กระบวนการขับเคลื่อนและการปรับตัวของชุมชนในการดำเนินงานด้านการศึกษาทางเลือก : กรณีศึกษา ศูนย์การเรียนหญ้าเป็ดน้ำจังหวัดแม่ฮ่องสอน
by วนิดา นาคีสังข์
Title: | กระบวนการขับเคลื่อนและการปรับตัวของชุมชนในการดำเนินงานด้านการศึกษาทางเลือก : กรณีศึกษา ศูนย์การเรียนหญ้าเป็ดน้ำจังหวัดแม่ฮ่องสอน |
Other title(s): | Mobilization process and adaptation of community in implementation of alternative education : a case study of Yaa Ped Naam Learning Center, Maehongson Province |
Author(s): | วนิดา นาคีสังข์ |
Advisor: | พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การบริหารการพัฒนาสังคม |
Degree department: | คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2021 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2021.49 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษากระบวนการขับเคลื่อนและการปรับตัวของชุมชนในการดำเนินงานการศึกษาทางเลือกของศูนย์การเรียนหญ้าเป็ดน้ำ การดำเนินการวิจัยเป็นไปตามวิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยยึดแนวทางการศึกษาเฉพาะกรณีของชุมชนแห่งหนึ่งที่ใช้นามสมมติว่าชุมชนหญ้าเป็ดน้ำ ซึ่งเป็นชุมชนของชนกลุ่มน้อย ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลของจังหวัดแม่ฮ่องสอน การรวบรวมข้อมูลดำเนินการด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญจำนวน 21 คน ควบคู่กับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ซึ่งผู้เขียนสวมบทบาทเป็นบุคลากรในศูนย์การเรียนหญ้าเป็ดน้ำ ทำการเฝ้าสังเกตและร่วมกิจกรรมต่าง ๆ กับกลุ่มเป้าหมาย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา การจัดหมวดหมู่ข้อมูล การตีความ และการวิเคราะห์เหตุผลเชิงตรรกะ
ผลการวิจัยพบว่าชุมชนหญ้าเป็ดน้ำมีกระบวนการขับเคลื่อน 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสร้างความตระหนักในการเป็นนักพัฒนาท้องถิ่น 2) การสร้างกลุ่มเพื่อจัดตั้งศูนย์การเรียน
3) การดำเนินการจัดการศึกษาบนฐานชุมชนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต 4) การถอดบทเรียนเพื่อทบทวนกิจกรรม ค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นและหาแนวทางแก้ไข 5) การขยายผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน และ 6) การสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21
การดำเนินงานการศึกษาทางเลือกของศูนย์การเรียนหญ้าเป็ดน้ำมีการปรับตัว 2 ระดับ คือ 1) ระดับชุมชนและองค์กร ได้แก่ การปรับตัวโดยการสู้และการประนีประนอมสถานการณ์ และ 2) ระดับบุคคล ได้แก่ การปรับตัวด้านร่างกาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานร่วมกันกับหลายฝ่าย ด้านอัตมโนทัศน์ ซึ่งเป็นการปรับค่านิยมเกี่ยวกับเป้าหมายทางการศึกษา จากการเรียนเพื่อเป็นเจ้าคนนายคน มาเป็นการเรียนรู้เพื่อการมีชีวิตที่ดีงาม ด้านบทบาทหน้าที่ของคนในชุมชน ซึ่งปรับบทบาทไปเป็นผู้จัดการศึกษาและผู้บริหารศูนย์การเรียน และด้านการพึ่งพาอาศัย ซึ่งต้องพึ่งพาองค์ความรู้ บุคลากร และงบประมาณ ทั้งจากการพัฒนาภายในชุมชนผ่านการทำวิสาหกิจเพื่อสังคมและจากการสนับสนุนของภาคีเครือข่าย
ผลลัพธ์ของการปรับตัวของคนในชุมชนสามารถดูได้จากพฤติกรรมการปรับตัว อันสะท้อนให้เห็นจากผลการจัดการศึกษาทางเลือกที่สามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในระดับชุมชนและองค์กร ที่เกิดแนวทางใหม่ในการจัดการทรัพยากรให้เอื้อต่อการจัดการศึกษาทางเลือก และระดับบุคคล ที่พยายามยกระดับความสามารถของผู้ที่เป็นแกนนำในการดูแลตัวเอง ครอบครัว และชุมชน
ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้คือกระทรวงศึกษาธิการควรปรับโครงสร้างและกำหนดหน่วยงานหลักเพื่อดูแลงานด้านการศึกษาทางเลือก ซึ่งอาจจะจัดตั้งเป็นสำนักงานบริหารงานการศึกษาทางเลือก ให้มีหน้าที่สนับสนุนและสร้างปัจจัยหนุนเสริมทั้งในเรื่องงบประมาณ บุคลากรและวิชาการ ทั้งนี้ก็เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในประเทศไทย |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2564 |
Subject(s): | การปรับตัว
การศึกษาทางเลือก กลุ่มชาติพันธุ์ |
Keyword(s): | e-Thesis
กระบวนการขับเคลื่อน ศูนย์เรียนรู้ |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 179 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5560 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|