การทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 โดยใช้สามทฤษฎีทางจิตสังคม ในนักศึกษาปริญญาตรี
by อนงค์ลักษณ์ พันธุ์พรหมธาดา
Title: | การทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 โดยใช้สามทฤษฎีทางจิตสังคม ในนักศึกษาปริญญาตรี |
Other title(s): | Predicting COVID-19 related preventive behaviors using three psycho-social models in undergraduate student |
Author(s): | อนงค์ลักษณ์ พันธุ์พรหมธาดา |
Advisor: | ดุจเดือน พันธุมนาวิน |
Degree name: | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
Degree level: | Doctoral |
Degree discipline: | การบริหารการพัฒนาสังคม |
Degree department: | คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสต์การบริหาร |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2021 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การวิจัยเรื่องนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ที่มีการศึกษาความสัมพันธ์เปรียบเทียบในสามทฤษฎีทางจิตสังคม เพื่อศึกษาว่ากลุ่มตัวทำนายจากทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้-ทัศนคติ-พฤติกรรม (KAP) หรือกลุ่มตัวทำนายจากทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน (Theory of Planned Behavior: TPB) หรือ ตัวทำนายจากกลุ่มจิตพลังจริยธรรม (Psycho Moral Strength: PMS) สามารถทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ในครอบครัว ในมหาวิทยาลัย และในที่สาธารณะได้มากน้อยเพียงใด และมีปริมาณการทำนายที่เพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3-4 จำนวน 672 คน ประกอบด้วย เพศชาย 133 คน (19.80 %) เพศหญิง 539 คน (80.20 %) อายุเฉลี่ย 21 ปี 3 เดือน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลในกลุ่มรวมและในกลุ่มย่อย 19 กลุ่ม ซึ่งแบ่งตามลักษณะชีวสังคมภูมิหลังของกลุ่มตัวอย่าง
ตัวแปรในงานวิจัยนี้ประกอบด้วย 1) กลุ่มพฤติกรรม 3 ตัวแปร คือ พฤติกรรมป้องกันโรคในครอบครัวพฤติกรรมป้องกันโรคในมหาวิทยาลัย และพฤติกรรมป้องกันโรคในที่สาธารณะ 2) กลุ่มทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้-ทัศนคติ-พฤติกรรม 3 ตัวแปร คือ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความรู้เชิงประเมินค่า และ ความรู้สึกต่อพฤติกรรม 3) กลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน 3 ตัวแปร คือ ปทัสถานทางสังคม การรับรู้ความสามารถในการควบคุมตน ความตั้งใจที่จะกระทำพฤติกรรม 4) ทฤษฎีกลุ่มจิตพลังจริยธรรม คือ ความเชื่ออำนาจในตนด้านพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ลักษณะมุ่งอนาคต-ควบคุมตนด้านพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ด้านพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 และจริยธรรมหลุดด้านพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 และ 5) กลุ่มตัวแปรชีวสังคมภูมิหลัง แบบวัดส่วนใหญ่เป็นแบบวัดชนิดมาตรประเมินรวมค่า มีค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดอยู่ระหว่าง .71 ถึง .87
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญมี 3 ประการ คือ ประการแรก กลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน สามารถทำนายพฤติกรรมป้องกันโรค (3 พฤติกรรม) ได้เพิ่มขึ้น จากกลุ่มทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้-ทัศนคติ-พฤติกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งมีปริมาณการทำนายที่เพิ่มขึ้นระหว่าง 7.20% ถึง 15.00% โดยพบ 4 ตัวทำนายที่เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย ได้แก่ 1) ความตั้งใจที่จะกระทำพฤติกรรม 2) ความรู้สึกต่อพฤติกรรม 3) การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และ 4) ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ประการที่สอง ทฤษฎีกลุ่มจิตพลังจริยธรรมสามารถทำนายพฤติกรรมป้องกันโรค (3 พฤติกรรม) ได้เพิ่มขึ้น จาก 2 กลุ่มตัวทำนาย คือ กลุ่มทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้-ทัศนคติ-พฤติกรรม และตัวทำนายกลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งมีปริมาณการทำนายที่เพิ่มขึ้นระหว่าง 7.00% ถึง 9.10% โดยพบ 6 ตัวทำนายที่เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย ได้แก่ 1) ลักษณะมุ่งอนาคต-ควบคุมตนด้านพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส 19 2) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ด้านพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส 19 3) การรับรู้ความสามารถในการควบคุมตน 4) ความตั้งใจที่จะกระทำพฤติกรรม 5) ความรู้เชิงประเมินค่า และ 6) ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และประการสุดท้าย ผลการทดสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงเส้นของกลุ่มพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 พบว่าได้รับอิทธิพลทางตรง จากตัวแปรแฝงทั้งหมด โดยเรียงลำดับตามค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล ดังนี้ 1) ตัวแปรแฝงจากทฤษฎีกลุ่มจิตพลังจริยธรรม (.433) 2) ตัวแปรแฝงจากทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน (.346) และ 3) ตัวแปรแฝงจากทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้-ทัศนคติ-พฤติกรรม (.276) โดยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวน (R2) ของตัวแปรแฝงพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ได้ 57.90% โดยมีค่า α = 46.404, df = 33, p-value = 0.0608, RMSEA = 0.025, CFI = 0.998, TLI = 0.995 และ SRMR = 0.028
