การเมืองในกระบวนการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการบ้านมั่นคงกรณีศึกษา ชุมชนสร้างสรรค์นครรังสิต จังหวัดปทุมธานี
by กมลทิพย์ บุญสุข
Title: | การเมืองในกระบวนการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการบ้านมั่นคงกรณีศึกษา ชุมชนสร้างสรรค์นครรังสิต จังหวัดปทุมธานี |
Other title(s): | Politics of participation process for driving the Baan Man Kong : a case study of Sangsan Nakhon Rangsit community in Pathumthani Province |
Author(s): | กมลทิพย์ บุญสุข |
Advisor: | สุวิชา เป้าอารีย์ |
Degree name: | ศิลปศาตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา |
Degree department: | คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2019 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาเรื่อง การเมืองในกระบวนการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการบ้านมั่นคง กรณีศึกษา: ชุมชนสร้างสรรค์นครรังสิต จังหวัดปทุมธานี มีวัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อศึกษาการเมืองในกระบวนการการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการบ้านมั่นคง กรณีศึกษา ชุมชนสร้างสรรค์นครรังสิต จังหวัดปทุมธานี และ2.เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนโครงการบ้านมั่นคง กรณีศึกษา ชุมชนสร้างสรรค์นครรังสิต จังหวัดปทุมธานี โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน ร่วมกับวิธีการสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก และข้อมูลจากเอกสาร
สำหรับ การศึกษาการเมืองในกระบวนการการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการบ้านมั่นคงนั้น ประกอบไปด้วย 3 ประเด็น คือ 1) ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของชุมชน 2) การเมืองในกระบวนการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนในการขับเคลื่อนโครงการบ้านมั่นคง 3) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนโครงการบ้านมั่นคง
ผลการศึกษาพบว่า ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ บ่งชี้ว่า ชุมชนสร้างสรรค์นครรังสิต มีลักษณะเป็นชุมชนพหุสังคมที่มีความหลากหลาย กล่าวคือ สมาชิกในชุมชนสร้างสรรค์นครรังสิตไม่ได้อยู่ในพื้นที่นี้โดยตรง แต่มีการอพยพย้ายถิ่นมาจากชุมชนอื่น โดยเฉพาะในส่วนของภาคอีสานมีจำนวนมากที่สุด เหตุผล คือ ชาวอีสานจำนวนมากอาจอพยพมาหาความก้าวหน้าในการงาน ชุมชนสร้างสร้างสรรค์นครรังสิต มีโครงสร้างอำนาจในลักษณะของพหุนิยม โดยมีผู้อาวุโสมีบทบาทมากที่สุด และมีลักษณะของวัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้าผสมแบบมีส่วนร่วม
อย่างไรก็ตาม จากการที่กลุ่มมีการดำเนินงานผสานผลประโยชน์ระหว่างกันมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะการเจรจาโดยหัวหน้ากลุ่ม ทำให้สมาชิกยังมีความเกรงใจระหว่างกันอยู่ ความสัมพันธ์ของสมาชิกในชุมชน จึงประกอบไปด้วย ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ 2 ส่วน คือ 1.ความเป็นทางการในชุมชน เพราะสมาชิกในชุมชนให้ความเกรงใจ คณะผู้บริหารชุมชน อาทิ กรมการหมู่บ้าน 2.ความสัมพันธ์อันไม่เป็นทางการภายในชุมชน ซึ่งมักจะใช้นโยบายนี้จัดการความขัดแย้งภายในชุมชน คือ ความสัมพันธ์เชิงเครือญาติ กับความสัมพันธ์ผ่านเครือข่าย ให้ใช้การเจรจาเพื่อขจัดความขัดแย้งในชุมชน นอกจากนี้กลุ่มผลประโยชน์ยังแบ่งผลประโยชน์กันทำให้ประสานประโยชน์กันได้และอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข
กระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมือง เพื่อเรียกร้องผลประโยชน์และนำไปสู่การจัดตั้ง “ชุมชนสร้างสรรค์นครรังสิต” แบ่งขั้นตอน ออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนแรก การหารือร่วมกันเพื่อกำหนด วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกลุ่มขั้นตอนที่สอง การนำเสนอแผนงานไปยังหน่วยงานภาครัฐ ขั้นตอนที่สามดำเนินการจัดสรรโควตาในลักษณะหมุนเวียนของกลุ่มในการเป็น “คณะกรรมการสหกรณ์” เพื่อทำให้การบริหารงานค่อนข้างเป็นทีมงานที่มีลักษณะที่เป็นทางการ
สำหรับปัญหาอุปสรรคประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ความขัดแย้งในการจัดการผลประโยชน์และความขัดแย้งในเชิงโครงสร้าง |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562 |
Subject(s): | โครงการบ้านมั่นคง
ชุมชนสร้างสรรค์นครรังสิต การมีส่วนร่วมทางสังคม -- ไทย -- ปทุมธานี -- ชุมชนสร้างสรรค์นครรังสิต |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 121 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5105 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|