การนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติ: ศึกษาบทบาทของบริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าว จังหวัดเชียงใหม่
Publisher
Issued Date
2017
Issued Date (B.E.)
2560
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
219 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b201086
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ผกาวดี เมืองมูล (2017). การนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติ: ศึกษาบทบาทของบริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าว จังหวัดเชียงใหม่. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5830.
Title
การนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติ: ศึกษาบทบาทของบริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าว จังหวัดเชียงใหม่
Alternative Title(s)
The Implementation of Foreign Labour Policy: A Study of the Role of Employment Arrangement Service Agency in Chiangmai
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
งานชิ้นนี้เป็นการศึกษาบทบาทของบริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าวและปัจจัยที่มีผลต่อ
ความสำเร็จและความล้มเหลว ในการนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติวิธีการศึกษาเป็นแบบ
ผสมผสาน การศึกษาเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 13 ราย ประกอบด้วย
ตัวแทนบริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าว ผู้ว่าจ้างแรงงานต่างด้าว และเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง เสริมด้วย
การศึกษาเชิงปริมาณจากการเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างแรงงานต่างด้าว 400 ราย การศึกษา
ชิ้นนี้เป็นการศึกษาภายใต้ขอบเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ วิเคราะห์ผลการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการ
วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนาสำหรับผลการศึกษาเชิงปริมาณ
ผลการศึกษาพบว่า บริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าว เป็นบริษัทเอกชนที่ประกอบธุรกิจการ ให้บริการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ว่าจ้างแรงงานและแรงงานต่างด้าว กลุ่มตัวอย่างแรงงานต่างด้าว ร้อยละ 81.30 เคยใช้บริการบริษัท โดยร้อยละ 62.80 จากผู้ใช้บริการ มีความพึงพอใจในการ ให้บริการของบริษัท และร้อยละ 65.50 เห็นว่า การดำเนินการผ่านบริษัทสะดวกสบายกว่าติดต่อกับ หน่วยงานรัฐโดยตรง บทบาทของบริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าว มี3 ด้าน ได้แก่ ด้านการน าเข้าและ ขึ้นทะเบียนแรงงาน ด้านการพัฒนาแรงงาน และด้านการกำกับติดตามแรงงาน การดำเนินงานของ บริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าวส่งผลให้การนำนโยบายไปปฏิบัติมีความก้าวหน้า ด้วยเหตุนี้ การยอมรับ ในนโยบายของบริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าว จึงเป็นปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายไป ปฏิบัติเพราะบริษัทเหล่านี้มีความเชี่ยวชาญในด้านกฎระเบียบ วิธีการ และมีความสามารถในการ เข้าถึงแรงงาน โดยมีผลประโยชน์ทางธุรกิจเป็นเงื่อนไขสำหรับการยอมรับนโยบาย อย่างไรก็ตาม บทบาทของบริษัทเหล่านี้ยังไม่ได้รับความสำคัญจากหน่วยงานรัฐ ทั้งในด้านการควบคุมทางกฎหมาย อย่างเข้มงวด และการสนับสนุนให้เข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนการนำนโยบายไปปฏิบัติให้มี
ประสิทธิภาพมากขึ้น ปัจจัยที่มีผลต่อความล้มเหลวของการนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติ มี 3 ด้าน ประกอบไปด้วย 1) ด้านสมรรถนะองค์การ(ขาดการบูรณาการด้านโครงสร้างและระบบข้อมูล บุคลากรและงบประมาณไม่เพียงพอ) 2) ด้านประสิทธิภาพในการวางแผนและการควบคุม (นโยบาย ขาดความชัดเจน ความสมเหตุสมผล ไม่มีการประเมินผลนโยบายแบบองค์รวม และไม่เข้มงวดใน มาตรการให้คุณให้โทษ) และ (3) ด้านการสื่อข้อความและประชาสัมพันธ์(การประชาสัมพันธ์สื่อสาร ไม่เพียงพอต่อการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมาย)