ข้อเสนอแนะในการพัฒนา ประการแรก ในกลุ่มรวม ควรพัฒนาทางด้านจิตลักษณะดังนี้ 1) ความเชื่ออำนาจในตนด้านพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 2) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ด้านพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 3) ความตั้งใจที่จะกระทำพฤติกรรม และ4) การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ทั้งในบริบทของครอบครัว มหาวิทยาลัย และในที่สาธารณะ ประการที่สอง ในกลุ่มเสี่ยงขั้นต้น ควรพัฒนา 1) กลุ่มนักศึกษาเพศชาย โดยพัฒนาความเชื่ออำนาจในตนด้านพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 และอาจพัฒนาปัจจัยเชิงเหตุในกลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนเพิ่มเติม 2) กลุ่มนักศึกษาที่มีค่าใช้จ่ายน้อย โดยพัฒนาความเชื่ออำนาจในตนด้านพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ด้านพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 และความตั้งใจที่จะกระทำพฤติกรรม
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรใช้ตัวทำนายในกลุ่มจิตพลังจริยธรรม หรือกลุ่มทฤษฎีอื่นๆ ที่สนใจหรือเกี่ยวข้องกับงานวิจัย โดยควรเป็นจิตเฉพาะกิจ (State) ในการทำนายพฤติกรรม จึงจะสามารถพบผลที่ชัดเจนเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาบุคลากรที่เป็นเป้าหมายของโครงการต่อไป |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2564 |
Subject(s): | COVID-19 (Disease)
COVID-19 prevention behaviors |
Keyword(s): | พฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19
ความตั้งใจที่จะกระทำพฤติกรรม ความรู้สึกต่อพฤติกรรม การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม Behavioral intention Affective component Perceived behavioral control Health literacy component e-Thesis ความรอบรู้ด้านสุขภาพ |
Resource type: | ดุษฎีนิพนธ์ |
Extent: | 254 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6008 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|
Related items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
The Effects of Organizational Factors and Skills Contributing to Innovative Behavior on Innovative Behavior of Employees : A Case Study of a Private Company in Polymer Manufacturing of Thailand
Ammaporn Matchacharn; อัมมาภรณ์ มัจฉาชาญ; Budsakorn Watcharasriroj; บุษกร วัชรศรีโรจน์; Budsakorn Watcharasriroj; บุษกร วัชรศรีโรจน์ (National Institute of Development Administration, 7/1/2022)
The study of the effect of organizational factors and skills contributing to innovative behavior on innovative behavior of employees: a case study of a private company in polymer manufacturing of Thailand. The objectives were: 1) To study organization-level factors that affected the innovative behavior of employees 2) To study the skills contributing to innovative behavior on innovative behavior; and 3) To study the influence of innovative behavior-enhancing skills as mediator variables on employees' innovative behavior; to provide information ... -
พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการบริโภคสินค้า ที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์แอนิเมชั่นของกลุ่มโอตาคุ
นภัค จิตศานติกุล; บุหงา ชัยสุวรรณ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)
การวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมการเปิดรับสื่อและการบริโภคสินค้าที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์แอนิ เมชั่นของกลุ่มโอตาคุ” มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ ได้แก่ (1) เพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อภาพยนตร์แอนิเมชั่น ของกลุ่มโอตาคุ (2) เพื่อศึกษาการบริโภคสินค้าที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์แอนิเมชั่นของกลุ่มโอตาคุ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้รูปแบบการวิจัย 3 รูปแบบประกอบกันคือ (1) การสังเกต (Observation) โดยสังเกตในฐานะผู้สังเกตอย่างไม่ได้มีส่วน ร่วมโดยสมบูรณ์ในงาน Thailand Comic Con 2014 ซึ่งจัดขึ้นที่สยามพารากอน ระหว่างวันที่ 9-11 พฤษภาคม ... -
การถ่ายทอดทางสังคมในองค์การ พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรวัยทำงาน
ยุทธนา รังสิตานนท์; บังอร โสฬส (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
การวิจัยนี้มุ่งศึกษาการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การ พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพกาย สุขภาพจิต และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย บุคคลากรวัยทำงานตั้งแต่ระดับปฎิบัติการ ตลอดไปจนถึงระดับหัวหน้างาน จำนวน 392 คน โดยมีอายุตั้งแต่ 16 ปี ถึง 57 ปี ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ (1)แบบสอบถามลักษณะส่วนบุคคล (2)แบบสอบถาม พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ แบ่งเป็น แบบสอบถามการสร้างเสริมสุขภาพทางกายและทางจิต 6 ด้าน คือ ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านการออกกำลังกาย ด้านโภชนาการ ...