• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Dissertations
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Dissertations
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

พลวัตการปฏิรูประบบราชการ: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างอำนาจและวาทกรรม

by ชลธิชา ชัยศิริรัตน์

Title:

พลวัตการปฏิรูประบบราชการ: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างอำนาจและวาทกรรม

Other title(s):

Dynamic of bureaucratic reform: interaction between power and discourse

Author(s):

ชลธิชา ชัยศิริรัตน์

Advisor:

พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต

Degree name:

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

Degree level:

Doctoral

Degree discipline:

พัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2017

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาการปฏิรูประบบราชการของไทยซึ่งดำรงอยู่ต่อเนื่องยาวนานควบคู่ไปกับบริบททางสังคมและการเมืองไทยมาตลอดทุกยุคทุกสมัย ได้ฉายภาพให้เห็นพลวัตของการปฏิรูประบบราชการ ที่มีความเคลื่อนไหวในมิติต่างๆ อยู่ตลอดเวลา มีการใช้ถ้อยแถลงที่แตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย และมีปฏิบัติการทางวาทกรรมอย่างสลับซับซ้อน การศึกษาเรื่องพลวัตการปฏิรูประบบราชการ: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างอำนาจและวาทกรรม เป็นการศึกษาการก่อตัวของวาทกรรมการปฏิรูประบบราชการ บริบทและสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลให้เกิดการก่อตัวความสัมพันธ์ระหว่างวาทกรรมกับปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจในการปฏิรูประบบราชการ การดำรงอยู่ การล่มสลาย และปฏิบัติการทางวาทกรรมที่ปรากฏอยู่ในการปฏิรูประบบราชการในการศึกษาครั้งนี้ ซึ่งผู้ศึกษาได้จำแนกการปฏิรูประบบราชการของไทยแบ่งออกเป็น 3 ยุค ได้แก่ 1) การรับมือกับยุคอาณานิคม 2) การพัฒนาความทันสมัย และ 3) การเตรียมเข้าสู่โลกาภิวัตน์โดยใช้แนวทางในการศึกษาวาทกรรมเชิงโบราณคดีและวงศาวิทยาของมิเชล ฟูโกต์มาใช้ในการศึกษาปรากฏการณ์ การศึกษานี้จึงประกอบไปด้วยการก่อตัวของแนวคิดว่าด้วยการปฏิรูประบบราชการ ปฏิบัติการทางวาทกรรมที่สร้างความหมายให้แก่การปฏิรูประบบราชการ และความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่แทรกแซงไปถึงระดับความรู้สึกนึกคิดของผู้คนในสังคม การปฏิรูประบบราชการในยุคการรับมือกับยุคอาณานิคม ทำให้เห็นว่าในช่วงก่อนการปฏิรูประบบราชการ พ.ศ. 2435 มีปฏิบัติการทางวาทกรรมที่สร้างความหมายให้แก่การปฏิรูประบบราชการในหลายมิติ ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของกษัตริย์การเปลี่ยนแปลงแนวคิด แนวคิดเรื่องรัฐที่เป็นพื้นฐานของแนวคิดเรื่องรัฐบาลในเวลาต่อมา การกำหนดกฎเกณฑ์และขอบเขตในการผลิตความรู้ความจริงที่แตกต่างจากในอดีต โดยมีกษัตริย์เป็นผู้นำทางภูมิปัญญาและมีอำนาจอันชอบธรรมในการพูด การเปลี่ยนแปลงภายหลังการปฏิรูประบบราชการ พ.ศ. 2435 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างและการบริหารแล้ว มีกระบวนการผลิตคนเพื่อรองรับระบบราชการแบบรวมศูนย์ เนื่องจากคนในระบบราชการแบบเก่าไม่สามารถตอบสนองภารกิจตามโครงสร้างใหม่ที่ต้องใช้ความรู้แบบใหม่อย่างไรก็ตามการผลิตคนดังกล่าวแฝงไปด้วยเรื่องสำคัญกว่านั่นคือเรื่องความไว้วางใจ ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญในการเข้ารับราชการมีการสร้างกระบวนการขัดเกลา อบรมสั่งสอนปัจเจกบุคคลให้เกิดความจงรักภักดีและระบบกำกับ ติดตาม และควบคุมการทำงานให้อยู่ภายใต้ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ และกรอบของวาทกรรม การปฏิรูประบบราชการในยุคการพัฒนาความทันสมัยเป็นการศึกษาตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงยุคระบอบสฤษดิ์ ซึ่งเป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่ระบอบประชาธิปไตยและการก่อตัวของการพัฒนาแบบทันสมัย ในช่วงเวลาดังกล่าวมีการต่อสู้ช่วงชิงการนำระหว่างวาทกรรมที่เคยมีสถานะเป็นวาทกรรมกระแสหลัก กับวาทกรรมใหม่การสร้างกลไกรัฐเพื่อปฏิบัติตามแผนและควบคุม การสถาปนากลไกและระบบเศรษฐกิจที่มีความทันสมัยเป็นตัวชี้วัด ถูกทำให้กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องดำรงอยู่ด้วยความรู้/ความจริงที่ถูกสร้างขึ้น การปฏิรูประบบราชการเพื่อเตรียมการเข้าสู่โลกาภิวัตน์ตั้งแต่ได้รับอิทธิพลแนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่จากตะวันตกจนมาสู่การปฏิรูประบบราชการ พ.ศ. 2545 ในสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรีมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างและระบบการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อเผชิญกับกระแสโลกาภิวัตน์ที่กลายเป็นเหตุผลความจำเป็นที่ภาครัฐจะต้องปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิผล มีการนำองค์ความรู้การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่มาใช้เป็นแหล่งอำนาจและปฏิบัติการทางวาทกรรม ทว่าผลลัพธ์ของการปฏิรูประบบราชการในระยะนี้กลับกลายเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตเชิงนโยบายจึงเผยให้เห็นอำนาจของวาทกรรมที่บดบังซ่อนเร้นการกระทำบางอย่างที่ไม่ได้ถูกกล่าวถึงหรือพูดออกมา จากการศึกษาทำให้เข้าใจว่า ปฏิบัติการทางวาทกรรมของการปฏิรูประบบราชการมีพลวัตสูง ซึ่งก่อตัวขึ้นจากการเผชิญปัญหาใหม่ในแต่ละยุค ที่วาทกรรมชุดเดิมไม่อาจสร้างความชอบธรรมแก่การครองอำนาจของรัฐไทยได้เพียงพออีกต่อไป วาทกรรมชุดใหม่จึงถูกสร้างขึ้นมาทดแทน เพื่อกำหนดโครงสร้าง บริบทอ านาจ และความชอบธรรมแบบใหม่ขึ้นมา ทว่าไม่ว่ากลุ่มอำนาจนำจะใช้วาทกรรมแบบใด สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมากลับเป็นการล่อลวงให้ติดกับดัก และดูดกลืนผู้คนเข้าไปในหลุมดำชีวอำนาจ การศึกษานี้จึงเป็นการสร้างความเข้าใจกระบวนการปฏิรูประบบราชการเพื่อนำไปผลักดันให้เกิดกระบวนทัศน์ใหม่ที่ทำให้การปฏิรูประบบราชการเป็นการกระทำไปเพื่อเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์และเห็นพ้องต้องกันของทุกฝ่ายในสังคม

Description:

วิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (พัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560

Subject(s):

การปฏิรูประบบราชการ

Resource type:

ดุษฎีนิพนธ์

Extent:

296 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5930
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b199278.pdf ( 3,137.03 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Dissertations [59]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×