนต้นแบบพื้นที่สุขภาวะ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากผู้ที่อาศัยอยู่ใน 6 ชุมชนต้นแบบ เขตภาษีเจริญ จำนวน 400 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมนส์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน
ลักษณะของกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 67 โดยมีอายุ 50 ปี ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 37.3 มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 57.3 มีระดับศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. คิดเป็นร้อยละ 24.5 มีอาชีพรับจ้าง คิดเป็นร้อยละ 46.3 และมีลักษณะที่อยู่อาศัยเป็นบ้านในที่ดินของตัวเอง คิดเป็นร้อยละ 57.0
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญสรุปได้ 4 ประการ ได้แก่
ประการแรก ปัจจัยด้านสังคมมี 5 ประการ โดยปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ ภาวะผู้นำของผู้นำชุมชน และทัศนคติของประชาชนต่อกิจกรรมการพัฒนาชุมชน
ประการที่สอง ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านสังคมร่วมกันสามารถทำนายด้านการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ ได้ร้อยละ 40.9 โดยมีตัวทำนายที่สำคัญเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ภาวะผู้นำของผู้นำชุมชน ทัศนคติของประชาชนต่อกิจกรรมการพัฒนาชุมชน ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ แรงจูงใจของประชาชนในการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนา และอายุ
ประการที่สาม ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านสังคมร่วมกันสามารถทำนายด้านการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรม ได้ร้อยละ 47.5 โดยมีตัวทำนายที่สำคัญเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินการ แรงจูงใจของประชาชนในการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนา ภาวะผู้นำของผู้นำชุมชน ทัศนคติของประชาชนต่อกิจกรรมการพัฒนาชุมชน และความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ
ประการสุดท้าย ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านสังคมร่วมกันสามารถทำนายความสำเร็จของการพัฒนาชุมชนต้นแบบพื้นที่สุขภาวะได้ ร้อยละ 51.6 โดยมีตัวทำนายที่สำคัญเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ภาวะผู้นำของผู้นำชุมชน แรงจูงใจของประชาชนในการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนา ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินการ ทัศนคติของประชาชนต่อกิจกรรมการพัฒนาชุมชน และความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ
ข้อเสนอแนะจากการศึกษา
1) ในการดำเนินงานพัฒนาชุมชนพื้นที่สุขภาวะ หน่วยงานควรศึกษาบริบทของแต่ละพื้นที่อย่างเต็มรูปแบบ เนื่องจากแต่ละพื้นที่มีข้อจำกัดแตกต่างกัน โดยเฉพาะระบบการบริหารจัดการของแต่ละชุมชน ซึ่งแต่ละพื้นที่นั้นต้องอาศัยคนในชุมชนเข้าสู่กระบวนการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
2) บทเรียนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะบริบทเมืองนี้ จะมีประโยชน์อย่างยิ่งหากได้รับการขยายผล ขยายพื้นที่ดำเนินการสู่ระดับนโยบายของกรุงเทพมหานคร ด้วยข้อเสนอที่สังเคราะห์จากบทเรียนการดำเนินงานนำร่องในเขตภาษีเจริญที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562 |
Subject(s): | การพัฒนาชุมชน
การพัฒนาชุมชน -- กรุงเทพฯ |
Keyword(s): | e-Thesis
พื้นที่สุขภาวะ ชุมชนสุขภาวะ ชุมชนต้นแบบ |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 192 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5082 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|