จากผลการศึกษาข้างต้นน้ำไปสู่ข้อเสนอในการปรับระบบการบริหารแรงงานต่างด้าว เริ่มจาก 1)ประเมินผลการนำนโยบายไปปฏิบัติในระดับมหภาค โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงบริษัทจัดหา แรงงานต่างด้าวเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์แรงงานต่างด้าวระยะยาว มีการปรับ โครงสร้างการบริหารโดยมองในมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และการทูต เพิ่มมากขึ้น 2)พัฒนาเทคโนโลยี และการสื่อสาร สร้างระบบข้อมูลสารสนเทศที่มีการเชื่อมโยง 3)ปราบปรามการทุจริตและเข้มงวดกับ บริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย 4)ส่งเสริมบทบาทของบริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าวในด้าน การพัฒนาแรงงาน เพื่อเตรียมพร้อมแรงงานต่างด้าวป้อนเข้าสู่ภาคครัวเรือนที่ต้องการแรงงานในบ้าน ประเภทดูแลผู้สูงอายุและเด็ก ซึ่งจะมีแนวโน้มเป็นที่ต้องการในอนาคต
ผลการศึกษาพบว่า บริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าว เป็นบริษัทเอกชนที่ประกอบธุรกิจการ ให้บริการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ว่าจ้างแรงงานและแรงงานต่างด้าว กลุ่มตัวอย่างแรงงานต่างด้าว ร้อยละ 81.30 เคยใช้บริการบริษัท โดยร้อยละ 62.80 จากผู้ใช้บริการ มีความพึงพอใจในการ ให้บริการของบริษัท และร้อยละ 65.50 เห็นว่า การดำเนินการผ่านบริษัทสะดวกสบายกว่าติดต่อกับ หน่วยงานรัฐโดยตรง บทบาทของบริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าว มี3 ด้าน ได้แก่ ด้านการน าเข้าและ ขึ้นทะเบียนแรงงาน ด้านการพัฒนาแรงงาน และด้านการกำกับติดตามแรงงาน การดำเนินงานของ บริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าวส่งผลให้การนำนโยบายไปปฏิบัติมีความก้าวหน้า ด้วยเหตุนี้ การยอมรับ ในนโยบายของบริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าว จึงเป็นปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายไป ปฏิบัติเพราะบริษัทเหล่านี้มีความเชี่ยวชาญในด้านกฎระเบียบ วิธีการ และมีความสามารถในการ เข้าถึงแรงงาน โดยมีผลประโยชน์ทางธุรกิจเป็นเงื่อนไขสำหรับการยอมรับนโยบาย อย่างไรก็ตาม บทบาทของบริษัทเหล่านี้ยังไม่ได้รับความสำคัญจากหน่วยงานรัฐ ทั้งในด้านการควบคุมทางกฎหมาย อย่างเข้มงวด และการสนับสนุนให้เข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนการนำนโยบายไปปฏิบัติให้มี
ประสิทธิภาพมากขึ้น ปัจจัยที่มีผลต่อความล้มเหลวของการนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติ มี 3 ด้าน ประกอบไปด้วย 1) ด้านสมรรถนะองค์การ(ขาดการบูรณาการด้านโครงสร้างและระบบข้อมูล บุคลากรและงบประมาณไม่เพียงพอ) 2) ด้านประสิทธิภาพในการวางแผนและการควบคุม (นโยบาย ขาดความชัดเจน ความสมเหตุสมผล ไม่มีการประเมินผลนโยบายแบบองค์รวม และไม่เข้มงวดใน มาตรการให้คุณให้โทษ) และ (3) ด้านการสื่อข้อความและประชาสัมพันธ์(การประชาสัมพันธ์สื่อสาร ไม่เพียงพอต่อการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมาย)
จากผลการศึกษาข้างต้นน้ำไปสู่ข้อเสนอในการปรับระบบการบริหารแรงงานต่างด้าว เริ่มจาก 1)ประเมินผลการนำนโยบายไปปฏิบัติในระดับมหภาค โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงบริษัทจัดหา แรงงานต่างด้าวเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์แรงงานต่างด้าวระยะยาว มีการปรับ โครงสร้างการบริหารโดยมองในมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และการทูต เพิ่มมากขึ้น 2)พัฒนาเทคโนโลยี และการสื่อสาร สร้างระบบข้อมูลสารสนเทศที่มีการเชื่อมโยง 3)ปราบปรามการทุจริตและเข้มงวดกับ บริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย 4)ส่งเสริมบทบาทของบริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าวในด้าน การพัฒนาแรงงาน เพื่อเตรียมพร้อมแรงงานต่างด้าวป้อนเข้าสู่ภาคครัวเรือนที่ต้องการแรงงานในบ้าน ประเภทดูแลผู้สูงอายุและเด็ก ซึ่งจะมีแนวโน้มเป็นที่ต้องการในอนาคต